กิจกรรม
ไฟ-ฟ้า โดยทีทีบี จุดประกายเด็กไทย “รับมืออย่างไรเมื่อถูกบูลลี่” สร้างวัฒนธรรมเชิงบวกในสังคมแทนการตอบโต้ด้วยความรุนแรง
วันพฤหัสบดี ที่ 07 ธันวาคม พ.ศ. 2566, 17.31 น.
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

ไฟ-ฟ้า โดยทีทีบี จุดประกายเด็กไทย “รับมืออย่างไรเมื่อถูกบูลลี่”
สร้างวัฒนธรรมเชิงบวกในสั งคมแทนการตอบโต้ด้วยความรุนแรง

ศูนย์เรียนรู้ไฟ-ฟ้า โดย ทีทีบี มุ่งจุดประกายเยาวชน เพื่อเสริมสร้างสิ่งดี ๆ คืนสู่สังคมไทย รุกสร้างความตระหนักรู้ถึงปั ญหาและแนวทางแก้ไขพฤติกรรมรุ นแรง กลั่นแกล้งและรังแกผู้อื่น หรือ บูลลี่ (Bully) ผ่านการจัดกิจกรรม “รับมืออย่างไรเมื่อถูกบูลลี่” ชวนอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) ชื่อดัง “แพรี่-ไพรวัลย์” มาบอกเล่าประสบการณ์และวิธีรั บมือเมื่อถูกบลูลี่ให้กับเด็ กไฟ-ฟ้า ณ ศูนย์เรียนรู้ไฟ-ฟ้านนทบุรี พร้อมเปิดกว้างให้คนทั่วไปรั บชมในช่องทางออนไลน์ไลฟ์ผ่ านเฟซบุ๊ก fai-fah by ttb เพื่อสร้างวัฒนธรรมเชิ งบวกแทนการต่อสู้กับการกลั่ นแกล้งรังแกผู้อื่นด้วยการลงโทษ
รู้จักคำว่า “บูลลี่” พฤติกรรมแบบไหนไม่ควรไม่ทำ!
คุณแพรี่ มีความคิดเห็นว่า ไม่ควรมีใครถูกบูลลี่และไม่ ควรมองว่าการบูลลี่เป็นเรื่ องปกติ เพราะอาจสร้างผลกระทบทางด้ านความรู้สึกมากมายจนอาจเกิดเป็ นแผลทางใจฝังลึกจนยากเยียวยา หรือมีโอกาสลุกลามไปจนเกิ ดการปะทะ และสร้างบาดแผลทางกายได้ โดยพฤติกรรมการบูลลี่จำแนกได้ เป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1. ทางกาย เป็นการใช้ความรุนแรง การทำร้ายร่างกายคนอื่นให้ได้รั บความเจ็บปวด และบางกรณีอาจส่งผลต่อจิตใจอี กด้วย 2. ทางวาจา เป็นการพูดส่อเสียด ล้อเลียน ใส่ร้าย ซึ่งนอกจากจะสร้างความอับอาย วิตกกังวล อาจสร้างความเครียดและกลายเป็ นบาดแผลทางใจ 3. ทางสังคม เป็นการสร้างกระแสกีดกันทางสั งคม มีการเปรียบเทียบด้อยค่า หรือยืมมือคนรอบข้างมาทำให้ไม่ สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่ างเป็นปกติ และ 4. ไซเบอร์บูลลี่ เป็นการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นบนโซเชียลมี เดีย ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ก หรือไอจี และโซเชียลอื่น ๆ จะเห็นได้ว่ามีคอมเมนต์ในแง่ ลบเยอะมาก จนทำให้สังคมไม่ค่อยน่าอยู่
