วันพฤหัสบดี ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 04:44 น.

เศรษฐกิจ

ขร.ตรวจทางคู่สายใต้ นครปฐม-ชุมพร ได้ใช้ธ.ค.66 พร้อมจัดกิจกรรม “สถานีดีพร้อม”

วันศุกร์ ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2565, 18.18 น.


ขร.ตรวจทางคู่สายใต้ นครปฐม-ชุมพร ได้ใช้ธ.ค.66 พร้อมจัดกิจกรรม “สถานีดีพร้อม”

 


       นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงนครปฐม-ชุมพร ว่าโครงการรถไฟทางคู่สายใต้ (ช่วงนครปฐม - ชุมพร) เป็นโครงการก่อสร้างในระยะที่ 1 ซึ่งมีสถานะความคืบหน้า ณ เดือนมีนาคม 2565  ดังนี้ 1) ช่วงนครปฐม - หัวหิน ระยะทาง 169 กม. สัญญาที่ 1 ช่วงนครปฐม - หนองปลาไหล คืบหน้า 97.087% ล่าช้ากว่าแผน1.206% สัญญาที่ 2ช่วงหนองปลาไหล - หัวหิน คืบหน้า 94.828% ล่าช้ากว่าแผน 0.166% ส่วนสัญญาที่ 3 ช่วงหัวหิน - ประจวบฯ ระยะทาง 84 กิโลเมตร คืบหน้า 99.94% ช่วงประจวบฯ - ชุมพร ระยะทาง 167 กม. สัญญาที่ 1 ช่วงประจวบฯ - บางสะพานน้อย คืบหน้า 85.073% สัญญาที่ 2 ช่วงบางสะพานน้อย - ชุมพร คืบหน้า 87.128% สำหรับสัญญาที่ 6 งานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคมแผนงานสะสม 73.233% ผลงานสมสะสม27.655% โดยล่าช้ากว่าแผน 45.578% โดยกระทรวงคมนาคม จะเร่งรัดการก่อสร้างให้แล้วเสร็จทั้งหมดภายในปี 2565 เพื่อพร้อมเปิดให้บริการแก่ประชาชนได้ต่อไป โดยคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ภายในเดือนธันวาคม 2566
 

 

       “ที่ผ่านโครงการก่อสร้างถือว่าล่าช้ามาประมาณ1ปีกว่า เนื่องจากประสบปัญหาการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 หรือโควิด19 ส่งผลให้ต้องปิดแค้มป์คนงานก่อสร้าง ซึ่งเป็นมาตราการของกรมบัญชีกลางที่ให้สิทธิ์ขยายระยะเวลาตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 หรือ พรก.ฉุกเฉิน ทั้งนี้ ถือว่ายังอยู่ตามเกณฑ์ที่กำหนดแม้ว่าผู้เหมาจะดำเนินการล่าช้าก็ไม่มีการปรับแต่อย่างใด” นายพิเชฐ กล่าว

 

        นอกจากนี้ กรมการขนส่งทางรางยังได้ดำเนินการโครงการศึกษาจัดทำระบบประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานการขนส่งทางรางในแต่ละสายทางของประเทศ เพื่อยกระดับระบบราง ของประเทศไทยให้มีมาตรฐานเทียบเท่าสากล ส่งเสริมให้ระบบราง เป็นโครงข่ายการเดินทางและขนส่งหลักของประเทศ และส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการเดินทางระบบรางในระดับภูมิภาคต่อไปในอนาคต ในการดำเนินโครงการได้มีการจัดทำตัวชี้วัดที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อใช้ในการกำกับติดตาม ระบบรางของประเทศไทยให้มีคุณภาพการบริการที่ดีและมีความปลอดภัย โดยมีตัวชี้วัดระดับหน่วยงานกำกับดูแลระบบขนส่งทางราง (Regulatory Indicator :RI) โดยแบ่งเป็น 5 ด้าน คือประสิทธิภาพของระบบ /ประสิทธิภาพด้านการบริการ /ประสิทธิภาพด้านการดำเนินงาน /ความปลอดภัยในการดำเนินงาน /และด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งจัดทำระบบกำกับประเมินประสิทธิภาพระบบรางที่สามารถใช้งานได้สะดวกไม่เพิ่มภาระแก่หน่วยงานที่ให้บริการระบบขนส่งทางราง

 

        อย่างไรก็ตาม กรมการขนส่งทางรางได้จัดกิจกรรมประกวด “สถานีดีพร้อม” ภายใต้แนวคิด “กรมรางสร้างสุข ด้วยคุณภาพดีพร้อม DRT creates happiness of stations” เพื่อยกระดับมาตรฐานการให้บริการขนส่งทางรางสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาระบบรางให้เป็นแกนหลักในการเดินทางและการขนส่งของประเทศ โดยมีสถานีรถไฟเข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 43 สถานี แบ่งเป็น กลุ่มสถานีรถไฟฟ้าในเมืองและชานเมือง จำนวน 28 สถานี และกลุ่มสถานีรถไฟ ทั่วประเทศ จำนวน 15 สถานี โดยจะมีการประเมินโดยรวมทั้งหมด 8 ด้านประกอบไปด้วย

 

         ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) เช่น การให้บริการที่จอดรถ ทางเข้า - ออก ในการรองรับ การใช้บริการ การจำหน่ายบัตรโดยสาร 
/ด้านการเชื่อมต่อ /ด้านข้อมูลการเดินทางและประชาสัมพันธ์/ด้านความปลอดภัย /ด้านความพร้อมของสิ่งอำนวยความสะดวก/ ด้านการออกแบบตามหลัก /ด้านการให้บริการ /และด้านสุนทรียภาพ ซึ่งในช่วงเดือนเมษายน - มิถุนายน 2565 นี้ จะมีการตรวจประเมินคุณภาพทุกสถานีที่เข้าร่วมประกวดเพื่อคัดเลือกอย่างเข้มข้น หลังจากนั้นจะมีการตัดสินการประกวดและมอบรางวัลในเดือนกรกฎาคม 2565 ต่อไป