วันศุกร์ ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2567 14:48 น.

ภูมิภาค

“สุวัจน์” ต้อนรับผู้ประเมินยูเนสโก ชี้ “เมืองย่าโม” พร้อมเป็น “อุทยานธรณีโลก”

วันพฤหัสบดี ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2565, 20.13 น.

นครราชสีมา วันนี้( 23 มิถุนายน 2565 ) เวลา 18.00 น.ที่อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เป็นประธานงานเลี้ยงต้อนรับผู้ประเมินจีโอพาร์คโลก Welcome Reception Party “Khorat The Aspiring UNESCO Global Geopart” โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศร เนาวนนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา , นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา , นายประเสริฐ บุญชัยสุข นายกเทศมนตรีนครนครราชสีมา , นายเทวัญ ลิตพัลลภ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมหัวหน้าส่สนราชการ ตำรวจ ทหาร ตุลาการอัยการ หอการค้า สภาอุตสาหกรรม พ่อค้าคดบดี นักธุรกิจ นักศึกษาและแขกผู้มีเกียรติให้การต้อนรับผู้ประเมิน


 
 

โดยได้ร่วมกันคล้องพวงมาลัยสักการะอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี สิ้งศักอิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองที่ชาวจ.นครราชสีมาเคารพกราบไหว้ พร้อมทั้งเดินมากำแพงเมืองเก่า ชมการตำหมากถวายคุณย่าโม โดยตัวแทนยูเนสโก้ยังได้ตำหมากด้วยตัวเอง และชมการร้องรำเพลงของหมอเพลงโคราช พร้อมกับเดินลอดซุ้มประตูเมือง(ประตูชุมพวง) ซึ่งมีความเชื่อว่าหากแขกบ้านแขกเมืองได้ลอดประตูเมืองจะได้กลับมาจ.นครราชสีมาอีก ก่อนนั่งสามล้อปั่นเป็นขบวน 14 คันรอบคูเมืองเข้าสู่เรือนโคราช สถานที่จัดงานเลี้ยงต้อนรับ โดยมีการจัดอาหารเป็นโต๊ะจีนโคราช ประกอบด้วย ไก่ย่างโคราช , หมี่โคราช , ส้มตำไทย , ข้าวเหนียว , ขนมจีนน้ำยากะทิ , น้ำกระเจี๊ยบ , น้ำอัญชัน เป็นต้น    
 
ทั้งนี้โดยองค์การยูเนสโก้ได้มอบหมายให้ผู้ประเมินอุทยานธรณีโคราช Dr.Marie Louise Frey ผู้อาวุโสจากสหพันธ์รัฐเยอรมนีและ Ms.Sarah Gamble ผู้ประเมินจากประเทศแคนาดา เป็นผู้ประเมินอุทยานธรณีในประเทศไทย เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก โดยกำหนดการประเมินอุทยานธรณีโคราชระหว่างวันที่ 22-26 มิถุนายน 2565 นี้
 


 

นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ กล่าวว่า “โคราช จีโอพาร์ค”เป็นเรื่องที่ดีในขณะนี้ มีผู้แทนจากยูเนสโก เดินทางมาที่จังหวัดนครราชสีมา เพื่อที่จะมาทำการประเมิน ว่าจะได้รับการพิจารณาโกลบอล จีโอพาร์ค ยิ่งถ้าเราได้รับพิจารณาให้เป็นจังหวัดนครราชสีมามีความพร้อม องค์กรหลัก คือ มหาลัยราชภัฏนครราชสีมา ซึ่งมีการจัดตั้งไม้กลายเป็นหิน ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏฯ ได้ทำเกี่ยวกับจีโอพาร์ค มาตลอดมีการขุดใต้ดินในชั้นดินต่างๆ ในธรณีวิทยา ในเขต 5 อำเภอเมือง อ.สูงเนิน อ.ขามทะเลสอ อ.สีคิ้ว อ.เฉลิมพระเกียรติ ก็จะพบซากบรรพชีวินวิทยา และซากดึกดำบรรพ์ พวกฟอสซิว อาทิ ซากไดโนเสาร์ ซากช้างดึกดำบรรพ์ และไม้กลายเป็นหิน ซึ่งมีการร่วมกันอยู่เป็นจำนวนมาก จึงมีการผสมผสานระหว่างซากดึกดำบรรพ์กับธรณีวิทยา กับภูมิศาสตร์ วัฒนธรรมการใช้ชีวิตในชุมชนต่างๆ
 
