วันเสาร์ ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2567 19:43 น.

การศึกษา

วิจัยรูปแบบพัฒนาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเชิงพุทธสันติวิธี สร้างเครื่องมือแก้ขัดแย้งสังคมของพระสงฆ์ทั่วประเทศ

วันอังคาร ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2564, 16.06 น.

วิจัยรูปแบบพัฒนาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเชิงพุทธสันติวิธี สร้างเครื่องมือแก้ขัดแย้งสังคมของพระสงฆ์ทั่วประเทศ​: พระปราโมทย์  วาทโกวิโท,ดร. ผู้ดำเนินการวิจัยเชิงพัฒนา อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) รายงาน 

งานวิจัยเชิงพัฒนาที่จะปรับโฉมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเชิงพุทธสันติวิธี จากคำถามที่ว่า รูปแบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเชิงพุทธสันติวิธีหน้าตาควรจะเป็นอย่างไร ควรมีรูปแบบ กระบวนการ หลักการ วิธีการ ขั้นตอนอย่างไร  มีความแตกต่างจากการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททั่วไปอย่างไร หลักสูตรสันติศึกษาจึงพัฒนางานวิจัยระดับหลักสูตรเพื่อตอบโจทย์สังคมและสร้างแบรนด์สร้างอัตลักษณ์ที่ว่า นึกถึงมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยนึกถึงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเชิงพุทธสันติวิธี ภายใต้ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร ซึ่งเป็นความร่วมมือกับกรมคุ้มครองครองสิทธิและเสรีภาพ ภายใต้กำกับมาตรฐานของสำนักกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม รวมถึงศาลยุติธรรม โดยสอดรับและบูรณาการกับพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.๒๕๖๒   
       
จึงวิจัยรูปแบบการพัฒนาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยพุทธสันติวิธี หรือ รูปแบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเชิงพุทธ เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความจำเป็น ความต้องการ แนวคิดทฤษฎีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามศาสตร์สมัยใหม่และการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามแนวทางพระพุทธศาสนาเถรวาท  ศึกษารูปแบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในสังคมไทยปัจจุบันและศึกษารูปแบบการพัฒนาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยพุทธสันติวิธี และพัฒนาพร้อมนำเสนอรูปแบบการพัฒนาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยพุทธสันติวิธีถือว่าการวิจัยเป็นพันธกิจสำคัญของมหาวิทยาลัยสอดรับกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ และวิจัยนวัตกรรมโดยมุ่งการสร้างคนและสถาบันความรู้ เน้นการวิจัยแบบก้าวหน้า สอดรับกับการวิจัยของสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๖๕ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการและรับใช้สังคม เน้นกระบวนการ พัฒนาใช้ความรู้ที่หลากหลาย ผลลัพธ์เกิดชุดของกระบวนการพัฒนาสังคมและสร้างนวัตกรรม เป็นงานวิจัยแบบก้าวหน้าโดยนักวิจัยและภาคเครือข่ายชุมชนร่วมสร้างสรรค์ เป็นงานวิจัยผสมกับโครงการพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน สังคมและการพัฒนาประเทศ โดยมุ่งผลลัพธ์เป็นองค์ความรู้ใหม่ นวัตกรรม กระบวนการในการพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติ  สามารถตอบโจทย์ยุทธศาสตร์กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ และวิจัยนวัตกรรม พ.ศ.๒๕๖๓-๒๕๗๐ ในยุทธศาสตร์ที่ ๑ คือ การพัฒนากำลังคนและสถาบันความรู้ เช่น การสร้างระบบผลิตและพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและพัฒนาทักษะเพื่ออนาคต ในยุทธศาสตร์ที่ ๒ การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ท้าทายของสังคม เช่น สังคมคุณภาพและความมั่นคง โดยเป็นการวิจัยตอบโจทย์ What  Why How เป็น (R & Development)
       
