วันพฤหัสบดี ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2567 08:25 น.

เศรษฐกิจ

บวท.เล็งจัดจราจรทางอากาศแบบ One-way Route

วันพุธ ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2561, 16.16 น.

บวท.เล็งจัดจราจรทางอากาศแบบ One-way Route

 

นายสมนึก  รงค์ทอง  กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้อุตสาหกรรมการบินยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากการประเมินภาพรวม ธุรกิจการบินและแนวโน้มปริมาณจราจรทางอากาศในอนาคต พบว่าธุรกิจการบินเป็นหนึ่งใน อุตสาหกรรมที่มีการเจริญเติบโตและมีมูลค่าสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัท Airbus ได้คาดการณ์ไว้ว่า ในปี ค.ศ.2017-2036 หรือ พ.ศ. 2560-2579 หรืออีก 20 ปีข้างหน้า ปริมาณจราจรทาง อากาศทั่วโลกจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยประมาณร้อยละ 4.4  ต่อปี และจะเพิ่มขึ้น 2 เท่า ทุก 15ปี โดยภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 5.5 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าทั้งภูมิภาคยุโรป (ร้อยละ 3.3 ต่อปี) และอเมริกาเหนือ (ร้อยละ 3.4 ต่อปี) เนื่องจากการเปิดเสรีทางด้านการบิน ทาให้ปริมาณผู้โดยสารและการเชื่อมต่อการเดินทางเพิ่มขึ้น

 

สำหรับจากการคาดการณ์การเติบโตของ อุตสาหกรรมการบินที่มีแนวโน้มสูงขึ้นต่อไปในอนาคต บวท. จึงต้องมีความเตรียมพร้อมในด้าน เทคโนโลยี ด้านบุคลากรเพื่อรองรับปริมาณเที่ยวบินที่จะเพิ่มขึ้น สามารถให้บริการและบริหารจัดการ จราจรทางอากาศ ได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ พร้อมขับเคลื่อนศักยภาพการให้บริการการ เดินอากาศของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน โดยกำหนดกลยุทธ์ 4 กลยุทธ์ ประกอบด้วย

1. การปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการการเดินอากาศ


- มีเป้าหมายให้ บวท. มีศักยภาพเพียงพอในการรองรับปริมาณการจราจรทาง อากาศ โดยปรับปรุงโครงสร้างเส้นทางบินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานพื้นที่ห้วงอากาศ เช่น กำหนดให้เส้นทางการบินทั้งหมดเป็น One-way Route รวมทั้งเส้นทางเข้าออกที่มี patterns ที่ ชัดเจน ไม่มีconflicts ตลอดเส้นทางไม่ว่าจะขึ้นลงจากทางด้านใดของทางวิ่งในแต่ละเส้น นอกจากนี้ จะต้องประสานการใช้พื้นที่ห้วงอากาศร่วมกับหน่วยงานทางทหารเพื่อความยืดหยุ่นในการใช้พื้นที่ ห้วงอากาศ (Flexible Use of Airspace: FUA) ซึ่งจะส่งผลให้การใช้พื้นที่ห้วงอากาศมี ประสิทธิภาพสูงสุด อีกทั้งจะพัฒนาจัดระบบความคล่องตัวการจราจรทางอากาศ โดยจัด Slot Time ที่เหมาะสมของแต่ละเที่ยวบินอย่างเป็นระบบ มีการกำหนดการบินเข้าและออกจากสนามบินที่ เหมาะสม (Collaborative Decision Making: CDM) จึงจะช่วยให้การทาการบินมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่ท่าอากาศยานต้นทางไปจนถึงท่าอากาศยานปลายทา

2. การเพิ่มศักยภาพบุคลากรให้พร้อมรับการเติบโตอย่างยั่งยืน


- มีเป้าหมายให้บุคลากรมีค่านิยมที่ดี มีศักยภาพสูง มีความผูกพันองค์กร และพร้อม รับการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใหม่ที่ดีกว่าเสมอ โดยมุ่งเน้นการสร้างและส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรที่ ตอบสนองภารกิจหลัก คือ มีระบียบวินัย ใส่ใจวิธีปฏิบัติ ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ และมีหลักการ ทั้งนี้เชื่อ ว่าบุคลากรที่มีศักยภาพสูงเป็นปัจจัยสาคัญในการบรรลุภารกิจขององค์กร ซึ่งบุคลากรนอกจากจะต้อง มีความรู้และความสามารถแล้วยังต้องนาความรู้ความสามารถนั้นไปใช้เพื่อตอบสนองภารกิจของ องค์กรอีกด้วย
 

