วันจันทร์ ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 12:42 น.

เศรษฐกิจ

3สายการบิน พร้อมส่งเครื่องบินอพยพคนไทยออกจากอิสราเอล

วันพฤหัสบดี ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2566, 14.08 น.

3สายการบิน พร้อมส่งเครื่องบินอพยพคนไทยออกจากอิสราเอล

 

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้สั่งการ ให้กระทรวงคมนาคม ร่วมกับ กระทรวงการต่างประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุมหารือกัน เพื่อสรุปแผนบูรณาการอพยพคนไทยออกจากอิสราเอล 5,000 คน ว่าขณะนี้นายณรงค์ บุญเสถียรวงศ์ รองอธิบดีกรมการกงสุล ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ได้รายงานสถานการณ์การสู้รบขยายวงกว้างออกไปมาก ส่งผลต่อการเดินทางไปยังจุดต่าง ๆ เกือบทุกแห่ง ทาให้การรวบรวม คนงานไทยไปยังสถานที่ปลอดภัย เพื่อเตรียมการลาเลียงขึ้นเครื่องบินกลับประเทศรวมทั้งการเดินทางไปยัง สนามบินเทลอาวีฟ ซึ่งเป็นสนามบินแห่งเดียวในอิสราเอลที่ยังคงเปิดใช้งานอยู่ยังเป็นไปด้วยความยากลาบาก อย่างไรก็ตามทางกระทรวงการต่างประเทศยังคงใช้ความพยายามทุกวิถีทางในขณะนี้เพื่อรวบรวมคนไทยทั้งหมด ซึ่งรวมทั้งการเปิดศูนย์ฉุกเฉินทางานตลอด 24 ชั่วโมง

         

อย่างไรก็ตาม การเตรียมความพร้อมด้านเที่ยวบิน ขณะนี้มีสายการบินของไทยอย่างน้อย 3 สายการบินที่แสดง ถึงความพร้อมสาหรับปฏิบัติการรับคนไทยกลับประเทศ ได้แก่ สายการบินไทยแอร์เอเชีย การบินไทย และนกแอร์ ที่จะสามารถเดินทางไปรับได้ภายใน 3 วัน เมื่อได้มีการกาหนดแผนและสนามบินที่จะใช้เป็นจุดรับคนไทยเป็นที่ ชัดเจนแล้ว โดยอาจเป็นทั้งที่สนามบินเทลอาวีฟหรือสนามบินอื่น ๆ ภายนอกประเทศอิสราเอลที่มีความปลอดภัย ดังนั้นในขั้นนี้ จึงขึ้นอยู่กับความพร้อมในการรวบรวมคนไทยในประเทศอิสราเอลที่จะดาเนินการโดยกระทรวงการ ต่างประเทศเป็นสาคัญ เพื่อให้ทราบทั้งจานวนและสนามบินที่จะใช้เป็นจุดรับ

      

ทั้งนี้ ในส่วนของการขออนุญาตทาการบินเพื่อการส่งกลับประเทศ (Repatriation Flight) ซึ่งจะต้องขอ อนุญาตทั้งประเทศปลายทางและประเทศที่บินผ่านเป็นกรณีพิเศษ ที่ประชุมได้สรุปให้กระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้ดาเนินการประสานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเทลอาวีฟ เพื่อยื่นขออนุญาตเป็นทางการกับอิสราเอล รวมทั้ง ประสานเอกอัครราชทูตไทยประจาประเทศอื่น ๆ เช่น ประเทศจอร์แดน ในกรณีที่มีแผนจะให้เครื่องบินไปรับนอก เขตแดนของอิสราเอลที่มีพรมแดนติดกัน ตลอดจนประสานประเทศระหว่างทางที่เที่ยวบินพิเศษนี้จะต้องทาการ บินผ่านเพื่ออานวยความสะดวกตลอดเส้นทาง อันเป็นแนวปฏิบัติสากลระหว่างรัฐต่อรัฐในกรณีดังกล่าว ทั้งนี้ใน เบื้องต้นสานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) ได้มีหนังสือแจ้งไปยังสานักงานการบินแห่งอิสราเอล (CAAI) ทราบล่วงหน้าแล้ว

        

สำหรับสรุปแผนจากที่ประชุมในครั้งนี้  ได้ข้อสรุปว่า (1.) กระทรวงการต่างประเทศจะเร่งดำเนินการรวบรวมคน ไทยและสรุปจำนวนและสถานที่นัดหมายรับคนไทยเพื่อแจ้งให้กระทรวงคมนาคมทราบ เพื่อกาหนดแผนเที่ยวบิน ให้กับสายการบินทราบต่อไป (2.) แผนการขนส่งคนไทยกลับประเทศจะกาหนดไว้เป็นสองแนวทางร่วมกัน ทั้งการบินตรงจากสนามบินต้นทางสู่ประเทศไทย และการอพยพคนไทยออกจากอิสราเอลไปยังประเทศที่ปลอดภัย เช่น ดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรืออินเดีย ซึ่งเป็นการบินระยะสั้น สามารถดาเนินการขนคนไทยได้จานวนมากใน เวลาที่รวดเร็วกว่าก่อนที่จะจัดเครื่องบินพาณิชย์เดินทางกลับสู่ประเทศไทยต่อไป

 

ขณะนี้จึงถือได้ว่าการเตรียมความพร้อมทุกด้าน ทั้งเครื่องบินและการประสานเพื่อขออนุญาตทาการบิน กับประเทศต่าง ๆ ครบถ้วนแล้ว จึงเหลือเพียงความสาเร็จของการรวบรวมคนไทยไปยังจุดต่าง ๆ เพื่อกาหนดจุด รับต่อไปทันที ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมขอให้ทางกระทรวงการต่างประเทศดาเนินการและแจ้งความ คืบหน้าทันทีที่สามารถเริ่มปฏิบัติการบินตามแผนได้