หัวใจของการวิจัยแบบ Research and Development (R and D) ประกอบด้วย ๑) ต้องการแก้ปัญหา ๒) ต้องการพัฒนา ๓) ต้องการสร้างนวัตกรรม เป็นงานวิจัยที่มุ่งเน้นนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้โดยตรงอย่างเป็นรูปธรรม มุ่งวิจัยรับใช้สังคมให้เกิดผลที่ชัดเจนในการพัฒนาตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยผ่านการทดลองและมีการวัดผลรูปแบบการพัฒนา เป็นนวัตกรรมประเภทรูปแบบการผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เป็นการวิจัยและพัฒนาเพื่อปรับปรุงรูปแบบ(Model Research and Development) เป็นการนำหลักการทฤษฎีมาผสมผสานกับเครื่องมือและการประยุกต์ใช้จริงโดยการนำมาสู่กระบวนการวิจัย ทดลองหารูปแบบจนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยใช้กรอบของอริยสัจ ประกอบด้วย ปัญหา สาเหตุ วิธีการแก้ และเครื่องมือการแก้สาเหตุของปัญหา  
        
วิธีดำเนินการวิจัย(Research Methodology) ในการวิจัย เรื่อง“รูปแบบการพัฒนาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยพุทธสันติวิธี” เป็นการวิจัยแบบเชิงพัฒนามีการทดลองรูปแบบมีกลุ่มเป้าหมายในการทดลอง เป็นงานวิจัยแบบก้าวหน้ารับใช้สังคม เรียกว่า Research and Development (R and D) สอดรับกับพันธกิจของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยคือ การวิจัย ด้วยการสร้างคนและสถาบันความรู้ เป็นการวิจัยแบบก้าวหน้า การพัฒนานวัตกรรม รวมถึงการการพัฒนาพื้นที่และชุมชนนวัตกรรม เป็นการวิจัยในยุค ๔.๐ พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๖๕ โดยมุ่งการวิจัยเชิงปฏิบัติการและรับใช้สังคม เน้นกระบวนการ พัฒนาและใช้ความรู้ที่หลากหลาย ผลลัพธ์คือ องค์ความรู้พื้นฐาน ชุดของกระบวนการพัฒนาชุมชน สังคม ประเทศชาติและสร้างนวัตกรรม
         
รูปแบบการการวิจัยกับการพัฒนาโครงการการวิจัยเป็นรูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง จำนวนประชากรจำนวน ๕๐ รูป/คน เครื่องมือคือ กระบวนการเชิงพื้นที่และชุดปฏิบัติการ มีการเก็บข้อมูลปฏิบัติการวิจัยมีการปฏิบัติการตามขั้นตอนและควบคุม ทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลเกิดกระบวนการ ผลลัพธ์ และนวัตกรรม ทำให้สอดรับกับนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๓ - ๒๕๗๐ ว่าด้วยการพัฒนาคนและสถาบันความรู้ ด้วยการสร้างระบบผลิตและพัฒนาคนให้มีคุณภาพ สอดรับกับนโยบายการวิจัยของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยโดยยกระดับเป็นการวิจัยแบบ Research Practice (R and P) เน้นการลงมือปฏิบัติมุ่งพัฒนาเพื่อสังคมการวิจัยในครั้งนี้จึงเป็นการเชิงพัฒนาแบบ Research and Development (R and D) เป็นการพัฒนาเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา เพื่อการสร้างนวัตกรรม และเพื่อการรับใช้สังคม  
       
ดังนั้น รูปแบบพัฒนาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเชิงพุทธสันติวิธีจึงมุ่งพัฒนาเพื่อยกระดับผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาททั่วประเทศทั้งพระสงฆ์และบุคคลทั่วไปถือว่าเป็นเครื่องมือการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเชิงพุทธสันติวิธีทางรอด นึกถึงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเชิงพุทธนึกถึงหลักสูตรสันติศึกษามหาจุฬา โดยกำกับมาตรฐานโดยพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ศาสตราจารย์ ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร และประธานการฝึกอบรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.๒๕๖๒ 

หน้าแรก » การศึกษา