วันพุธ ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2567 23:33 น.

เศรษฐกิจ

ศูนย์ Elderly Day Careการรับมือสังคมผู้สูงอายุ

วันพฤหัสบดี ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2563, 09.25 น.


ศูนย์ Elderly Day Careการรับมือสังคมผู้สูงอายุ




ผู้สูงอายุคือโจทย์ใหญ่ของการเคหะแห่งชาติ เพราะโครงการที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติมีจำนวนผู้สูงอายุล้อไปกับอัตราผู้สูงอายุของประเทศ โดยปี 2565 จำนวนผู้สูงอายุไทยจะมีสัดส่วน 20% ของประชากรทั้งประเทศ เป็นสังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์แล้ว

 

ศูนย์ดูแลและฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุ (Elderly Day Care Center) ในโครงการบ้านเอิ้ออาทรในเขตพื้นที่จังหวัดนนทบุรี จึงเป็นคำตอบของโจทย์เรื่องผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดี เพราะมีด้วยกันถึง 8 แห่ง ประกอบด้วย บ้านเอื้ออาทรรัตนาธิเบศร์ (ท่าอิฐ) บ้านเอื้ออาทรนนทบุรี (วัดกู้ 2) บ้านเอื้ออาทรประชานิเวศน์ บ้านเอื้ออาทรบางบัวทอง 1 บ้านเอื้ออาทรบางบัวทอง 2 (บางกรวย-ไทรน้อย) บ้านเอื้ออาทรนนทบุรี (บางใหญ่ซิตี้) บ้านเอื้ออาทรนนทบุรี (แฟลต) บ้านเอื้ออาทรนนทบุรี (กันตนา) โดยมีบ้านเอื้ออาทรรัตนาธิเบศร์ (ท่าอิฐ) เป็นต้นแบบนำร่อง เป็นศูนย์แห่งแรกของรัฐในประเทศไทย เริ่มขับเคลื่อนตั้งแต่ช่วงปี 2559-2562 จนเห็นผลเป็นรูปธรรม การเคหะแห่งชาติจึงต่อยอดขยายเพิ่มอีก  7 แห่ง โดยเปิดดำเนินการในปีนี้ทั้งหมด

 

 “นอกจากบูรณาการหลายหน่วยงานทำงานร่วมกันแล้ว การฝึกอบรมเพื่อผู้ดูแลผู้ป่วย (Care Giver) จะต้องผ่านการอบรมจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญที่ได้รับการอบรมจากประเทศญี่ปุ่น เพราะญี่ปุ่นเป็นสังคมผู้สูงอายุมาก่อน จึงมีความชำนาญในการดูแลผู้สูงอายุ” นางมณฑา อุ่นวิเศษ เล่า นางมณฑาเป็นทั้งกรรมการชุมชนบ้านเอื้ออาทรรัตนาธิเบศร์ (ท่าอิฐ) และอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) ที่ได้รับเลือกเป็นผู้ดูแลผู้ป่วย (Care Giver)ผู้ป่วยสูงอายุมีทั้งช่วยเหลือตัวเองได้ ช่วยเหลือตัวเองได้บางส่วน และเป็นผู้ป่วยติดเตียง การเดินทางไปโรงพยาบาลพระนั่งเกล้าจึงไม่ค่อยสะดวก ทั้งในด้านค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และการใช้เวลาค่อนข้างนานกับการรอตรวจ จนทำให้ไม่อยากรับการรักษาไปเลยก็มี

 

“พอมีศูนย์ดูแลและฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุ ปัญหาเหล่านี้ก็หมดไป ทุกคนสะดวกเดินทางมาในระยะเวลาสั้นๆ มีคนคอยช่วยเหลือ มาถึงก็ได้พูดจาทักทายเพื่อนร่วมวัย จิตใจของผู้ป่วยก็ดีขึ้น ไม่เครียด ใม่ซึมเศร้า ไม่ติดบ้าน หลายคนฟื้นตัวเร็ว บางคนเป็นอัมพฤกษ์ครึ่งซีกก็ยังฟิ้นฟูสำเร็จ สามารถออกไปทำงานได้ ศูนย์แห่งนี้จึงถือเป็นส่วนสำคัญของชุมชน นอกจากนี้ยังลดภาระของโรงพยาบาลพระนั่งเกล้าไปด้วย”สำหรับผู้ดูแล (Care Giver) อย่างเธอเป็นจิตอาสาไม่รับค่าคอบแทน แต่สิ่งที่ตอบแทนที่ได้รับ คือความสุขใจที่เห็นผู้ป่วยสูงอายุฟื้นฟูตัวเองได้ ในทางพุทธศาสนาคือการได้ทำบุญและรับผลบุญทางใจ

 

ศูนย์ดูแลและฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุบ้านเอื้ออาทรรัตนาธิเบศร์ (ท่าอิฐ) ยังให้บริการผู้ป่วยสูงอายุของทั้งตำบลบางรักน้อย อ.เมือง จ.นนทบุรี อีกด้วย
ในขณะนางวีณา ชายิ้มวงษ์ ประธานชุมชนบ้านเอื้ออาทรนนทบุรี (วัดกู้ 2) เล่าว่า แรกที่การเคหะแห่งชาติประกาศขยายศูนย์ดูแลและฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุ “พอทราบก็เสนอตัวเองทันที เพราะคิดว่าเป็นเรื่องที่ดีที่จะมีศูนย์ดูแลที่นี่”

 

ในช่วงแรก หลายคนยังไม่เข้าใจ แต่พอสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรีนำเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์มาให้ที่ศูนย์ชุมชนการเคหะบ้านเอื้ออาทรวัดกู้ 2 เท่านั้น “ทุกคนตัดสินใจรับเลย เพราะรู้ว่าทำจริง เปิดจริง ตอนนี้เปิดให้บริการมาประมาณ 2-3 เดือนแล้ว”วีณาก็ไม่ต่างจากมณฑากับการมีศูนย์ดูแลและฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุ คือความสุขทางใจที่ได้มีส่วนช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ทุกข์ทรมานได้รับการดูแลและฟื้นฟูสุขภาพขึ้นมาผู้สูงอายุในบ้านเอื้ออาทรนนทบุรีทั้งหมด มีหลักประกันสุขภาพอย่างเป็นรูปธรรมด้วยศูนย์ดูแลและฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุ 8 แห่งในจังหวัดแรกและจังหวัดเดียวของประเทศไทย