วันเสาร์ ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2567 21:24 น.

การเมือง

กกต.เมียนมาประกาศงดจัดเลือกตั้งพื้นที่กลุ่มชาติพันธุ์ยึดครอง

วันเสาร์ ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2563, 11.56 น.

วันที่ 17 ต.ค. 2563  ผู้สื่อข่าวรายงานว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งประเทศเมียนมา ได้ออกประกาศ 6 ฉบับ (192 - 197/2020) แจ้งบางพื้นที่ที่ กกต.ไม่สามารถเข้าไปจัดให้มีการเลือกตั้งได้ประกอบด้วย รัฐกะฉิ่น, รัฐกะเหรี่ยง, ภาคพะโค, รัฐมอญ, รัฐยะไข่ และรัฐฉาน ทั้งนี้พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สู้รบ หรือพื้นที่ที่กองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ยึดครองอยู่

โดยประกาศ กกต.เมียนมาฉบับที่ 197/2020  เกี่ยวกับพื้นที่ในรัฐฉานที่ต้องงดจัดการเลือกตั้ง เพราะอยู่ในเขตอิทธิพลของกลุ่มชาติพันธุ์  หรือเป็นพื้นที่สู้รบ  จำนวน 6 อำเภอ ส่งผลให้ ส.ส.จากรัฐฉาน ลดลงไป 6 คน  นอกนั้น 17 อำเภอ งดเฉพาะบางตำบลแต่ไม่มีผลต่อจำนวน ส.ส.

อย่างไรก็ตามพื้นที่เมืองจ๊อกเมร์ ทางภาคเหนือของรัฐฉาน นั้นทหารเมียนมาได้เปิดฉากสู้รบกับกองกำลังกู้ชาติไทใหญ่ตั้งแต่วันที่ 2 ต.ค.เป็นต้นมาส่งผลให้มีผู้หนีภัยสงครามไปอาศรัยอยู่ตามวัดต่างๆ ทำให้คณะสงฆ์จากวัดต่างๆ ชมรมผู้ใจบุญหลายๆที่ หน่วยงานอื่นๆ  รวมถึงผู้สมัครของพรรคสันนิบาตแห่งชาติรัฐฉานเพื่อประชาธิปไตย ได้เข้าไปช่วยเหลือบริจาค ข้าวสาร อาหาร ผ้าห่ม และยารักษา เครื่องใช้ที่ต่างๆ ที่จำเป็น ตามวัดต่างๆ

พรรคสันนิบาตแห่งชาติรัฐฉานเพื่อประชาธิปไตย (Shan Nationalities League for Democracy) โดยมีหัวเสือเป็นโลโก้พรรค เป็นพรรคการเมืองในรัฐฉาน มีสมาชิกเป็นทั้งชาวไทใหญ่และชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ในรัฐฉาน เช่น ชาวปะหล่อง ชาวปะโอ เป็นพรรคการเมืองของชนกลุ่มน้อยที่ใหญ่พรรคหนึ่งในพม่า ในการเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. 2533 ได้ 23 ที่นั่งได้ลงพื้นที่หาเสียงอย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับการหาเสียงผ่านสื่อออนไลน์ 

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งกว่า 1 ล้าน 1 แสนคนในรัฐยะไข่ของเมียนมาจะถูกตัดสิทธิ์ 

ขณะเดียวกันถลงการณ์จากคณะกรรมาธิการการเลือกตั้งเมียนมาระบุว่า เนื่องด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย ทำให้ต้องยกเลิกการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งมีประชาชนอาศัยอยู่หลายแสนคน รวมทั้งในรัฐยะไข่ที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งกว่า 800,000 คนนอกจากนี้มีชาวโรฮีนจากว่าครึ่งหนึ่งในจำนวน 6 แสนคนที่ยังคงอาศัยอยู่ในรัฐยะไข่ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วก็จะทำให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ถูกตัดสิทธิ์ในรัฐแห่งนี้มีมากกว่า 1ล้าน1 แสนคน เกือบสองในสามของประชากรทั้งหมดในรัฐ โดยพื้นที่เหล่านี้ไม่สามารถรับประกันได้ว่าการเลือกตั้งจะเป็นไปอย่างเสรีและเป็นธรรม และนั่นเป็นเหตุผลที่ต้องยกเลิกการเลือกตั้ง ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า ความเคลื่อนไหวดังกล่าวจะยิ่งเป็นชนวนให้เกิดความขัดแย้งเพิ่มขึ้น 

 ขอบคุณข้อมูลจากเพจKhurtai Maisoong

หน้าแรก » การเมือง