วันพฤหัสบดี ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2567 20:04 น.

ยานยนต์

โตโยต้า เดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจชุมชนไทยสู่ความยั่งยืน

วันเสาร์ ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563, 09.59 น.
โตโยต้า เดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจชุมชนไทยสู่ความยั่งยืน
ขยายผลการดำเนินงานโครงการ “โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์"
       
 
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ประกาศความสำเร็จในการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ OTOP และ SMEs ภายใต้โครงการ “โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์” ประจำปี 2563 จำนวน 6 ราย โดยได้นำองค์ความรู้ที่เกิดจากการทำธุรกิจของโตโยต้าทั่วโลกกว่า 75 ปี อาทิ ระบบการผลิตแบบโตโยต้า และหลักการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (ไคเซ็น) มาถ่ายทอดและร่วมปรับปรุง พร้อมทั้งติดตามผลการไคเซ็นด้วยตนเอง เพื่อยกระดับธุรกิจที่มีศักยภาพในการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ก้าวสู่การเป็น “ศูนย์การเรียนรู้โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์” ประจำภูมิภาค พร้อมเดินหน้าขยายผลโครงการสู่อีก 10 ธุรกิจ เพื่อเป็นรากฐานในการส่งมอบความรู้สู่ผู้ประกอบการทั่วประเทศต่อไป
       
“โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์” คือ โครงการนวัตกรรมสังคมของโตโยต้า ที่มุ่งเน้นการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจผ่านการสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานรากผ่านการพัฒนาศักยภาพให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน โดยตลอดระยะเวลากว่า 8 ปีที่ผ่านมา โตโยต้าได้ร่วมมือกับผู้แทนจำหน่ายฯ ในการเฟ้นหาธุรกิจที่มีความต้องการปรับปรุงธุรกิจ เพื่อส่งเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นพนักงานเกษียณอายุของโตโยต้าที่มีประสบการณ์ด้านระบบการผลิตแบบโตโยต้าและหลักการไคเซ็น เข้าไปช่วยเหลือธุรกิจชุมชนในลักษณะของการเป็น “พี่เลี้ยงทางธุรกิจ” โดยให้เจ้าหน้าที่ร่วมศึกษาถึงสาเหตุของปัญหา พร้อมนำองค์ความรู้ของโตโยต้า เข้าไปถ่ายทอดและปรับปรุงระบบการจัดการปัญหาของธุรกิจ เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าใจถึงหลักการแก้ปัญหาตามแนวปฏิบัติของโตโยต้าในทุกขั้นตอน และนำไปใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม
       
ทั้งนี้ โครงการโตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์มีการกำหนดผลสำเร็จในการถ่ายทอดองค์ความรู้ โดยวัดผลผ่าน 5 ดัชนี  ชี้วัดทางธุรกิจ อันได้แก่ ประสิทธิผลการผลิต คุณภาพ (ลดของเสียที่เกิดจากการผลิต) การส่งมอบ การจัดการสินค้าคงคลัง และ การบริหารต้นทุนในกระบวนการ โดยใช้การประยุกต์แนวทางการนำองค์ความรู้มาใช้ให้เหมาะสมกับบริบทและความพร้อมของธุรกิจชุมชนนั้นๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินงานปรับปรุงต่อได้ด้วยตนเองอย่างมืออาชีพ สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรม ธุรกิจสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน อันจะเป็นการสร้างการจ้างงานในท้องถิ่น สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ตลอดจนเสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่เศรษฐกิจฐานรากของประเทศไทยต่อไป
       
โดยในปีนี้ บริษัทฯ ได้ทำการส่งมอบโครงการฯ ที่ผ่านกิจกรรมการปรับปรุงธุรกิจ ระหว่างปี 2562-2563 แก่ผู้ประกอบการ 6 ราย โดยมีรายละเอียดธุรกิจ และ ผลสำเร็จในการปรับปรุงดังนี้
 ลำดับ ธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ การปรับปรุงธุรกิจ
1 บริษัท ลัลณ์ลลิลไบโอเทค จำกัด จ.สระบุรี ผลิตและจำหน่าย เชื้อเห็ด ผลิตภาพ
      > ปรับสายการผลิตในกระบวนการการกรอกข้าวฟ่างใหม่
ผลผลิตเพิ่มขึ้น 2,000 ขวด/วัน รายได้เพิ่มขึ้น 364,000 บาท / เดือน การจัดการสินค้าคงคลัง
      > สร้างมาตรฐานการจัดการวัตถุดิบข้าวฟ่าง ลดต้นทุนจมได้กว่า 140,000 บาท
 
