เศรษฐกิจ
สศก. ร่วมเวที FSMM ณ รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เสริมสร้างความมั่นคงอาหารภูมิภาคเอเปคให้แข็งแกร่ง
วันศุกร์ ที่ 08 กันยายน พ.ศ. 2566, 14.20 น.
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
สศก. ร่วมเวที FSMM ณ รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เสริมสร้างความมั่นคงอาหารภูมิ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผลักดันความร่วมมือนโยบายด้ านความมั่นคงอาหารต่อเนื่อง หลังจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นเจ้าภาพหลักการประชุมรั ฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค ครั้งที่ 7 เมื่อเดือนสิงหาคม 2565 ณ ประจวบคีรีขันธ์ ล่าสุด มอบหมายสำนักงานเศรษฐกิ จการเกษตร ร่วมเวทีประชุมรัฐมนตรีความมั่ นคงอาหารเอเปค ครั้งที่ 8 (Food Security Ministerial Meeting: FSMM) เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2566 ณ เมืองซีแอตเทิล รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิ จการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า สำหรับการเข้าร่วมประชุม FSMM ครั้งนี้ ได้เข้าร่วมประชุมในฐานะผู้ แทนของรัฐมนตรีว่ าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมี Mr. Thomas J. Vilsack รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร สหรัฐอเมริกา เป็นประธาน ซึ่งที่ประชุมได้เห็ นชอบเอกสารหลักการเพื่อการบรรลุ ความมั่นคงอาหารผ่ านระบบการเกษตรและอาหารอย่างยั่ งยืนในภูมิภาคเอเปค ประกอบด้วยหลักการสำคัญ 4 ประการ คือ
1) ระบบการเกษตรและอาหารที่ยั่งยื นและยืดหยุ่น ควรส่งเสริมการสร้างความมั่ นคงอาหาร การรักษาสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมวิถีชีวิตที่ยั่งยืน และคำนึงถึงผลประโยชน์ทางสั งคมสำหรับคนรุ่นปัจจุบั นและในอนาคต 2) นโยบายเพื่อพัฒนาความยั่งยื นและความยืดหยุ่ นในระบบการเกษตรและอาหารที่ แตกต่างกัน ควรตอบสนองต่อลักษณะเฉพาะและบริ บทที่แตกต่างกันในแต่ละเศรษฐกิจ 3) การปรับเปลี่ ยนระบบการเกษตรและอาหารของเอเปค ไปสู่ความยั่งยืนและความยืดหยุ่ น ควรใช้กระบวนการตัดสินใจเชิ งนโยบายและออกกฎระเบียบที่อ้ างอิงหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ปัจจัยเสี่ยง และคำนึงถึงมาตรฐานสากล และ 4) ระบบการค้า พหุภาคี และตลาดที่โปร่งใส คาดการณ์ได้ เปิดกว้างและยุติธรรม มีความสำคัญต่อความมั่ นคงอาหารในระดับภูมิภาคและระดั บโลก
นอกจากนี้ สหรัฐอเมริกา ได้ออกแถลงการณ์ประธานการประชุ มรัฐมนตรีความมั่นคงอาหาร ครั้งที่ 8 โดยเน้นย้ำการดำเนิ นการตามแผนปฏิบัติการภายใต้ แผนงานความมั่นคงอาหารมุ่งสู่ ปี พ.ศ. 2573 และเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ตลอดจนความเชื่อมโยง นวัตกรรม และความยั่งยื นของระบบการเกษตรและอาหาร การสนับสนุนระบบการค้าพหุภาคี ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความมั่ นคงอาหาร รวมถึงความร่วมมือกับองค์ การระหว่างประเทศและหน่ วยงานระดับภูมิภาคที่เกี่ยวข้อง