“อยากให้น้อง ๆ รู้จักและเข้าใจการบูลลี่อย่ างแท้จริง จะได้ระมัดระวังไม่ไปบูลลี่คนอื่ น เพราะบางครั้งคนบูลลี่ก็ไม่รู้ ตัวว่ากำลังทำสิ่งที่ก่อให้คนอื่ นรู้สึกด้อยค่า หรืออับอาย ยิ่งในปัจจุบันโลกยุคดิจิทัล เป็นเรื่องง่ายมากที่จะหยิบมื อถือขึ้นมาแล้วกลั่นแกล้งใครสั กคน แถมบางคนแค่เห็นคอมเมนต์แย่ ๆ ก็เข้าไปผสมโรงกับคนอื่นด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เราควรพูดหรือทำสิ่งที่ให้กำลั งใจกัน ทำให้สังคมดีขึ้น เพื่อสังคมจะได้อยู่ร่วมกันอย่ างเป็นสุข มีความอบอุ่นเอื้ออาทรต่อกัน เชื่อว่าทุกคนคงไม่อยากอยู่ในสั งคมที่มีการเปรียบเทียบ กลั่นแกล้งหรือด่าทอกัน แต่สำหรับคนที่ชอบเล่นโซเชียล อยากมีเพื่อนเยอะ ๆ อยากเป็นเน็ตไอดอล ก็ต้องเตรียมใจและเตรียมพร้อมรั บมือกับความไม่น่ารักของคนที่ เราไม่รู้จัก”
ยอมรับสิ่งที่เป็น พร้อมพัฒนาตัวเองดีกว่าเดิม
แม้หลายครั้งการบูลลี่จะเกิดขึ้ นเพราะความสนุกชั่ววูบหรื อความโกรธชั่วคราว แต่ผลที่ตามมาอาจมากมาย ดังนั้น การรู้จักรับมือกับการบูลลี่จึ งเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะอาจช่วยหลีกเลี่ยงบาดแผลทั้ งทางกาย ใจ และสังคม โดยคุณแพรี่ แนะนำว่า วิธีรับมือกับคนที่ใช้ความรุ นแรงบนโซเชียลคือ หากเป็นคนที่ไม่รู้จัก หรือไม่ใช่เพื่อนที่มีตัวตนจริง ๆ ก็ไม่จำเป็นต้องสนใจในสิ่งที่ เขาแสดงออก ที่สำคัญต้องไม่ตอบโต้ด้ วยความรุนแรง แม้ว่าจะเจอกับคนที่ใช้ความรุ นแรง
“ไม่มีวิธีการรับมือกับการบูลลี่ จากคนอื่นที่ทำให้รู้สึกว่ าเราพอใจ เพราะเราเปลี่ยนความคิดคนอื่ นไม่ได้ และทุกคนเกิดมาไม่มีใครสมบูรณ์ แบบไปทุกอย่าง ดังนั้น จึงต้องยอมรับในสิ่งที่เราเป็น แต่ต้องพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้ นมากกว่าเดิมบนพื้นฐานที่เป็นตั วเรา ต้องรักตัวเองให้มาก ๆ แม้เราเปลี่ยนโลกทั้งใบไม่ได้ สิ่งหนึ่งที่ทำได้คือเปลี่ยนวิ ธีคิดของตัวเอง คิดว่าเราก็มีความเพอร์เฟกต์หรื อดูดีในแบบของเรา ต้องมั่นใจในแบบของตัวเอง ไม่ต้องเลียนแบบใคร ทำอะไรแล้วรู้สึกมั่นใจมีความสุ ขก็ทำไป นี่คือวิธีการรับมือที่จะทำให้ การบูลลี่ของคนอื่นเบาลง อยากให้จำไว้ว่าคำพูดของคนอื่ นจะเบามากเมื่อเราพอใจในตัวเอง คำพูดเหล่านั้นแทบจะไม่มี ความหมาย แต่วันไหนที่ความพอใจของเราไปขึ้ นอยู่กับคนอื่น คำพูดของคนอื่นจะดังมาก”
ไม่เพิกเฉยเมื่อเพื่อนถูกบูลลี่ ช่วยสร้างสังคมน่าอยู่
