วันพฤหัสบดี ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2567 23:06 น.

เศรษฐกิจ

กทท.เดินหน้าสร้างฝายตามศาสตร์พระราชา

วันอาทิตย์ ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2562, 09.24 น.


กทท.เดินหน้าสร้างฝายตามศาสตร์พระราชา




          ​

เรือโท กมลศักดิ์ พรหมประยูร ผู้อำนวยการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยว่า การท่าเรือฯ ได้ดำเนินโครงการสร้างฝายเฉลิมพระเกียรติตามศาสตร์พระราชา เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยได้รับมอบนโยบายจาก นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อให้สอดคล้องกับ ความรับผิดชอบต่อสังคม โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการขนส่ง ทางน้ำนั้น การท่าเรือฯ จึงได้ดำเนินโครงการสร้างฝายตามศาสตร์พระราชา ภายใต้โครงการ “ฅน...เก็บน้ำให้แผ่นดิน” เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งผู้บริหารและพนักงาน กทท. ได้ร่วมสร้างฝายและสนับสนุนงบประมาณการสร้างฝายจำนวน 11 ฝาย ณ อ.เกาะคา จ.ลำปาง อ.เมือง อ.พิชัย และ อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ รวมเป็นเงินจำนวน 1,220,000 บาท ทั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานพันธมิตรด้านการขนส่งทางน้ำ ประกอบด้วย กรมศุลกากร บริษัท เอส ซี กรุ๊ป จำกัด และสมาคมชิปปิ้งแห่งประเทศไทย ร่วมโครงการดังกล่าวด้วย โครงการ “ฅน..เก็บน้ำให้แผ่นดิน”เป็นโครงการที่ กทท. ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องภายใต้แนวคิดที่ว่า กทท. เปรียบเสมือนคนปลายน้ำที่ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำเจ้าพระยาในการประกอบธุรกิจมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึง
             

ปัจจุบัน กทท. จึงเล็งเห็นความสำคัญของพื้นที่ต้นน้ำ และตั้งใจที่จะแสดงความรับผิดชอบของคนปลายน้ำที่มีต่อคนต้นน้ำ โดยการสืบสานและต่อยอดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สร้างฝายตามศาสตร์พระราชา และสร้างพันธมิตรจิตอาสาจากทุกภาคส่วนมาร่วมดำเนินโครงการในพื้นที่ 10 จังหวัด ทางภาคเหนือ ซึ่งเป็นต้นน้ำเจ้าพระยา โดยได้เริ่มสนับสนุนการสร้างฝายครั้งแรกในปี 2559 ที่ อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ ปี 2560 ที่ อ.ลี้ จ.ลำพูน อ.ทองแสนขัน และ อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ ปี 2561 ที่ อ.ลอง จ.แพร่ และ อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่

 


นอกจากนี้ ที่ผ่านมานายอธิรัฐ ยังเน้นย้ำว่าจะให้การสนันสนุนโครงการ “ฅน...เก็บน้ำให้แผ่นดิน” ในทุกด้าน เนื่องจากฝายเหล่านี้ช่วยเก็บกักน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค แก้ปัญหาภัยแล้ง อุทกภัย ไฟป่า ดินโคลนถล่ม ช่วยอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าต้นน้ำและระบบนิเวศให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งยังช่วยพลิกฟื้นชีวิตให้แก่ชาวบ้าน ก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคีกลับคืนสู่คนในพื้นที่ สมดังพระราชดำรัส “สร้างฝายได้มากกว่าน้ำ”ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลย-เดชมหาราช บรมนาถบพิตร อย่างแท้จริง​