เศรษฐกิจ
"เอนไซม์ล้างผัก"ผลิตภัณฑ์เพื่อความปลอดภัยของคนไทย
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
เปิดใจผู้ริเริ่มงานวิจัย "เอนไซม์สลายโครงสร้างทางเคมี" สู่ผลิตภัณฑ์ล้างผัก ไร้สารตกค้างในน้ำ ตอบโจทย์ตลาดบริโภคปลอดภัย เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม สร้างมูลค่าให้ผู้ประกอบการ
วันที่ 28 มกราคม 2564 ศ.ดร อลิสา วังใน ผู้ริเริ่มผลงานวิจัยผลิตภัณฑ์ชีวภาพประเภทเอนไซม์ และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทไบโอมฯ เปิดเผยว่า ในฐานะของนักวิทยาศาสตร์ ถือเป็นหน้าที่ และความท้าทาย ในการทำงานวิจัย คิดค้น พัฒนานวัตกรรมใหม่ๆเพื่อแก้ปัญหาความเสี่ยงของผู้คนในสังคมที่ได้รับสารเคมีจากการบริโภค โดยเอนไซม์ชีวภาพกำจัดสารพิษตกค้างในผักผลไม้เป็นผลงานที่ได้ทำการวิจัยจากความเชี่ยวชาญในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ รวมทั้งได้รับการเสนอแนะ สนับสนุนและผลักดันจากหลายภาคส่วนจนทำให้ผลงานการวิจัยชิ้นได้นำไปสู่การทำเป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้สำเร็จ
ศ.ดร อลิสา กล่าวด้วยว่า ผลิตภัณฑ์นี้เป็นสูตรผสมของสารธรรมชาติไม่มีสารเคมีอันตรายและหรือสารก่อฟองกลุ่มซัลเฟต จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีเอนไซม์ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่มีประสิทธิภาพสูงในการสลายโครงสร้างทางเคมีของด้วยปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส ไม่ทำให้สารเคมีตกค้างในน้ำกลับไปปนเปื้อนบนผักผลไม้ได้อีก ต่างจากในปัจจุบัน ที่เวลาเราล้างผัก ผลไม้ พวกสารเคมี ยาฆ่าแมลงที่ใช้กันอยู่ ทั้งกลุ่มออแกโนฟอสเฟต คาร์บาเมต และไพรีทรอยด์ จะยังตกค้างอยู่ในน้ำล้างผักที่ยังอยู่ในภาชนะและอาจกลับไปปนเปื้อนผักผลไม้จนเป็นอันตรายได้อีก
ดังนั้น ด้วยคุณสมบัติในการสลายโครงสร้างทางเคมีของยาฆ่าแมลงและลดความเป็นพิษของสารอันตรายตกค้างจึงมีความที่โดดเด่น และแตกต่างจากผลิตภัณฑ์อื่นในท้องตลาด ด้วยประสิทธิภาพที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ผลิต ตั้งแต่กลุ่มเกษตรกร ธุรกิจแปรรูปผลผลิตเกษตร ในการเพิ่มมูลค่าผลผลิตเกษตรในตลาดอาหารปลอดภัยได้ เช่นเดียวกับ ซุปเปอร์มาร์เก็ต โมเดิร์นเทรด โรงเรียน โรงพยาบาล โรงแรม ที่นำผลิตภัณฑ์ไปใช้ ก็จะสร้างความเชื่อมั่นกับลูกค้า ส่งผลต่อการสร้างโอกาสในการแข่งขันเชิงธุรกิจ ผลิตภัณฑ์นี้ยังตอบสนองความต้องการโดยตรงกับกลุ่มผู้บริโภคทั่วไปที่ใส่ใจสุขภาพที่มีอัตราการเติบโตสูงมากในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม บริษัท ไบโอม จำกัด บริษัท ซึ่งได้วิจัยและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ดำเนินธุรกิจบนฐานองค์ความรู้ของนักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ บมจ.บีบีจีไอ (BBGI) ในโครงการผลิต “ผลิตภัณฑ์ชีวภาพประเภทเอนไซม์” ไปก่อนหน้านี้ เพื่อร่วมกันวางกลยุทธ์ของการต่อยอดเทคโนโลยีไปสู่การผลิตในระดับอุตสาหกรรม โดยบีบีจีไอมีบทบาทเป็นผู้วางแผนการผลิตระดับอุตสาหกรรม การตลาด และการจัดจำหน่าย ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของโลกที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ (Modern Biotechnology) เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ชีวภาพและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพประเภทเอนไซม์ในรูปแบบของผลิตภัณฑ์เพื่อการล้างผักและผลไม้ที่จะช่วยสร้างความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ลดการใช้น้ำในการล้างผักและผลไม้ รวมทั้งลดความเป็นพิษของสารฆ่าแมลงที่ปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมด้วย
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่