โอกาสนี้ เลขาธิการ สศก. ได้กล่าวสนับสนุนหลักการเพื่ อการบรรลุความมั่นคงอาหารผ่ านระบบการเกษตรและอาหารอย่างยั่ งยืนในภูมิภาคเอเปค ซึ่งเน้นความสำคัญของความร่วมมื อกัน และการประสานงานกันระหว่ างเขตเศรษฐกิจ เพื่อบรรลุเป้ าหมายของระบบการเกษตรและอาหารที่ ยั่งยืนและมีภูมิคุ้มกันในภูมิ ภาคเอเปค โดยเฉพาะในหลักการที่ 4 ซึ่งไทยสนับสนุนการส่งเสริ มบทบาทของระบบการค้าพหุภาคีที่ โปร่งใส เปิดกว้างและเป็นธรรม เพื่อให้มั่นใจว่าจะเกิดการค้ าที่เสรีและเป็นธรรม สนับสนุนการค้าอาหารที่ช่วยเสริ มสร้างความมั่นคงอาหารในภูมิภาค ตลอดจนกล่าวสนับสนุนแถลงการณ์ ประธานการประชุมรัฐมนตรีความมั่ นคงอาหาร ครั้งที่ 8 ดังกล่าว ซึ่งมีความสอดคล้องกับแถลงการณ์ ประธานรัฐมนตรีความมั่นคงอาหาร ครั้งที่ 7 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ ที่มุ่งเน้นการยกระดับวิถีชีวิ ตและความเป็นอยู่ที่ดี สร้างความมั่งคั่งให้กับประชาชน ลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร ส่งเสริมการเข้าถึงตลาด และการอำนวยความสะดวกทางการค้า พร้อมเน้นย้ำว่า “ความมั่นคงอาหารเป็นประเด็นที่ ไทยให้ความสำคัญในลำดับต้นๆ และไทยยินดีให้ความร่วมมื อในการทำงานร่วมกันเพื่อให้ ความมั่นคงอาหารของโลกเพิ่มขึ้น และสนับสนุนความร่วมมือในรู ปแบบหุ้นส่วนภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เกิดการทำงานที่เป็นรู ปธรรม มุ่งสู่ผลลัพธ์ในการบรรลุด้ านความมั่นคงอาหาร”
นอกจากนี้ เลขาธิการ สศก. ยังได้ถูกเชิญให้เป็น Speaker นำเสนอนโยบายด้านเกษตรที่มุ่ งเน้นรับมือของภาคเกษตรกั บการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสร้างความมั่นคงอาหาร และการส่งเสริมการค้าสินค้ าอาหาร โดยเน้นแนวทาง 3 แนวทาง เพื่อรับมือ กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้แก่ การลดและป้องกัน การปรับตัว และการใช้เทคโนโลยี เช่น การปลูกป่า การลดการเผา การทำนาแบบเปียกสลับแห้ง การลดการใช้สารเคมี การใช้เมล็ดพันธุ์ที่ทนแล้ งและน้ำท่วม การเลี้ยงปลาในนาข้าว แก้มลิง พยากรณ์ผลผลิต การจัดทำระบบเตือนภัย เป็นต้น โดยในส่วนของนโยบายด้านความมั่ นคงอาหาร ไทยได้จัดทำปฏิทินผลผลิตสินค้ าเกษตรรายเดือนระดับจังหวัด เพื่อบริหารจัดการความมั่ นคงอาหารในระดับพื้นที่ โดยปฏิทินจะแสดงผลความพอเพี ยงของหมู่โภชนการ เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน เอ ซี อี เหล็ก แคลเซียม โปตัสเซียม และยังส่งเสริมการสร้างรายได้ ของเกษตรกร ด้วยการจำหน่ายเศษวัสดุเหลือใช้ เพื่อนำไปผลิตอาหารสัตว์ หรือไบโอชาร์ ซึ่งสอดคล้องกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG อีกทั้งยังสนับสนุนการผลิตสินค้ าเกษตรและอาหารที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ความปลอดภัย ตลอดจนส่งเสริมการให้ความรู้ด้ านโภชนาการให้กับประชาชน ขณะที่ด้านการส่งเสริมการค้า ไทยพร้อมสนับสนุนหลักการค้ าภายใต้ระบบการค้าพหุภาคี ขององค์การการค้าโลก และส่งเสริมการเปิดตลาดสินค้ าเกษตรและอาหารผ่ านกรอบการเจรจาเขตการค้าเสรีร่ วมกัน
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่