วันศุกร์ ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2567 14:26 น.

ภูมิภาค

นศ.ปี3 สถาปัตมอ.ตรัง โชว์ผลงานโซฟา 1เดียวในโลกนำวัสดุเหลือใช้ดัดแปลงสวยงาม

วันอาทิตย์ ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2563, 16.37 น.

ที่ตึกคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง น.ส.ปัทมา มีศิลป์ หรืออาจารย์จอย อาจารย์พิเศษ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ รายวิชา Introduction to interior architecture พร้อมด้วยนักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ได้นำผลงานเฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตจากวัสดุเหลือใช้ มาดัดแปลง แต่งเติมความคิดสร้างสรรค์ ออกแบบเป็นโซฟาสุดครีเอทที่มีเพียงชิ้นเดียวในโลก โดยมีการแสดงผลงานโดดเด่นต่างๆ ทั้งเก้าอี้ผีเสื้อ เก้าอี้ซีดี หรือนำเศษไม้เศษเหล็ก ผสมผสานแนวคิดการออกแบบตามสถาปัตยกรรม ได้ชิ้นงานเก๋ไก๋ สวยงามและทันสมัย

 


น.ส.ปัทมา กล่าวว่า ผลงานของนักศึกษาเป็นหนึ่งในผลงานของรายวิชา ซึ่งตนได้สอนในรายวิชาออกแบบภายใน ตนเล็งเห็นถึงความเจริญของชุมชนเมืองที่เติบโตขึ้นเร็วมาก ก็จะมีของเหลือใช้เยอะแต่ยังไม่ได้เป็นขยะ จึงให้นักศึกษาคิดออกแบบเก้าอี้คนละ 1 ชิ้น ตามโจทย์คือต้องเป็นชิ้นงานที่ไม่เคยเห็นมาก่อนบนโลกนี้ ที่สำคัญคือต้องใช้งานได้จริง นั่งได้ ยืนได้ นักศึกก็ได้ไปหาของเก่าที่มีอยู่แล้วที่บ้านหรือรอบตัวมาทำเป็นชิ้นงานออกมา ถือว่าเป็นการนำของที่ไม่ใช้แล้วมาประยุกต์เป็นของชิ้นใหม่ ให้ใช้จินตนาการได้อย่างเต็มที่ ตนมีแนวคิดอยากให้นักศึกษาเก็บชิ้นงานนี้ไว้เป็นพอร์ท ซึ่งมีคุณค่าทางจิตใจมาก ในอนาคตก็อยากให้นักศึกษานำชิ้นงานไปให้ทางผู้ประกอบการหรือประชาชนพิจารณาหารายได้เพิ่มอีกทางด้วย

 


 

น.ส.ปัทมา กล่าวอีกว่า ตนจบจากมหาวิทยาลัยรังสิต คณะศิลปะและการออกแบบ สาขาออกแบบตกแต่งภายใน หลังจากสำเร็จการศึกษาก็มีการเปิดสอนศิลปะ ชื่อว่า ลานศิลปะตรัง เปิดมาประมาณ 5 ปี มาแล้ว จะรับเด็กตั้งแต่อายุ 2 ขวบ 5 เดือน ขึ้นไป จนถึงเตรียมสอบมหาวิทยาลัย ซึ่งปีนี้ก็เป็นเทอมแรกที่ได้เข้ามาสอนที่ มอ.ตรัง ก็รู้สึกมีความภาคภูมิใจมาก

 


 

ด้านน.ส.อัจฉราพร หนูเอียด นศ.ชั้นปีที่ 3 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เจ้าของผลงานนำจักรยานมาดัดแปลงเป็นเก้าอี้ เผยว่า สมัยเด็กตนเป็นคนชอบปั่นจักรยานมาก แต่เมื่อโตขึ้นเวลาตรงนั้นได้หายไป เพราะตนก็ต้องเรียน ทำงาน เมื่อไปเห็นจักรยานเก่าที่ไม่ได้ใช้งานแล้วก็นึกถึงเก้าอี้นี้ขึ้นมา จึงนำมาออกแบบเป็นเก้าอี้ที่ดูเท่ห์ให้มีคุณค่ามากขึ้น จุดเด่นคือกริ่งที่ติดข้างเก้าอี้ หากวางที่ร้านอาหารก็สามารถกดเรียกพนักงานที่ร้านอาหารได้ ตนคิดออกแบบงานโดยใช้หลักความเป็นจริงตามหลักปกติของคนทั่วไปใช้ แต่เติมความคิดที่อยู่นอกกรอบเข้าไป และนำของที่ไม่ได้ใช้งาน แล้วนำกลับมาใช้งานใหม่ได้

 


 

ขณะที่นายมาหามะไซฟูล สะมะแอ นศ.อีกราย เล่าว่า ผลงานของตนคือเก้าอี้แมงป่อง ได้รับแรงบันดาลใจจากการที่ตนได้ไปดูหนังเรื่อง Scorpion King ที่มีฉากนั่งบนแมงป่อง ตนนำวัสดุเหลือใช้มาประกอบ มีการตกแต่งให้สวยงามคล้ายแมงป่อง อาจจะมีการซื้อสีบ้าง หรือเหล็กเชื่อมบ้างตามวัสดุที่มีการนำเหล็กเส้นมาดัดขึ้นรูปให้สวยงาม

 


 

เช่นเดียวกับนายชัยวัฒน์ เขียวดำ นศ.ชั้นเดียวกัน เจ้าของผลงานโซฟาที่นำขาของหุ่นลองผ้ามาตกแต่งสร้างความดึงดูดสายตาและสวยงาม ที่เผยว่า เก้าอี้ของตนเป็นเก้าอี้ที่สื่อเกี่ยวกับเพศ LGBT บางคนอาจจะไม่กล้าเปิดตัวในที่สาธารณะ จึงได้หยิบหยกนำสรีระมาแต่งโยยกขาลอยขึ้นจากพื้นเหมืนตอนเราทิ้งตัวลงนั่ง ซึ่งแสดงออกถึงความสุข ความดีใจ ตนจึงอยากใช้สถาปัตยกรรมเป็นตัวบ่งบอกถึงบุคลุคของกลุ่มนั้นได้ เช่นการแต่งตัว ให้มีความโดดเด่น ซึ่งผลงานชิ้นนี้มีการนำล้อรถยนต์ เศษกางเกงยีนส์ ส่วนขาที่ยื่นออกมาก้ทำมาจากหุ่นที่ไม่ใช้แล้ว ก็สามารถป้องกันไม่ให้เก้าอี้ล้มได้ ปัจจุบัน LGBT เริ่มได้รับโอกาสแล้วแต่ยังไม่เต็มที่ตนจึงอยากให้ชิ้นงานนี้เป็นตัวแทนของบุคลิก LGBT

 

 

 

หน้าแรก » ภูมิภาค