เศรษฐกิจ
กนอ.ผนึก 4 พันธมิตร กำจัดสารทำความเย็น ด้วยระบบ “Fluidized Bed”
วันจันทร์ ที่ 05 ธันวาคม พ.ศ. 2565, 21.59 น.
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

กนอ.ผนึก 4 พันธมิตร กำจัดสารทำความเย็น ด้วยระบบ “Fluidized Bed”
กนอ.จับมือ 4 พันธมิตร กำจัดสารทำความเย็น ด้วยระบบ “Fluidized Bed”ระบุเดินหน้าสู่ความเป็ นกลางทางคาร์บอน - ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศู นย์

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ร่วมกับ กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กรมศุลกากร บริษัท เวสท์ แมนเนจเม้นท์ สยาม จำกัด และบริษัท บางปู เอนไวรอนเมนทอล คอมเพล็กซ์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ Dowa Eco Systems จากประเทศญี่ปุ่น เผาทำลายสารทำความเย็นที่จับกุ มได้จากการลักลอบนำเข้ าประเทศกว่า 10,000 ถัง สอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศ เพื่อเดินหน้าสู่ความเป็ นกลางทางคาร์บอน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศู นย์
นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่ งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า กนอ.ได้รับการประสานจากกรมศุ ลกากร ผ่านกรมโรงงานอุตสาหกรรม ตั้งแต่ปี 2558 เรื่อยมา เพื่อขอความอนุเคราะห์ใช้ เตาเผาซึ่งอยู่ในการกำกับดูแล ของ กนอ. โดยเป็นเตาเผาระบบฟลูอิดไดซ์เบด (Fluidized Bed) ที่ กนอ.ได้รับความช่วยเหลือด้ านเครื่องจักรและอุปกรณ์ เตาเผาพร้อมระบบผลิตไอน้ำภายใต้ โครงการอนุรักษ์พลังงานและพิทั กษ์สิ่งแวดล้อมจากองค์กรพั ฒนาพลังงานใหม่และเทคโนโลยีอุ ตสาหกรรม หรือ NEDO แห่งประเทศญี่ปุ่น และบริหารโดยบริษัท เวสท์ แมนเนจเม้นท์ สยาม จำกัด ภายใต้ชื่อ โครงการบางปู เอนไวรอนเมนทอล คอมเพล็กซ์ หรือ BPEC เพื่อเผาทำลายสารทำความเย็นที่ กรมศุลกากรจับกุมได้ ซึ่งมีปริมาณมากกว่า 10,000 ถัง ซึ่ง กนอ.ได้อนุญาตให้บริษัทฯ เผาสารทำความเย็นดังกล่าวภายใต้ เงื่อนไขที่ต้องควบคุมประสิทธิ ภาพในการเผาทำลายให้ไม่น้อยกว่า 99.99% ทั้งนี้ บริษัท โดวะ อีโค่ ซิสเต็มส์ จำกัด และ บริษัท เวสท์ แมเนจเม้นท์ สยาม จำกัด ได้พัฒนาต่อยอดและถ่ ายทอดเทคโนโลยีที่มี มาตรฐานจากประเทศญี่ปุ่นมาดำเนิ นการที่ประเทศไทยจนประสบผลสำเร็ จ
“การเผาทำลายสารทำความเย็นที่ผ่ านมาทั้งหมดจนถึงครั้งนี้ รวมประมาณ 147 ตัน ซึ่งในการเผาวันนี้(30 พ.ย.65) เพียงวันเดียวเราช่วยลดการปล่ อยก๊าซเรือนกระจกได้แล้วกว่า 1.2 ล้านตันของคาร์บอน เกินครึ่งของเป้าหมายปี 2566 ที่ต้องลดการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกให้ได้ 2 ล้านตันของคาร์บอน ทั้งๆ ที่ยังไม่ผ่านไตรมาส 1 ด้วยซ้ำ ถือเป็นความร่วมมือที่สำคั ญมากและต่างชาติก็ให้ความชื่ นชมว่าเป็นครั้งแรกของโลก เพราะยังมีเพียงไม่กี่ที่ทั่ วโลก เช่น ไทย สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และอาจจะมีประเทศญี่ปุ่นด้วย ที่สำคัญสอดคล้องกับเป้ าหมายของประเทศไทยในการก้าวสู่ ความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality) เพื่อนำไปสู่การปล่อยก๊าซเรื อนกระจกเป็นศูนย์ในที่สุด”นายวี ริศ กล่าว
นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่า ตั้งแต่ ปี 2558 มีการทดลองเผาสารทำความเย็นด้ วยการควบคุมประสิทธิ ภาพในการเผาทำลายให้ไม่น้อยกว่า 99.99% ซึ่งในที่สุดการกำจั ดสารทำความเย็นอย่างเป็นมิตรต่ อสิ่งแวดล้อมก็เกิดขึ้นจริงแล้ว โดยที่บริษัทฯ สามารถรับสารทำความเย็นที่คงค้ างทั้งหมดของกรมศุลกากร จำนวนมากกว่า 10,000 ถัง มาเผาทำลายที่เตาเผาครั้งนี้ โดยความร่วมมือของจั ดการสารทำความเย็นของหลายหน่ วยงานถือเป็นต้นแบบที่แท้จริ งในการจัดการสารทำความเย็ นในประเทศไทยอย่างถูกต้ องตามมาตรฐาน สามารถลดการปลดปล่อยก๊าซเรื อนกระจกที่ก่อให้เกิดสภาวะโลกร้ อนได้มากกว่า 1.2 ล้านตันของคาร์บอน
อย่างไรก็ตามโครงการนี้ ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่งเนื่ องจากได้รับการสนับสนุนจากทุ กภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ที่ช่วยเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และกระตุ้นให้เกิดการตระหนักถึ งความจำเป็นในการร่วมมือกันหาวิ ธีในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรื อนกระจกซึ่งก่อให้เกิ ดสภาวะโลกร้อนเพื่อเป็นการส่งต่ อโลกที่น่าอยู่ให้กับลู กหลานและคนรุ่นต่อไป
นายถวัลย์ รอดจิตต์ ผู้อำนวยการกองสื บสวนและปราบปราม กรมศุลกากร กล่าวว่า โครงการนี้เกิดขึ้นจากความร่ วมมือของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้ อง เนื่องจากกรมศุลกากรมี สารทำความเย็น หรือสารฟลูออโรคาร์บอนที่จับกุ มได้จากการลักลอบนำเข้าอย่างผิ ดกฎหมายอยู่จำนวนมากกว่า 130 ตัน หรือมากกว่าหมื่นถัง ซึ่งการทำลายสารทำความเย็นนี้ต้ องดำเนินการอย่างถูกวิธี จึงได้หารือร่วมกันเพื่อทำให้ เกิดโครงนี้ขึ้น เริ่มจากการส่งมอบสารทำความเย็ นในกำกับดูแลให้แก่บริษัท เวสท์ แมเนจเม้นท์ สยาม จำกัด โดยมีพิธีเปิดโครงการ ณ กรมศุลกากร เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2565 และส่งมอบแล้วเสร็จ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งบริษัท เวสท์ แมเนจเม้นท์ สยาม จำกัด ได้ดำเนิ นการเผาทำลายสารทำความเย็นดั งกล่าวอย่างถูกวิธี โดยคาดการณ์ว่าจะใช้เวลาดำเนิ นการเผาทำลายสารทำความเย็นทั้ งหมดประมาณ 18 เดือน
