วันเสาร์ ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2567 19:27 น.

ภูมิภาค

มท.1เร่งหารือเมียนมาทั้งระดับรัฐบาล-ท้องถิ่น ติดตั้งระบบเตือนภัยแม่น้ำสาย

วันจันทร์ ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2565, 15.03 น.
วันที่ 15 ส.ค. 65  พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมคณะ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์อุทกภัยที่จังหวัดเชียงราย และมอบเครื่องอุปโภคบริโภคแก่ผู้ประสบภัย จุดแรก ที่อำเภอแม่จัน และได้มีการประชุมติดตามสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ โดยมีนายภาสกร บุญญลักษม์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ผบ.มทบ.37 ป้องกัน​และบรรเทา​สาธารณภัย​จังหวัด​เชียงราย​ นายอำเภอแม่จัน หัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่จัน
 
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา กล่าว​ว่า นายกรัฐมนตรี​ มีความห่วงใย​พี่น้องประชาชน​ ต่อสถานการณ์​อุทกภัย​ มอบหมายให้กระทรวง​มหาดไทย​ได้ติดตามสถานการณ์​  รวมทั้งเยี่ยมเยีอน​ประชาชน​ผู้ประสบภัย​ และให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานช่วยเหลืออประชาชน​
 
  จากนั้น ได้พบปะเยี่ยมเยือนและมอบเครื่องอุปโภคบริโภคแก่ผู้ประสบภัย จำนวน 200 ราย และมอบเงินช่วยเหลือครอบครัวผู้เสียชีวิต 1 ราย ซึ่งเป็นผู้เสียชีวิตจากกระะแสไฟฟ้ารั่วในพื้นที่ ต.บ้านดู่ อ.เมืองเชียงราย ที่ หอประชุมที่ว่าการอำเภอแม่จัน ก่อนจะเดินทางไปยังที่ว่าการอำเภอแม่สาย เพื่อมอบเครื่องอุปโภคบริโภคแก่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้รับมอบแทนผู้ประสบภัย จำนวน 290 ชุด และมอบเครื่องอุปโภคบริโภคแก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่ จำนวน 10 ครอบครัว บริเวณตลาดสายลมจอย
 
สำหรับ​สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ที่ได้รับผลกระทบจากฝนตกสะสมและฝนตกหนักจากพายุโซนร้อน “มู่หลาน” ช่วงวันที่ 11 – 13 สิงหาคม 2565 มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 10 อำเภอ 38 ตำบล 262 หมู่บ้าน บ้านเรือนได้รับความเสียหาย 1,672 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตร พืชไร่ 2,006 ไร่ พืชสวน 200 ไร่ นาข้าว 12,705 ไร่ ฝาย 3 แห่ง ตลิ่ง 6 แห่ง บ่อปลา 15 แห่ง และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย ขณะ​นี้สถานการณ์​น้ำทั้ง 9 อำเภอ​ ได้เข้าสู่ภาวะปกติ​แล้ว โดยได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้นแล้ว  จากนี้ หน่วยงานที่รับผิดชอบแต่ละด้านเข้าไปช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยตามระเบียบของราชการต่อไป
 
ซึ่งทาง รมว.มหาดไทย ได้มอบหมายให้ผู้ว่าราชการ จ.เชียงราย ได้ประสานเพื่อร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อติดตั้งระบบเตือนภัยเนื่องจากต้นน้ำอยู่ในประเทศเพื่อนบ้านและไหลมาเร็วมากจึงควรมีระบบร่วมกัน โดยใช้ระบบทั้งฝ่ายปกครองและคณะกรรมการชายแดนไทย-เมียนมา ระดับท้องถิ่น (ทีบีซี) ในหาการรือ ทั้งนี้ยืนยันว่าฝั่งไทยมีงบประมาณดำเนินการพร้อมแล้วทั้งการติดตั้งระบบและพนังกั้นนั้นแต่ทราบว่าท้องถิ่นของประเทศเพื่อนบ้านก็รับทราบแล้วเช่นกันแต่ต้องนำเสนอรัฐบาลกลางเพื่อพิจารณ ดังนั้นตนจึงจะรับเรื่องไว้หารือในระดับสูงขึ้นเพื่อให้โครงการเป็นรูปธรรมต่อไป

หน้าแรก » ภูมิภาค