วันศุกร์ ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2567 09:33 น.

กทม-สาธารณสุข

เลขาธิกาแพทยสภาฝากเตือนการบริจาคเครื่องมือแพทย์​

วันอังคาร ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2562, 14.21 น.
เลขาธิกาแพทยสภาฝากเตือนการบริจาคเครื่องมือแพทย์​
 
 
เลขาธิกาแพทยสภาฝากเตือนการบริจาคเครื่องมือแพทย์​ "โปรดนับ 1 ถึง 4 ก่อนบริจาคเครื่องมือแพทย์"
 
พล.อ.ต.นพ.อิทธพร   คณะเจริญ​ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า มีพี่ใจดีมาถามเรื่องการบริจาค เครื่องมือแพทย์ให้กับโรงพยาบาล บอกว่าโรงพยาบาลต้องการเครื่องมือ .... หมอมีแหล่งซื้อไหม? เอาแบบถูกๆ..ของที่โรงพยาบาลอยากได้ ราคา สูง จะขอซื้ออีกรุ่นหนึ่ง  อีกยี่ห้อหนึ่งได้ไหม หรือขอซื้อที่ผลิตจากประเทศ... ถูกกว่าเท่านึง แต่ไม่มีตัวแทนในไทย แถมส่งไป โรงพยาบาลที่อยู่ชายแดน ไม่มี ผู้แทนไปดูแล และซ่อมบำรุง.. อีกรายหนึ่ง บอกว่าคุณพ่อเป็นโรคไตเสียชีวิต จะซื้อเครื่องฟอกไตให้ โรงพยาบาล... เพราะเป็นภูมิลำเนาเดิม แต่โรงพยาบาลไม่มีระบบ สำหรับหน่วยฟอกไต ไม่มีหมอดูแล ให้ไปก่อนได้ไหม ให้ไปหาหมอเอาเอง ... เพื่อตอบแทนสิ่งที่คุณพ่อสั่งไว้
 
ผมสนับสนุนว่า ถ้า จะบริจาคของ อุปกรณ์การแพทย์ อย่างน้อยเป็นวัตถุถาวร ให้กับโรงพยาบาล และบางทีติดชื่อบริษัทได้ เป็นเรื่องที่ดีครับ แต่ขอให้นับ 1-4 เสียก่อน ค่อยตัดสินใจ
 
 1. อย่าบริจาคเพียงเพราะเราอยากให้ แต่ต้องตรวจสอบว่าโรงพยาบาลมีความต้องการและอยากได้จริงหรือเปล่า คนไข้จะได้ประโยชน์จริงไหม
 
 
2. เครื่องมือแพทย์แต่ละอย่างต้องมีหมอ หรือพยาบาล  หรือเจ้าหน้าที่  ที่ใช้เป็น และเรียนมาโดยเฉพาะต้องตรวจสอบว่ามีหรือไม่ก่อนบริจาค เขามีคนใช้เครื่องมือจริง แล้วได้ประโยชน์  และมีพื้นที่ ตั้งรองรับ
 
3. เครื่องมือแพทย์แต่ละเครื่อง ปัจจุบันเป็นคอมพิวเตอร์ Network  อาจ ต้องมีการต่อเชื่อมกับระบบของโรงพยาบาลได้ ในเครือข่ายเดียวกัน การบริจาค ต้องศึกษาระบบของโรงพยาบาลเสียก่อน หากให้โดยเชื่อมต่อไม่ได้จะมีประโยชน์น้อย หรืออายุการใช้งานสั้น ดังนั้นต้องทราบระบบ
 
4. เครื่องมือแพทย์ควรจะใช้ได้ อายุยาวนานดังนั้นการซ่อมบำรุง ต้องมีบริษัทเข้าไปดูแลให้ ต้องตรวจสอบเสียก่อน ว่าโรงพยาบาลที่มอบให้นั้นมีตัวแทนบริษัทมาดูแลหรือเปล่ามิฉะนั้น เมื่อเสียจะไม่มีใครซ่อม เราจะซ่อมแล้วอะไหล่อุปกรณ์น้ำยา โรงพยาบาลต้องจัดซื้อได้ หรือเป็นร่วมกับอุปกรณ์ตัวเดิม ที่มีอยู่แล้วในโรงพยาบาล จะได้ดูแลร่วมกันได้ ไม่ควรใช้ยี่ห้อใหม่ที่คนในโรงพยาบาลไม่คุ้นเคย
 
ทั้ง 4 ข้อนี้  เพื่อป้องกันมิให้ เครื่องมือที่บริจาคไป ซ่อม ไม่ได้ เมื่อยามเสีย หรือไม่มี อะไหล่ ไม่มีน้ำยาที่ใช้ได้ อุปกรณ์สั่งซื้อไม่ได้ สุดท้ายต้องไปอยู่ใต้บันได เสียดายเงินที่บริจาค
 
อย่าจะซื้อเครื่องมือเดียวกัน ในยี่ห้อที่ถูก โดยมองเพียงราคา เพื่อให้บริจาคได้หลายๆชิ้นกว่า แต่ต้องมองว่า เครื่องไหนใช้ได้จริง และเกิดประโยชน์ระยะยาว แบบยั่งยืน กับโรงพยาบาล
 
ถ้านับไม่ถึง 4 อย่าเพิ่งบริจาคนะครับ หรือที่สำคัญ ให้โรงพยาบาลจัดหาเอง ในสิ่งที่เขาต้องการ หรือเข้ามูลนิธิ เพื่อรวบรวม ให้ได้สิ่งที่เขาต้องการ  จะดีที่สุดครับ แล้วยังหักภาษีได้ด้วย ทุกโรงพยาบาลรัฐยังขาดแคลนอีกเยอะนะครับ ชวนมาช่วยกันบริจาคให้โรงพยาบาล กันเถอะ ครับ

หน้าแรก » กทม-สาธารณสุข