ด้านนายยาซุฮารุ ยะใน ประธานกรรมการ บริษัท Dowa Eco systems จำกัด (บริษัทโดวะ อีโคซิสเต็ม จำกัด) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ บริษัท เวสท์ แมเนจเม้นท์ สยาม จำกัด และ บริษัทบางปู เอนไวรอนเมนทอล คอมเพล็กซ์ จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯ ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เห็ นความสำเร็จเป็นรูปธรรมของการจั ดการสารทำความเย็ นในประเทศไทยให้เป็ นไปตามมาตรฐานสากล ด้วยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทั้งการนิคมอุตสาหกรรมแห่ งประเทศไทย กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมศุลกากร และพันธมิตรในทุกภาคส่วน DOWA Eco Systems Ltd. โดยการสนับสนุนจากกระทรวงสิ่ งแวดล้อมญี่ปุ่นจะอุทิศตนเพื่ อช่วยพัฒนามาตรฐาน เทคโนโลยี และขีดความสามารถในการจั ดการขยะของประเทศไทยให้ทัดเที ยมสากลหรือดียิ่งขึ้นอยู่เสมอ สำหรับมาตรการด้านการเปลี่ ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเราจะไม่เพี ยงแต่จำกัดการปล่อย CO2 ของเราเท่านั้น แต่เราจะรับผิดชอบจัดหาวัสดุ และชิ้นส่วนเพื่อเพิ่มประสิทธิ ผลของการประหยัดพลังงาน และพัฒนาเทคโนโลยี ในการทำลายสารทำความเย็น Freon ในเอเชีย เพื่อให้สามารถบรรลุเป้ าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยื นเพื่อนำไปสู่การปล่อยก๊าซเรื อนกระจกเป็นศูนย์ หรือ net zero emission
บริษัท บางปู เอนไวรอนเมนทอล คอมเพล็กซ์ จำกัด มีการบริหารจัดการของเสี ยจากภาคอุตสาหกรรมเพื่อนำมากำจั ดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และสามารถนำความร้อนมาใช้ ประโยชน์ในการผลิตไอน้ำ รวมถึงผลิตไฟฟ้าได้ ปัจจุบันสามารถจัดการได้ทั้ งของเสียอันตรายและไม่อันตราย รวมถึงสารทำความเย็นด้วย นอกจากนี้ ยังศึกษาและพัฒนาการจัดการไฮบริ ดแบตเตอรี่จนสามารถดำเนินการติ ดตั้งเตาเผาสำหรับจัดการไฮบริ ดแบตเตอรี่ขึ้นเป็นแห่ งแรกในประเทศไทยอีกด้วย
สำหรับเตาเผาฟลูอิดไดซ์เบด เป็นระบบเตาเผาที่ใช้ทรายเป็นตั วกลางในการนำความร้อน โดยหลั กการในการเผาทำลายสารทำความเย็ นจะเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการจั ดเก็บสารทำความเย็นจากอุปกรณ์ต่ างๆ เช่น แอร์ ตู้เย็น เครื่องทำความเย็น ระบบทำความเย็นในรถยนต์ โดยจะดูดสารทำความเย็นใส่ไว้ ในถังเก็บ ก่อนที่จะส่งมากำจัดที่เตาเผา ก๊าซร้อนที่เกิดขึ้นจากห้ องเผาจะถูกส่งไปยังหม้อไอน้ำ (Boiler) เพื่อผลิตไอน้ำ ก่อนจะส่งต่อเข้าสู่ระบบบำบั ดมลพิษทางอากาศของเตาเผา ด้วยการควบคุมอัตราการป้อนสารที่ กำหนด จะทำให้เตาเผาสามารถกำจั ดสารทำความเย็นได้มากกว่า 99.99% สามารถตรวจวัดได้จากอั ตราการระบายมลพิษทางอากาศที่ปล่ องระบายอากาศของโครงการ ทั้งนี้ เตาเผาฟลูอิดไดซ์เบด สามารถเผาของแข็งได้ประมาณ 150 ตันต่อวัน และเผาของเหลวได้ประมาณ 123 ตันต่อวัน
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่