2 บริษัท ดีไลท์ 88 จํากัด จ.อุบลราชธานี ก๋วยจั๊บกึ่งสำเร็จรูป
จั๊บจั๊บ ผลิตภาพ    > ปรับปรุงกระบวนการอบเส้น เพื่อลดเวลาการอบ > ปรับสายการผลิตในกระบวนการบรรจุเส้นใส่ซอง โดยลดงานไม่จำเป็น
 
 
ผลผลิตเพิ่มขึ้น 5,824 ซอง / เดือน
คุณภาพ
 
   > สร้างมาตรฐานในกระบวนการการปั้นเส้นให้มีความสม่ำเสมอ
 
   > ปรับปรุงขั้นตอนการบรรจุซอง ลดความสูญเสียในกระบวนการ  ลดของเสียในกระบวนการผลิตได้ 65,442 บาท / เดือน
 
 
3 บริษัท แปลนครีเอชั่นส์ จำกัด จ.ตรัง ของเล่นไม้  Plantoy การจัดการสินค้าคงคลัง
     
> สร้างมาตรฐานการจัดการสินค้าคงคลังโดยใช้ระบบ Just in time  ทั้งส่วนของการวางแผนการขาย-ผลิต และ การจัดเตรียมวัตถุดิบ
 
ลดจำนวนสินค้าคงคลังและต้นทุนในกระบวนการ ลงได้ 18.81 ล้านบาท
 
4 กลุ่มหมอนฟักทอง อสม. จ.มหาสารคาม หมอนสุขภาพ ผลิตภาพ
     
> ปรับเรียบกระบวนการ ช่วยลดการรองาน ผลิตสินค้าหมอนรองคอได้เพิ่ม จาก 128 ชิ้น/วัน เป็น 160 ชิ้น/วัน (25%)
 
การส่งมอบ
     
> ปรับปรุงกระบวนการขนส่งสินค้า โดยกำหนดงานมาตรฐานที่ออกแบบให้ สามารถใช้ทรัพยากรในการขนส่งต่อรอบได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ช่วยลด
 
ต้นทุนการขนส่งลง 34% ลดต้นทุน 2.44 บาท / ชิ้น เพิ่มกำไร 60,725 บาท / เดือน
 
5 บริษัท สันติภาพ(ฮั่วเพ้ง 1958) จำกัด จ.ชุมพร ปลากระป๋อง ตรานกพิราบ ผลิตภาพ
     
> ลดความสูญเสียในสายการผลิต และกระบวนการทำงานที่ไม่จำเป็น ลดความสูญเสียในสายการผลิตได้ 20%
 
6 หจก.สักสยามอุตสาหกรรม จ.สุพรรณบุรี กรอบรูปไม้ การจัดการสินค้าคงคลัง
     
> ถ่ายทอดหลักการบริหารสินค้าคงคลังแบบ Just In Time แยกประเภทสินค้า เคลื่อนไหวเร็ว-ช้า-ไม่เคลื่อนไหว
     
> แนะแนวทางการจัดการสินค้าเกินจำเป็นเพื่อลดต้นทุนจม ลดจำนวนสินค้าคงคลังและต้นทุนในกระบวนการ ลงได้กว่า 2 ล้านบาท
      
นอกจากนี้ ในปี 2563-2564 บริษัทฯ ได้ขยายผลโครงการฯ อย่างต่อเนื่องไปยังอีก 10 ธุรกิจ รวมถึงมีเป้าหมายที่จะผลักดันและยกระดับธุรกิจที่มีศักยภาพสู่การเป็น “ศูนย์การเรียนรู้โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์”  ให้ครบใน 18 จังหวัดตามแผนยุทธศาสตร์ทางการค้าของกระทรวงมหาดไทย ภายในปี 2565 เพื่อเป็นศูนย์กลางในการส่งต่อประสบการณ์การปรับปรุงธุรกิจแก่ผู้ประกอบการทั่วประเทศต่อไป 
       
ทั้งนี้ บริษัทฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการ “โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์” จะมีส่วนช่วยขับเคลื่อนและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ OTOP และ SMEs ไทย ให้สามารถพึ่งพาตนเอง ตลอดจนสามารถแบ่งปันประสบการณ์ในการพัฒนาธุรกิจแก่ผู้ประกอบการรายอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ  อันจะนำมาซึ่งประโยชน์สูงสุดต่อการสร้างเสถียรภาพแก่เศรษฐกิจฐานรากของประเทศให้เติบโตอย่าง มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน สอดคล้องกับความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ที่จะขับเคลื่อนความสุขสู่สังคมไทยต่อไป
“โตโยต้า ขับเคลื่อนความสุข”