วันพฤหัสบดี ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2567 20:34 น.

การศึกษา

ผอ.หลักสูตรสันติศึกษา "มจร" แนะ"อย่าทำงานจนเน่าใน จงทำงานโดยมีสติเป็นฐาน"

วันอังคาร ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2565, 11.35 น.

ผอ.หลักสูตรสันติศึกษา "มจร" แนะผู้เข้ารับฝึกอบรม "หลักสูตรการบริหารงานยุติธรรมระดับกลาง" รุ่น ๑๗ "อย่าทำงานจนเน่าใน จงทำงานโดยมีสติเป็นฐาน"

วันที่ ๑๘  มกราคม  ๒๕๖๕ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร.  อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร นักศึกษาหลักสูตรการบริหารงานยุติธรรมระดับกลาง รุ่น ๑๗ กระทรวงยุติธรรม  เปิดเผยว่า  ภาคเช้ารับการเรียนรู้และฝึกอบรม “หลักสูตรการบริหารงานยุติธรรมระดับกลาง” รุ่น ๑๗ ในฐานะเลขาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งดูแลยุติธรรมทางเลือกให้การบริการสังคมให้เกิดสันติสุขในสังคมและดูแลกระบวนการพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.๒๕๖๒ ซึ่งจัดพัฒนาและฝึกอบรมโดย สถาบันพัฒนาบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม ภายใต้หัวข้อ #การสร้างความสุขในการทำงาน แลกเปลี่ยนและบรรยายโดย พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ศาสตราจารย์ ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ (IBSC) และเลขานุการอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแห่งคณะสงฆ์ไทยและมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาระดับโลก 

พระมหาหรรษา กล่าวประเด็นสำคัญว่า ชีวิตเรามี ๒ มิติ คือ ร่างกายและจิตใจจะต้องอาศัยซึ่งกันและกัน แต่ชีวิตจึงต้องมีความนุ่มนวลในการพัฒนาจิตใจ แต่ส่วนมากเราจะเรียนเรื่องกาย จึงต้องฝึกใจให้เย็นจะนำไปสู่ความการสร้างประโยชน์ จะต้องกลับมาดูใจของตนเองเพราะใจเราใหญ่ที่สุด ใจเราต้องนำพาชีวิต จึงมองไปถึงชีวิตจากความเหลื่อมล้ำของระบบการศึกษา จึงต้องพัฒนาตนเองในด้านการศึกษาผ่านการศึกษาภายในและศึกษาภายนอก ปัจจุบันเราเผชิญกับเจเนอร์เรชั่นจะต้องมีความหลากหลายมีการแสวงหาความสำเร็จภายนอก เพราะนิยามชีวิต “นิยามชีวิตคือความสำเร็จ” แต่พอขึ้นมาสู่อีกระดับหนึ่งจะนิยามชีวิตแตกต่างกันมีการ“นิยามชีวิตที่มีความสุข” แต่ละวัยจึงนิยามชีวิตไม่เหมือนกัน ซึ่งแท้จริงงานมี ๒ อย่าง คือ งานภายนอก ยิ่งทำยิ่งกว้างยิ่งทำยิ่งไม่เสร็จ เป็นงานวงเล็บเปิด และ งานภายใน ยิ่งทำยิ่งแคบยิ่งทำยิ่งสั้น เป็นงานวงเล็บเปิดเป็นงานที่ต้องมีสติเป็นฐาน ซึ่งแท้จริงสติไม่ได้อยู่กับพระ ไม่ได้อยู่ที่วัด แต่สติเป็นวิถีชีวิต สติสามารถเปลี่ยนสมองได้ สติทำให้ชีวิตเดินไปสู่เป้าหมายสติเป็นเพศแม่ สตรีคนใดมีสติจะมีความนุ่มนวล สตรีไม่มีสติจะปวดหัวอย่างมาก แต่งงานกับสตรีที่มีสตินำไปสู่ลูกที่มีสติ จะต้องฝึกจิตใจให้มีพลัง ซึ่งใจมีพลังสามารถวัดได้ ๕ ประการ คือ ศรัทธา  วิริยะ  สติ  สมาธิ  ปัญญา โดยมีศรัทธาเชื่อว่าทำได้ในการลงมือทำ มีความกล้าในการลงมือทำไม่สงสัยในศักยภาพของตนเอง อย่าเป็นLoser Mindset วิธีคิดคนขี้แพ้ มีสติสมาธิเป็นฐานจึงการใช้ชีวิต และมีปัญญาในการดำเนินชีวิต ถือว่าเป็นการ “สร้างมูลค่าเพิ่มของชีวิต” ถ้าเราจะเปลี่ยนแปลงอะไรก็ตามจะต้องเปลี่ยนตนเองก่อน เราชอบเรียนเพื่อบริหารคนอื่นแต่เราต้องยกระดับการเรียนบริหารตนเอง  