3. การยกระดับการบริหารจัดการองค์กร

- มีเป้าหมายให้บริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพสูง โดยดาเนินการจัดการ ระบบการทางานด้วยระบบมาตรฐานคุณภาพ และประยุกต์ใช้ดิจิทัลเทคโนโลยี ในการปรับปรุง ศักยภาพในการปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการภายในองค์กรและการส่งมอบ บริการที่มีประสิทธิภาพสูงให้กับผู้ใช้บริการ

 

4.การบริหารการเปลี่ยนแปลงในระบบบริหารการจราจรทางอากาศ

- มีเป้าหมายให้ บวท. ได้รับการยอมรับจากองค์การด้านการบิน ทั้งนี้ ICAO มีแผนการพัฒนา/ปรับปรุงมาตรฐานระบบการบริการจราจรทางอากาศอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการ เติบโตของอุตสาหกรรมการเดินอากาศในอนาคตซึ่งมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว บวท. จึงต้อง พัฒนาปรับปรุงศักยภาพด้านปฏิบัติการและด้านวิศวกรรมให้ได้ตามแผนการพัฒนาของ ICAO ทั้ง แผนระดับภูมิภาค (Regional Plan) และแผนโลก (Global Plan) รวมถึงแสวงหาพันธมิตรในการ พัฒนาด้านบริการการเดินอากาศของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และภูมิภาคอาเซียน อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ การเดินอากาศในภูมิภาคสามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่น มีประสิทธิภาพตลอดเส้นทางบิน

 

นอกจากนี้ นายสมนึก  กล่าวถึงแผนการรองรับปริมาณเที่ยวบินที่ท่าอากาศยานอู่ตะเภา ที่รัฐบาลมีนโยบายให้เปิดบริการในเชิงพาณิชย์เพิ่มมากขึ้น ว่าในส่วนของบวท.จะต้องทำการประเมินวิเคราะห์การเข้า-ออกของเครื่องบินทั้งหมด ก่อนจะจัดทำแผนรายละเอียดโดยจะต้องคำนึกเรื่องความปลอดภัยในการทำการบิน ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยมีเที่ยวบินทั้งหมด 1 ล้านเที่ยวบินต่อปี และได้มีการประเมินการเพิ่มขึ้นของปริมาณจราจรว่าจะมีการเพิ่มขึ้น  ร้อยละ 6 ต่อปี ถือว่าเกินขีดความสามารถรองรับจึงต้องเตรียมมาตรการเพื่อจะรองรับ  โดยจะต้องจัดทำแผนความชัดเจนให้การเข้า-ออกทุกสนามบิน และนอกจากนี้ยังมีแผนที่จะปรับปรุงเส้นทางบินเพิ่มด้วยโดยจะต้องจัดทำ One-way Route แทนการบินสวนกัน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณของเที่ยวบินได้  ซึ่งได้ว่าจ้างที่ปรึกษาจากต่างประเทศออกแบบทั้งห้วงอากาศและเส้นทางการบิน รวมถึงคำนึกประสิทธิภาพรองรับเที่ยวบิน โดยมองว่าการจัดทำแผนดังกล่าวนั้น จะสามารถเพิ่มปริมาณเที่ยวบินได้ถึงร้อยละ 50 -100  อย่างไรก็ตาม ถือเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเข้า-ออกของเครื่องบินได้เป็นระบบมากขึ้นด้วย สำหรับประเทศไทย ในปี2561 ตั้งแต่เดือนมกราคม – เดือนสิงหาคม มีปริมาณ เที่ยวบินจานวน 698,283 เที่ยวบิน เฉลี่ยวันละ 2,874 เที่ยวบิน ทั้งนี้คาดว่าเดือนธันวาคม 2561 จะมีปริมาณเที่ยวบินมากกว่า 1 ล้านเที่ยวบิน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ8 เมื่อเทียบปี 2560