เศรษฐกิจ
หนุน “Smart Grid” ด้วย “Smart Energy” ชูโซลาร์และแบตเตอรี่ ช่วยระบบไฟฟ้าแม่ฮ่องสอนมั่นคง
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

หนุน “Smart Grid” ด้วย “Smart Energy”
ชูโซลาร์และแบตเตอรี่ ช่วยระบบไฟฟ้าแม่ฮ่องสอนมั่นคง
หากใครเคยไปเที่ยวจังหวัดแม่ฮ่
แม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดที่มี
“บนพื้นที่ทั้งหมด 45 ไร่ เราใช้พื้นที่ 40 ไร่ในการติดตั้งโซลาร์ฟาร์ม ขนาดกำลังผลิต 3 เมกะวัตต์ อีกแห่งหนึ่ง ที่มาพร้อมแบตเตอรี่ 4 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นแบตเตอรี่ชนิดลิเธียมไอออนรุ่นใหม่ ไม่ปล่อยไอกรดและไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม การที่เลือกผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนด้วยโซลาร์ฟาร์ม เป็นเพราะสภาพพื้นที่แม่ฮ่องสอนไม่เหมาะสมกับการติดตั้งกังหันลม ส่วนพลังน้ำนั้นมีอยู่แล้ว เมื่อมีพื้นที่โล่งเป็นที่ราบ มีแสงแดดในระดับความเข้มที่เหมาะสม และอยู่ติดกับพื้นที่เดิมของโรงไฟฟ้าดีเซลที่มีความพร้อมของระบบส่ง จึงเหมาะแก่การทำโซลาร์ฟาร์มไว้เสริมการใช้ไฟฟ้าของชาวแม่ฮ่องสอน และยังมีแบตเตอรี่ไว้เก็บไฟฟ้าเพื่อจ่ายไฟฟ้าในยามไฟฟ้าตกไฟฟ้าดับ เสริมการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำและโรงไฟฟ้าดีเซลได้ เพื่อจ่ายไฟฟ้าให้กับอาคารสถานที่ราชการ โรงพยาบาล ที่มีความสำคัญและความจำเป็น” นายอนุศักดิ์ จันทคราม หัวหน้าโครงการพัฒนาโครงการนำร่องการพัฒนาสมาร์ทกริด กฟผ. เล่าให้เห็นภาพ
แผงโซลาร์เซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ กว่า 5,500 แผง เริ่มติดตั้งตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2565 ปัจจุบันแล้วเสร็จและเดินเครื่องจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2566 ซึ่งก่อนการเริ่มงานโซลาร์ฟาร์ม ทางโครงการฯ ได้เตรียมความพร้อมด้านสาธารณูปโภคต่าง ๆ ทั้งการปรับพื้นที่เดิมที่เคยรกร้าง สร้างถนน สะพาน การระบายน้ำ ก่อสร้างบ่อตกตะกอน บ่อกักเก็บน้ำเสีย เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อชุมชน และปลูกต้นไม้ให้ความร่มรื่น โดยให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ของคนในชุมชนด้วยการจ้างงานสร้างรายได้ ไปพร้อม ๆ กับการเรียนรู้และรับฟังทุกเสียงจากชุมชนหมู่ 1 และหมู่ 12 ตลอดระยะเวลาดำเนินการ
เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ และลดการใช้ไฟฟ้าจากระบบไฟฟ้าหลักให้มากขึ้น ทางโครงการฯ ยังได้ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป อีก 200 กิโลวัตต์ ให้กับ 6 สถานที่ราชการในอำเภอเมืองจังหวัดแม่ฮ่องสอน และตำบลผาบ่อง เริ่มจาก เทศบาลแม่ฮ่องสอน 40 กิโลวัตต์ โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ 88 กิโลวัตต์ สถานีตำรวจแม่ฮ่องสอน 10 กิโลวัตต์ ที่ว่าการอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน 30 กิโลวัตต์ สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลผาบ่อง 25 กิโลวัตต์ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผาบ่อง 7 กิโลวัตต์ โดยติดตั้งแบตเตอรี่ให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผาบ่อง เพื่อให้สามารถเก็บวัคซีนในช่วงไฟฟ้าตกไฟฟ้าดับได้โดยไม่ต้องกังวล จากการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปและแบตเตอรี่ทั้งหมดตั้งแต่ช่วงต้นปี 2566 จนถึงปัจจุบัน หน่วยงานราชการต่าง ๆ สามารถลดค่าไฟฟ้าลงอย่างเห็นได้ชัด
“Smart Energy ช่วยเสริมศักยภาพของระบบไฟฟ้าในพื้นที่อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอนให้มั่นคง โดยเดินหน้าควบคู่ไปกับยุทธศาสตร์อีก 3 Smart คือ Smart System, Smart City และ Smart Learning ซึ่งในอนาคตจะบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าเดิม และระบบส่งไฟฟ้าให้ทันสมัย รองรับแรงดันไฟฟ้าได้มากขึ้น ตอบสนองการใช้ไฟฟ้า และเชื่อมโยงเครือข่ายระบบไฟฟ้าได้ทั้งหมด” หัวหน้าโครงการพัฒนาโครงการนำร่องการพัฒนาสมาร์ทกริด กฟผ. กล่าวเพิ่มเติม
ปัจจุบัน โครงการนำร่องการพัฒนาสมาร์ทกริดที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เตรียมพัฒนาสู่แผนพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะของประเทศไทยในระยะกลาง พ.ศ. 2565 – 2574 พร้อมเดินหน้าส่งเสริมระบบบริหารจัดการพลังงานให้ชาวแม่ฮ่องสอนใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ซึ่งที่ผ่านมา ทางโครงการฯ ได้มีการเปิดตัวสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ายานยนต์ไฟฟ้า (EV Charging Station) เพื่อให้บริการแก่ชาวแม่ฮ่องสอนไปแล้ว และเร็ว ๆ นี้ จะมีการเปิดศูนย์การเรียนรู้ต้อนรับนักท่องเที่ยวและชาวแม่ฮ่องสอน เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงาน เทคโนโลยีสมาร์ทกริด และศิลปวัฒนธรรม ต่อยอดการท่องเที่ยว สร้างเศรษฐกิจที่ดีให้แก่ชุมชน เพื่อให้แม่ฮ่องสอนเป็นต้นแบบเมืองสีเขียวที่มีความมั่นคงในด้านพลังงาน นำไปสู่การพัฒนาให้เป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืนในอนาคตอันใกล้
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่