องค์กรจึงต้องมีสติเป็นฐานด้วยการเริ่มต้นจากผู้นำองค์กรจะต้องมีสัมมาสติ ทำให้ CEO ของสายการบินญี่ปุ่นท่านหนึ่งสะท้อนว่า “ถ้าอยากกินไข่ไก่ฟองโต จะต้องดูแลแม่ไก่ให้ดี” หมายถึง การดูแลบุคลากรเจ้าหน้าที่ให้ดีที่สุด โดยใช้เวลาสามปีในการพัฒนาจนประสบความสำเร็จผ่านการใส่คุณค่ามูลค่าการบริการการใส่ใจใส่อาหารใส่สิ่งแวดล้อมเข้าไป สร้างความแตกต่างอย่างชัดเจน โดยพื้นฐาน CEO ท่านนี้มีสติเป็นฐาน “ความสุขมาก่อนความสำเร็จ” แต่คนรุ่นใหม่เน้นความสำเร็จมากกว่าความสุข ทำให้สะท้อนของสตรีท่านหนึ่งในสมัยพุทธกาลภายใต้คำว่า “ปัญญาไม่ได้มีไว้แกงกิน” เป็นสตรีที่มีความฉลาดกราบโจรสี่ทิศสามารถแก้ปัญหาได้ สามารถควบคุมตนเองได้  สตรีจึงเก็บอาการได้ดีมากว่าผู้ชาย ซึ่งการเก็บอาการจะต้องได้ดีสะท้อนความเป็นผู้ใหญ่ถือว่าเป็นผู้มีความฉลาดทางอารมณ์ เราต้องการคนที่นิ่งมาเป็นผู้นำของหน่วยงานและองค์กร เหมือนน้ำนิ่งจะมองเห็นต้องอย่าง เวลาเรานิ่งเราจะมองเห็นปัญหามองเห็นสาเหตุมองเห็นทางออกของปัญหานั้น ๆ  จุดอ่อนถือว่าเป็นโอกาสที่เราจะต้องพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น “ความสุขต้องมาก่อนความสำเร็จ” ซึ่งคนรุ่นใหม่ในการทำงานไม่รู้สึกเป็นของเรา ไม่รู้สึกว่าองค์กรเป็นของเรา คนรุ่นใหม่ต้องการความท้าทายในการทำงานจึงจะรู้สึกว่า “เป็นเจ้าของในองค์กร” สติปจ๊อปในช่วงแรกหาตนเองไม่เจอจึงต้องไปศึกษาภายใน พอหาตนเองเจอจึงค้นพบนวัตกรรม จึงสะท้อนว่า “หากวันนี้เป็นวันสุดท้ายของชีวิต เราอยากจะทำอะไรมากที่สุด” 

ชีวิตจะต้องทุกข์ให้หนักๆ จะเข้าใจว่าสติและสมาธิจะเสกชีวิตให้ดีขึ้น ซึ่งความทุกข์จะสอนเรา เราจึงเห็นว่า “พ่อแม่เป็นสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยเงิน” ทำให้เด็กรุ่นใหม่มีความอ่อนแอซึ่งแท้จริงจะต้องไปฝึกตนเองให้เจอความลำบากไว้ แต่ใช้ชีวิตมั้นเหนื่อยมันไม่ใช่ แต่ถ้าใช่มันจะไม่เหนื่อย มีพลังมีความสนุกในงาน อย่าทำงานจนเน่าใน เพราะบาปของคนมี ๒ อย่าง ประกอบด้วย ๑)ไม่ยอมออกเดินทาง เพื่อไปพัฒนาตนเอง ๒)ไปไม่สุดทาง เดินทางไปไม่สุดทาง จึงต้องไปปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอย่างเข้มข้น ความสุขที่พึ่งพาสิ่งภายนอกไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง แต่เราสุขภายในจะมีความปีติตลอด ชีวิตจะมีชีวามีความหมายจะต้องมีสติเป็นฐาน “สติเปลี่ยนชีวิต” จิตของเราดีขึ้นสามารถวัดได้ ๓ ประการ คือ ๑)จิตมีความผ่องใส  ๒)จิตมีความตั้งมั่น   ๓)สามารถคิดสิ่งใหม่ๆเป็นนวัตกรรม  จะต้องตนเองให้ใจเข้มแข็งเพราะถ้าอ่อนแอก็แพ้ไป จึงต้องพบกันพากันไปพ้นทุกข์อย่าเจอกันพากันไปพบทุกข์  และช่วงสุดท้ายแลกเปลี่ยนการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานสำหรับผู้ทำงานในองค์กรเพื่อเป็นฐานการทำงานให้มีประสิทธิภาพและการใช้ชีวิตที่มีความสุข            

หน้าแรก » การศึกษา