วันพฤหัสบดี ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2567 01:23 น.

ประชาสัมพันธ์

“คาร์บอนุเบกขา – ความเป็นกลางทางคาร์บอน” ทส. เชื่อมโยงหลักวิถีพุทธ สร้างสมดุลชีวิตและสิ่งแวดล้อม สู่เป้าหมาย Net Zero ในเวที TCAC

วันจันทร์ ที่ 08 สิงหาคม พ.ศ. 2565, 07.10 น.
“คาร์บอนุเบกขา – ความเป็นกลางทางคาร์บอน” ทส. เชื่อมโยงหลักวิถีพุทธ
สร้างสมดุลชีวิตและสิ่งแวดล้อม สู่เป้าหมาย Net Zero ในเวที TCAC
 
   
 
 
 
การประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย หรือ TCAC ซึ่งจัดขึ้นโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิด อนาคตไทย อนาคตโลก : โอกาสและความรับผิดชอบ หรือ Our Future, Our Responsibility, Our Opportunity เมื่อระหว่างวันที่ 5 – 6 สิงหาคม 2565 ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน เพื่อเป็นเวทีเสริมสร้างความเข้มแข็งการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ภายในงานนอกจากการจัดแสดงนิทรรศการจากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อสะท้อนถึงพลังการขับเคลื่อนการดำเนินงานในเชิงนโยบาย และความพยายามในการร่วมกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้ว ยังมีการเสวนาในหัวข้อที่หลากหลาย 
 
   
 
“คาร์บอนุเบกขา vs กรรมสันตุฎฐิตา” โดย พระธรรมศากยวงศ์วิสุทธิ์ (อนิลมาน ธมฺมสากิโย) อธิการบดีกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยพุทธศาสนาแห่งโลก คือหนึ่งในหัวข้อบรรยายที่เน้นย้ำให้เห็นว่า การแก้ไขปัญหาของโลกไม่สามารถทำได้โดยใครคนใดคนหนึ่ง จะต้องร่วมมือกันจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ที่ควรนำหลักความสันโดษ หรือความพอเพียง และความรู้คุณค่าต่อสิ่งต่าง ๆ ที่เราใช้สอยในชีวิตประจำวันมาพิจารณาอยู่เนื่อง ๆ เพื่อให้เกิดการบริโภคที่สมดุล พอดี ไม่เบียดเบียนต่อโลก และสิ่งแวดล้อม เพราะหากสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างไร ตัวเราก็จะเป็นอย่างนั้น เนื่องจากตัวเราทุกคน คือ สิ่งแวดล้อม
 
 
   
 
พระธรรมศากยวงศ์วิสุทธิ์ ยังได้แนะว่า การสร้างความสมดุลให้กับชีวิต หรือการเปลี่ยนวิถีชีวิตตามหลักคาร์บอนุเบกขา หรือความเป็นกลางทางคาร์บอน เป็นแนวคิดที่ดีที่จะช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหรือภาวะที่โลกกำลังประสบได้ ซึ่งเป็นการสร้างความสมดุลตามการใช้ชีวิตแบบฆราวาส อีกทั้ง ฆราวาสก็สามารถนำหลัก "กรรมสันตุฏฐิตา" (Karma Sufficiency) หรือหลักความพอเพียงในการใช้ชีวิตที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้เมื่อ 2,500 กว่าปี มาประยุกต์ใช้ได้ ประกอบด้วย การดำรงชีวิตอยู่ด้วยความพอเพียง (Sufficiency Economy) การรีไซเคิลจนเป็นชีวิตจิตใจ (Recycling Principle) การอยู่กับธรรมชาติ (Eco-being) และการอยู่โดยพึ่งพาตนเองให้ได้ (Self Sufficiency Life) ทั้งนี้ สิ่งที่สำคัญ คือ วิธีคิด วิธีใช้ชีวิตของตัวเรา ที่ต้องรู้จักเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ ดำรงชีวิตอย่างมีปัญญา คือ มีสติ สัมปชัญญะ และรู้จักขอบคุณสิ่งต่าง ๆ รู้กตัญญูของสิ่งที่เรากิน เราใช้ ตลอดจนรู้ถึงที่มาของวัฎจักรของสิ่งเหล่านั้น

หน้าแรก » ประชาสัมพันธ์