 
นายสุวัจน์ฯ กล่าวว่าเราได้มีการจัดตั้ง “โคราช จีโอพาร์ค” ตั้งแต่ พ.ศ. 2558 และหลังจากนั้นมีการพัฒนาต่อมาในพื้นที่ใน 5 อำเภอ 17 ชุมชนและ 39 แหล่งของจีโอทัวร์ริซึม เราจะจัดและพัฒนาเป็นอุทยานธรณีโลกเหมือนที่จังหวัดสตูล โดยสถาบันไม้กลายเป็นหิน เป็นผู้ดำเนินการในเรื่อง”โคราช จีโอพาร์ค” ได้ประสานกับจังหวัดและส่วนราชการ จนคณะรัฐมนตรีได้ให้นำเสนอไปสู่ ยูเนสโก เพื่อยกฐานะเป็น “โกลบอล จีโอพาร์ค”หรือที่เรียกว่า “อุทยานธรณีโลก”ได้หรือไม่ ซึ่งมีความพยายามทำตรงนั้นตั้งแต่ 2558 จนกระทั่งวันนี้ เป็นเวลา 7 ปีเต็มๆ ที่มหาวิทยาลัยและชาวโคราชรอคอย

 


 

“วันนี้ เป็นจุดเริ่มต้นเพราะมีคณะได้เดินทางมา 2 ท่านมาประเมิน ใช้เวลาประเมิน 3 วัน เมื่อประเมินเสร็จก็จะนำผลการประเมินไปสู่ที่ประชุมของกรรมการสภาอทุยาธรณียโลก ซึ่งจะจัดเดือน กันยายน ที่ยูเนสโกของโลก เพราะที่ผ่านมาในระดับจังหวัดและมหาวิทยาล และชุมชนต่างได้มีความร่วมมือในการดูแลท้องถิ่น ในการผสมผสานวัฒนธรรม กับธรณีวิทยา ภูมิศาสตร์ ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต ให้เข้ากับซากดึกดำบรรพ์


เพราะหลักของยูเนสโก ต้องการที่จะก่อให้เกิดการอนุรักษ์ บรรพชีวิตและธรณีวิทยาให้ยั่งยืน โดยชุมชนต้องมีส่วนเกี่ยวข้อง เข้ามาดูแล และต่อไปจะได้พัฒนาและได้ประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยมีการท่องเที่ยวในเชิงธรณีวิทยา เที่ยวในเชิงวัฒนธรรม ผสมผสานการนำ Soft Power มาบวกกับธรณีวิทยาและมีการจ้างงาน มีอาชีพ และมีรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำ นำการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น ซึ่งเรามั่นใจว่าเรามีความพร้อมในทุกๆด้าน”นายสุวัจน์ กล่าวและย้ำว่า
 
 
โคราชได้มรดกโลกมาแล้ว 2 มงกุฎ คือ 1.อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 2.ป่าสงวนชีวมณฑล สะแกราช อ.ปักธงชัย และ 3.อุทยานธรณีโลก หรือ โคราชจีโอพาร์ค ซึ่งอยู่ระหว่างการประเมินของยูเนสโก ถ้าโคราชได้ขึ้นทะเบียนเป็นอุทยานธรณีโลก นั้นหมายความว่า จังหวัดนครราชสีมา ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกถึง 3 มงกุฎ ต่อไปโคราชจะเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลก เพราะวันนี้คนชอบไปเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยเฉพาะเมื่อมีโควิด นักท่องเที่ยวก็ชอบไปเที่ยวเมืองปลอดภัย เมืองมรดกโลก เมืองที่อากาศดี และมีวัฒนธรรมเยอะๆ จะทำให้ภาคอีสานเป็นภาคแห่งการท่องเที่ยว และจังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดท่องเที่ยวอย่างสมบูรณ์

 

 

“ฉะนั้น หลังจากนี้ลุ้นกันให้ดีเลย ถ้ายูเนสโกประกาศ “โคราชเป็นอุทยานธรณีโลก” เราจะเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่มากสำหรับจังหวัดนครราชสีมา ว่าในโลกจะมีเพียง 3 ประเทศ คือ 1.ประเทศอิตาลี 2.ประเทศเกาหลี และ 3. จังหวัดนครราชสีมาในประเทศไทย” นายสุวัจน์ กล่าว
 
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสุวัจน์ พร้อมคณะได้นำผู้ประเมิน กราบสักการะท้าวสุรนารี ณ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี พร้อมรับฟังกิจกรรมเล่าเรื่องเมืองโคราช ชมศูนย์สารสนเทศจีโอพาร์คความร่วมมือของเทศบาลนครนครราชสีมา ชมประตูชุมพล ความเชื่อมโยงระหว่างประตูชุมพลกับทรัพยากรธรณีและจีโอพาร์ค
 
