วันพุธ ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2567 04:02 น.

กทม-สาธารณสุข

ไฟเขียว6จว.ปลูก”กัญชง” “กระท่อม-กัญชา”รอก่อน

วันพุธ ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559, 06.05 น.
ไฟเขียว6จว.ปลูก”กัญชง” “กระท่อม-กัญชา”รอก่อน
 
 
ดีเดย์! ปี 60 อนุมัติ 6 จังหวัด เชียงราย เชียงใหม่ น่าน เพชรบูรณ์ ตาก แม่ฮ่องสอน ทั้งหมด 15 อำเภอ ปลูก “กัญชง” ได้ระบุใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์-เพื่ออุตสาหกรรม ตามพื้นที่ที่กำหนด ขณะที่ “กระท่อม-กัญชา” รอก่อน ชี้อยู่ระหว่างการศึกษาเพิ่มเติมให้รอบครอบของคณะกรรมการ หลังมีความเห็นขัดแย้งโดยแพทย์มองว่านำมาใช้เป็นยารักษาโรคได้ แต่ก็มีอันตรายจากสารที่เป็นตัวอนุพันธ์
 
 
เมื่อวันที่ 27 ธ.ค.59 นายศิรินทร์ยา สิทธิชัย เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) เปิดเผยความคืบหน้าการปรับนโยบายเกี่ยวกับพืชเสพติดและตัวยาเสพติดรวม 4 ชนิด ประกอบด้วย กัญชง กัญชา กระท่อม และเมทแอมเฟตามีน (ยาบ้า) เพื่อให้นำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และปลูกเพื่ออุตสาหกรรมได้ตามพื้นที่ที่กำหนด ว่า ขณะนี้ ครม.อนุมัติให้กัญชง สามารถปลูกได้ แต่ในพื้นที่ๆ กำหนด มีผลตั้งแต่ปี 2560 
 
 
โดยจำกัดพื้นที่ 6 จังหวัด15 อำเภอ คือ จ.เชียงใหม่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.แม่วาง แม่ริม สะเมิง และแม่แจ่ม จ.เชียงราย 3 อำเภอ ได้แก่ อ.เทิง เวียงป่าเป้า และแม่สาย จ.น่าน 3 อำเภอได้แก่ อ.นาหมื่น สันติสุข และสองแคว จ.ตาก เฉพาะที่ อ.พบพระ จ. เพชรบูรณ์ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.หล่มเก่า เขาค้อ และเมือง และ จ.แม่ฮ่องสอน ในพื้นที่ อ.เมือง สำหรับสายพันธุ์ที่นำมาปลูกได้ต้องมีนั้นจะต้องมีสารออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทหรือสารทีเอชซี ไม่เกิน 1% หากตรวจพบว่าแปลงใดมีต้นกัญชงที่สารดังกล่าวเกินจะถือว่ามีความผิด
 
 
เลขาธิการ ป.ป.ส. กล่าวอีกว่า เยื่อของต้นกัญชงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการประดิษฐ์เช่น การถักทอเป็นประเป๋าหรือสิ่งของต่างๆ เพื่อสนับสนุนให้ชาวบ้านมีอาชีพ โดยโรงงานยาสูบจะเป็นผู้รับซื้อผลิตภัณฑ์จากต้นกัญชงที่เกษตรกรในพื้นที่ที่ระบุไว้โดยตรง ส่วนพืชกระท่อมอยู่ระหว่างการศึกษาวิถีการใช้ของชาวบ้านเพื่อประโยชน์ทางสมุนไพรซึ่งต้องมีการแก้กฎหมายว่าสามารถนำมาใช้ในบ้าน เช่น เคี้ยวหรือต้ม 
 
 
สำหรับกัญชาซึ่งเป็นพืชเสพติดทางคณะอนุกรรมการศึกษาวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมเมทแอมเฟตามีน ที่มีนายชาญเชาว์ ไชยานุกิจ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการฯ อยู่ระหว่างการศึกษาเพิ่มเติมให้รอบด้าน เนื่องจากยังมีความเห็นขัดแย้งโดยแพทย์มองว่าสามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโรคได้แต่ก็มีอันตรายจากสารที่เป็นตัวอนุพันธ์จึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบเพื่อจัดการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างเหมาะสม
 
 
เลขาธิการ ป.ป.ส. กล่าวต่อว่า สำหรับการปรับบัญชีเมทแอมเฟตามีน จากยาเสพติดประเภท 1 คือให้โทษชนิดร้ายแรงไปเป็นยาเสพติดประเภท 2 เพื่อให้ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ก็ยังอยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมทั้งด้านกฎหมายและการนำมาใช้เป็นยารักษาโรคที่ผ่านมาโทษของการค้ายาเสพติด เช่น เฮโรอีน ไอซ์และเมทแอมเฟตามีนจะมีอัตราโทษไม่แตกต่างกันแต่หากปรับบัญชีเมทแอมเฟตามีนให้เป็นยาที่นำมาใช้รักษาโรคทางการแพทย์ได้ก็ต้องพิจารณารายละเอียดต่างๆ ให้รอบคอบ

หน้าแรก » กทม-สาธารณสุข