คุณแพรี่ฝากทิ้งท้ายว่า “ไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนอื่ นจะไม่เข้าใจเรา เพราะบางครั้งเราก็ไม่เข้าใจตั วเอง หลายครั้งที่ตัดสินใจทำสิ่งใดก็ ไม่ได้เข้าใจในสิ่งนั้น และที่ตัดสินใจทำไปเพียงแค่ อยากเรียนรู้ แต่อาจจะผิดหรือถูกก็ได้ ซึ่งการที่เราต้องการเลือกใช้ชี วิตแบบไหนหรือทำอะไร ก็ไม่ต้องรอให้คนที่ไม่ได้มี บทบาทสำคัญในชีวิตเรามาอนุญาต ไม่เช่นนั้นเราคงไม่มีทางได้ใช้ ชีวิต ใครจะยอมรับได้หรือไม่ได้เป็ นเรื่องของเขา สิ่งที่เราต้องทำคือตัดสินใจว่ าอยากทำหรืออยากเป็นอะไร และเราเรียนรู้กับสิ่งนั้นอย่ างเต็มที่ นอกจากนี้ สิ่งที่อยากฝากน้อง ๆ เพิ่มเติม คือเมื่อเห็นเพื่อนถูกกลั่นแกล้ งรังแก ต้องไม่เพิกเฉย แต่ห้ามใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา และหากเราช่วยไม่ได้ให้พึ่งคุ ณครูหรือคนที่สามารถแก้ปัญหาได้ ต้องช่วยกันสร้างสังคมที่น่าอยู่ ”
ด้านน้องโชค-สุขสิทธิ์ หลิน เด็กไฟ-ฟ้า ปี 2 ศูนย์เรียนรู้ไฟ-ฟ้า ประชาอุทิศ เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรม ให้ความเห็นว่า “ได้ประโยชน์จากการเข้าร่วมกิ จกรรมครั้งนี้มาก เพราะเป็นคนหนึ่งที่บางครั้งก็ โดนเพื่อนบูลลี่เหมือนกัน แต่ผมเป็นคนที่ไม่คิดอะไรมาก ซึ่งการได้รับคำแนะนำถึงวิธี การรับมือในวันนี้ เชื่อว่าหากเจอปั ญหาจะสามารถนำไปปรับใช้ได้มากยิ่ งขึ้น และในบางครั้งเราก็ไปบูลลี่คนอื่ นโดยไม่รู้ตัวเหมือนกัน และการร่วมกิจกรรมเป็นการตอกย้ำ ให้รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา ทำให้ความคิดปรับเปลี่ยนไปบ้าง ในช่วงที่ผ่านมาบางที่เราไม่ เคยคิดเลยว่าต้องเจอกั บอะไรแบบนี้ พอมานั่งฟังก็คิดว่าเขารู้สึ กแบบไหน นอกจากตัวเราได้รับประโยชน์แล้ว ยังสามารถนำไปส่งต่อให้คนอื่ นได้ โดยตอนนี้ผมเรียนจิตวิทยาพร้ อมให้คำปรึกษากับคนอื่นอยู่แล้ว ก็จะนำสิ่งที่ได้รับไปให้คำปรึ กษาอื่น ๆ ด้วย”
ไฟ-ฟ้า โดย ทีทีบี มุ่งมั่นและตั้งใจเดินหน้าจุ ดประกายเยาวชนและชุมชน เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้ นอย่างยั่งยืน ติดตามกิจกรรมดี ๆ ต่อได้ที่ https://www.ttbfoundation.org
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
หน้าแรก » กิจกรรม
ข่าวในหมวดกิจกรรม ![]()
โบลท์ (Bolt) เดินหน้ายกระดับความปลอดภัย จัดกิจกรรม “โครงการรับ-ส่งปลอดภัยได้ (ใจ)ผู้ใช้บริการ” ให้ความรู้การปฐมพยาบาลแก่ผู้ขับขี่ทั่วประเทศ 13:24 น.
- โค้งสุดท้าย! 10 วัน.. กิจกรรมประกวดภาพถ่าย “ร้าน 7-Eleven ทั่วไทยในมุมมองที่คุณประทับใจ” 15:07 น.
- “สเก็ตเชอร์ส จัดกิจกรรมวิ่ง “SKECHERS RUNNING WORKSHOP 2025” ครั้งที่ 28 14:12 น.
- เซเว่น อีเลฟเว่น มอบเงินให้แก่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กว่า 2 ล้านบาท 11:31 น.
- "CPF เคียงข้างยามวิกฤต“ ชวนคนไทยส่งต่อพลังแห่งการให้ รพ.รามาธิบดี 12:42 น.