 
จากนั้น ผู้ประเมินนั่งสามล้อชมวิถีชีวิตชาวโคราชและเรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในโคราช รับชมวีดิทัศน์”มหาวิทยาลัยราชภัฏกับการเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนโคราชจีโอพาร์ค” ชมการแสดงต้อนรับ “โคราชมหานครแห่งบรรพชีวิน” ชมการแสดงเพลงโคราช”โคราชจีโอพาร์ค” โดยศิลปินแห่งชาติ”กำปั่น บ้านแท่น” รับประทานอาหาร “โต๊ะโคราช” ตามเอกลักษณ์ของโคราช ทั้งอาหาร,การแสดง,ภาษา สะท้อนวิถีชาวโคราช

 

 

 

ทั้งนี้ก่อนหน้าที่ช่วงบ่ายวันเดียวกันที่พิพิธภัณฑ์อุทยานธรณีโคราช สถาบันวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณี บ้านโกรกเดือนห้า ต.สุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา องค์การยูเนสโก้ ได้มอบหมายให้ MS.Marie-Luise Frey ผู้ประเมินอาวุโสจากสหพันธรัฐเยอรมันณี Ms.Sarah Gamble ผู้ประเมินจากประเทศแคนนาดา และDr.Jeon Yongmun ผู้มีประสบการณ์ประเมินจีโอพาร์คโลกของยูเนสโกจากประเทศเกาหลีใต้ เดินทางมาประเมินเพื่อรวบรวมข้อมูลและหลักฐานประกอบการรับรองอุทยานธรณีโคราชเพื่อการรับรองให้เป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก้ ระหว่างวันที่ 22-26 มิย 2565 โดยจะมีการลงพื้นที่ตรวจประเมินภาคสนาม จำนวน 17 แหล่งสำคัญทางธรณีวิทยา ใน 5 อำเภอ ของจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ 1.สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหิน ช้างดึกดำบรรพ์และไดโนเสาร์ 2.โรงเรียนพันดุง 3.แหล่งผลิตเกลือภูมิปัญญาบ้านพันดุง 4.ชุมชนโพนสูง 5.แหล่งตัดหินสีคิ้ว 6.เขาจันทน์งาม 7.ศูนย์เรียนรู้ กฟผ. 8.อ่างพักน้ำตอนบนลำตะคองสูบกลับ(เขาเควสต้า) 9. ผายายเที่ยง 10.ชุมชนไท-ยวน 11.ชุมชนและปราสาทพนมวัน 12.โรงเรียนท่าช้างราษฎร์บำรุง 13.ไทรงาม ท่าช้าง 14.กลุ่มทอเสื่อบ้านท่าช้าง 15.เรือนรักษ์รถไฟ 16.พระนอนหินทราย17.แหล่งตัดหินบ้านส้มกบงาม ทั้งนี้ได้มีการนำเสนอข้อมูลการพัฒนา ผลกระทบ ประโยชน์ รวมถึงศักยภาพของชุมชนเพื่อให้เห็นภาพรวมของแหล่งเควสต้าของอุทยานธรณีโคราช ที่มีภูมิประเทศสวยงามโดดเด่นที่เป็นอัตลักษณ์ของอุทยานธรณีโคราช
 
 
ด้านผศ.ดร.ประเทือง จินตสกุล ผู้อำนวยการอุทยานธรณีโคราช เปิดเผย่วา โคราชจีโอพาร์ค ดินแดนแห่งเควสต้าและฟอสซิส Cuesta & Fossil Land ครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำลำตะคองใน 5 อำเภอของจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 3,167 ตร.กม. ได้แก่ อำเภอสีคิ้ว อำเภอสูงเนิน อำเภอขามทะเลสอ อำเภอเมือง และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ มีแหล่งที่มีความสำคัญระดับนานาชาติระดับชาติและท้องถิ่นในพื้นที่อุทยานธรณีโคราชมากถึง 39 แหล่ง ประกอบด้วย แหล่งธรณี จำนวน 21 แห่ง และเป็นแหล่งธรรมชาติอื่นและแหล่งวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงกับแหล่งธรณีวิทยาถึง 18 แห่ง นอกจากนี้อุทยานธรณีโคราชยังมีมรดกที่จับต้องไม่ได้ อาทิ ความเชื่อและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญอีกมากมาย อุทยานธรณีโคราชตั้งอยู่บนที่ราบสูงโคราชขอบด้านตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งมีแนวเขาเควสตาสองชั้นเป็นแลนด์มาร์คที่โดดเด่นและไม่ซ้ำอุทยานธรณีแห่งใดในเครือข่ายอุทยานธรณีโลก ซึ่งถูกรองรับด้วยแผ่นหินที่มีอายุราว 150 - 90 ล้านปี เรียกว่า กลุ่มหินโคราช ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้เป็นห้องเรียนกลางแจ้งของ นักศึกษาและนักธรณีวิทยา

หน้าแรก » ภูมิภาค