วันศุกร์ ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2567 09:00 น.

การเมือง

กองทุนสื่อฯเปิดฟังความคิดเห็นภาคใต้ พัฒนากลไกสื่อสารเชิงอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่น

วันศุกร์ ที่ 04 ธันวาคม พ.ศ. 2563, 17.24 น.

กองทุนสื่อฯ รับฟังความคิดเห็นประชาชนภาคใต้ : การพัฒนากลไกสื่อสาร สร้างโมเดลต้นแบบ ภายใต้การอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรม การอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่น ทำให้เกิดศักยภาพในการที่จะทำให้เกิดความมั่นคง ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเอง ของการใช้สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ได้กว้างขวางขึ้น

วันที่ 4 ธันวาคม 2563  สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับคณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน จัดประชุมเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการจัดสรรทุน ประจำปีงบประมาณ 2564  "TMF Public Hearing : Grants for Change 2021"​ ภาคใต้ จ.สุราษฎร์ธานี ณ.ห้องแกรนด์บอลรูม 2 โรงแรมบรรจงบุรี จ.สุราษฎร์ธานี

โดย รศ.ดร.พนา ทองมีอาคม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสื่อมวลชน ประธานอนุกรรมการเกี่ยวกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน  นางสาวลัดดา ตั้งสุภาชัย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการเกี่ยวกับการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ นายนคร วีระประวัติ อนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมเป็นวิทยากรเสวนาแนวทางการจัดสรรทุนสำหรับปีงบประมาณ 2564

โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ต่างให้ผู้เข้าร่วมเสวนา ได้รับทราบวัตถุประสงค์ พันธกิจ ของ พรบ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยเปิดโอกาสให้ทุกคน ได้ร่วมทำงานกับกองทุน ทั้งเขียนโครงการขอรับทุน ร่วมให้ข้อมูล ข้อเสนอแนะ รวมทั้งการแสดงความคิดเห็นในการจัดทำแผน หลักเกณฑ์ เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น เพื่อให้สังคมและประเทศชาติ ได้ประโยชน์และเกิดสันติสุขร่วมกันในท้ายที่สุด

ด้าน ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า การเดินสายรับฟังความคิดเห็นจากทุกพื้นที่ภาค เป็นการเก็บข้อมูล และบันทึกเสนอว่า ส่วนไหนที่กองทุน สามารถตอบสนอง ให้ประชาชน ผู้มีส่วนได้เสีย เพราะเชื่อว่า สื่อมีพลังที่สามารถเปลี่ยนแปลงสังคมและทำให้ประเทศชาติดีขึ้นได้

"ประชาชนที่ขอรับการเสนอทุน ต้องให้สอดคล้องกับวัตถุประสงศ์ ซึ่งการพิจารณาโครงการจะพิจารณาจากทุกองค์ประกอบ ทุกประเด็น" 

ดร.ธนกร กล่าวต่อว่า การสร้างปัญญาให้ความรู้ถือเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ โดยพัฒนากลไกสื่อสาร สร้างโมเดลต้นแบบ ภายใต้ระบบฐานชีวิต ทำให้ชุมชนตื่นตัว และเกิดความเข้มแข็ง โดยเฉพาะมรดกวัฒนธรรม การอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่น ทำให้เกิดศักยภาพในการที่จะทำให้เกิดความมั่นคง ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเอง ของการใช้สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ได้กว้างขวางขึ้น

หมายเหตุ ชมคลิปภาพเพิ่มเติม..........

หน้าแรก » การเมือง