วันศุกร์ ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2567 19:27 น.

ภูมิภาค

ตราดวุ่น! ห้ามลูกล้งกว่าร้อยคันเข้าเมือง ขู่ไม่รับซื้อผลไม้ตราด 15 วัน

วันอังคาร ที่ 07 เมษายน พ.ศ. 2563, 20.34 น.
ที่บริเวณจัดสกัดคัดกรองโรคด่านบ้านท่าจอด ต.แสนตุ้ง อ.เขาสมิง จ.ตราด รถยนต์บรรทุกผลไม้ ที่เป็นลูกล้งผลไม้ของแผงรับซื้อผลไม้(ล้ง) จ.จันทบุรี กว่า 20 คัน และคนงานอีก 30 คน ไม่สามารถนำรถยนต์เข้าไปตัดผลไม้ทั้งทุเรียน และมังคุดของเกษตรกรชาวอำเภอเขาสมิง และบ่อไร่ได้หลังจากเจ้าหน้าที่จัดสกัดที่รับผิดชอบด่านท่าจอด คือนายวีรศักดิ์ คงเบี้ยว ปลัดอำเภอเขาสมิง ปฏิเสธ โดยให้เหตุผลว่ามีประกาศจากจังหวัดตราดห้ามลูกล้งนำแรงงานตัดผลไม้เข้าไปตามประกาศห้ามบุคคลที่ไม่มีธุระเข้าจ.ตราดโดยเด็ดขาดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19
นายวีระศักดิ์ กล่าวว่า เป็นคำสั่งจากผู้ว่าราชการจังหวัดตราดทีทประกาศไว้เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2563 ซึ่งวันนี้ได้มีคำสั่งให้ปฏิบัติเพิ่มขึ้นโดยไม่ให้มีการอนุโลมใด ๆ ซึ่งหากจะมีการเปลี่ยนแปลงจะต้องรอคำสั่งใหม่เท่านั้น
 
โดยที่ทหารนาวิกโยธินตราด จากนาวาโทนิรุจน์ สุขศรี นายทหารจากหน่วยพัน ร. ฉก.นย.ตราด(หน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินตราด)ได้เข้ามาประสานกับทางเจ้าหน้าทีทเพื่อหารือเพื่อจะได้หาทางแก้ไข แต่ยังไม่สามารถแก้ไขได้หลังได้รับการประสานงานจากเกษตรกรว่าไม่สามารถนำลูกล้งเข้าไปตัดผลไม้ได้
 
นายประพบ โกสุมสวัสดิ์ เจ้าของแผงทุเรียนประพบ เจ๊จันทร์ จ.จันทบุรีที่นำรถยนต์และคนงานกว่า 30 คัน (และส่วนหนึ่งกว่า 50 คันกลับไปแล้ว)กล่าวว่า ได้รับซื้อผลไม้(ทุเรียน) จากเกษตรในอำเภอบ่อไร่ และอ.เขาสมิงไว้ก่อนหน้านี้ เเละวันนี้จะนำคนงานไปตัด และนำไปส่งยังจังหวัดจันทบุรี แต่ไม่สามารถนำคนงานและรถยนต์เข้าไปได้ ทำให้เกิดปัญหา เพราะทุเรียนจะต้องตัดส่งใน 2-3 วัน หากไม่สามารถเข้าได้ จะทำให้ทุเรียนมีปัญหา ซึ่งมีชาวสวนกว่า 10 รายที่ติดต่อไว้ และทุเรียนและมังคุดมากกว่า 4-5 ตัน/รถยนต์/คัน หรือมากกว่า 100 ตัน ที่รอการตัด หากล่าช้าจะเกิดความเสียหาย เพราะทุเรียนแก่แล้ว และทิ้งไว้จะหล่นเสียหาย
 
ขณะที่นายประวิทย์ สังวร เจ้าของสวนทุเรียนที่อ.บ่อไร่ กล่าวว่า ทุเรียนในส่วนกว่า 10 ไร่ที่ได้ให้แผงทุเรียนนายประพบเข้าไปตัดกว่า 10 ตันจะได้รับความเสียหายหากไม่มีแรงงานหรือล้งเข้าไปรับซื้อ  เพราะทุเรียนในส่งนเริ่มแก่ และหากทิ้งไว้นานจะร่วงหล่นและเสียหาย ซึ่งไม่ใช่ของตนเองเพียงอย่างเดียวแต่จะมีเกษตรกรอีกนับร้อยหลายได้รับความเดือนร้อนไปด้วยหากไม่มีล้งเข้าไปรับซื้อ และตัดทุเรียน เพราะได้มีการติดต่อกันล่วงหน้ามาแล้ว  หากจะทำเองก็ไม่มีแรงงานที่จะมารับจ้างเก็บเพราะแรงงานต่างด้าวก็ไม่อยู่ในประเทศไทยแล้ว
 
ขณะที่คณะกรรมการโรคติดต่อจ.ตราด ที่มีว่าที่พิเชียน ลิมป์หวังอยู่ ผู้ว่าราชการจังหวัดตราดเป็นประธาน ได้เชิญนายวินัย ขยันยิ่งนักวิชาเกษตรจังหวัดตราดเข้าประชุมเพื่อหารือในเรื่องนี้ แจ้งที่ประชุมว่า ผลไม้ของจังหวัดตราดโดยเฉพาะทุเรียนอาศัยล้งที่ จ.จันทบุรี เข้ามารับซื้อร้อยละ 90 ส่วนอีก 10 % จะมีพ่อค้าเร่เข้ามารับซื้อ และจะมีแรงงานต่างด้าว ทำกันเอง ทั้งนี้ ในวันพรุ้งนี้จะมีพ่อค้าจากจันทบุรี และจ.ระยองเดินทางเข้ามารับซื้อหากเข้ามาไม่ได้จะเกิดปัญหา เพราะทางนายกสมาคมผู้ส่งออกผลไม้จ.จันทบุรีได้แจ้งว่า หากยังเข้าไม่ได้จะไม่รับซื้อผลไม้จากจ.ตราดเป็นเวลา 15 วัน หากเป็นเช่นนั้น จะทำให้ราคาผลไม้ของจ.ตราดตกต่ำ ซึ่งจะทำให้เกษตรกรชาวสวนผลไม้เคลื่อนไหวกดดันทางจังหวัดเพื่อแก้ไขปัญหานี้
 
ซึ่งที่ประชุมได้สรุปมาตรการในเรื่องนี้ว่า ให้ล้งนกลูกล้งและแรงงานเข้าจังหวัดตราดได้ตามปกติ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป แต่ต้องมีข้อปฏิบัติอย่างเข้มงวด คือ รถยนต์ทุกคนต้องขึ้นทะเบียน,และประวัติแรงงาน และไปเก็บผลไม้ที่สวนใคร? อยู่ที่ไหน และเมื่อเก็บที่สวนใครต้องอยู่ทีทสวนนั้นห้ามเคลื่อนย้ายไปที่อื่น เมื่องไปแล้วต้องกลับ โดยที่จะต้องสวมหน้ากากอนามัย ต้องทำความสะอาดตัวเองมและอุปกรณ์ตามการควบคุมของสาธารณสุข และทุกคนต้องมีใบรับรองแพทย์ ที่ตรวจภายใน 48 ชม.และหากฝืนคำสั่งจะต้องถูกดำเนินคดี ซึ่งกรณีนี้ให้ใช้กับพ่อค้ารับซื้อกุ้งด้วย

หน้าแรก » ภูมิภาค