เศรษฐกิจ
คณะกรรมการ MEA เยี่ยมชมศักยภาพด้านระบบไฟฟ้า
วันศุกร์ ที่ 08 มีนาคม พ.ศ. 2567, 19.06 น.
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

คณะกรรมการ MEA เยี่ยมชมศักยภาพด้านระบบไฟฟ้า
คณะกรรมการ MEA ติดตามเยี่ยมชมศักยภาพด้ านระบบไฟฟ้าของ MEA ตอกย้ำความมั่นคงระบบไฟฟ้าเมื องมหานคร
.jpg)
นายขจร ศรีชวโนทัย อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้ องถิ่น ในฐานะประธานกรรมการ MEA หรือการไฟฟ้านครหลวง นำคณะกรรมการ MEA เยี่ยมชมเทคโนโลยีศูนย์ควบคุ มระบบไฟฟ้าชิดลม พร้อมลงพื้นที่สำรวจอุโมงค์ สายส่งไฟฟ้าใต้ดินขนาดใหญ่ที่สุ ดในประเทศไทย โดยมีนายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการ MEA คณะผู้บริหาร และพนักงาน ให้การต้อนรับ ณ อาคารฝ่ายควบคุมระบบไฟฟ้า การไฟฟ้านครหลวง สำนักงานเพลินจิต
.jpg)
ผู้ว่าการ MEA กล่าวว่า ศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้าชิดลม ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทันสมั ยในการควบคุม ที่เรียกว่า ระบบ SCADA/EMS/DMS (Supervisory Control and Data Acquisition/Energy Management System/Distribution Management System) ใช้ในการตรวจสอบสถานะของการจ่ ายกระแสไฟฟ้า วิเคราะห์สถานการณ์หรื อสภาพการจ่ายกระแสไฟฟ้า การทำงานของระบบควบคุมไฟฟ้า ช่วยให้การบริหารจัดการควบคุ มแรงดันและการจ่ายกระแสไฟฟ้ามี ประสิทธิภาพ มีคุณภาพและมีความปลอดภัย รองรับการปรับระบบการจ่ ายกระแสไฟฟ้าในรูปแบบ Smart Grid สามารถสร้างความมั่นคงให้กั บระบบไฟฟ้า พร้อมรองรับทั้งในสถานการณ์ปกติ และสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อสามารถเข้าตรวจสอบจุดเกิ ดเหตุ และแก้ไขปัญหาได้ในระยะเวลาอั นสั้น เป็นการพัฒนางานด้านระบบไฟฟ้ าให้สามารถจ่ายไฟฟ้าได้อย่างเพี ยงพอมีความมั่นคงเชื่อถือได้ รองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่ คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
สำหรับอุโมงค์สายส่งไฟฟ้าใต้ดิน Outgoing ที่เยี่ยมชมครั้งนี้ เป็นอุโมงค์สายส่งไฟฟ้าใต้ดิ นขนาดใหญ่แห่งใหม่ที่ก่อสร้ างแล้วเสร็จเมื่อปี 2564 มีแรงดัน 230 กิโลโวลต์ (kV) อยู่ใต้ถนนชิดลม ถึง ถนนสารสิน และถนนเพลินจิต (จากสี่แยกชิดลม ถึงสี่แยกเพลินจิต) เส้นผ่านศูนย์กลาง 3.6 เมตร ยาว 1.8 กิโลเมตร อยู่ลึกกว่า 40 เมตร ซึ่งเป็นอุโมงค์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่ สุดในประเทศไทย มีการเชื่อมโยงกับอุโมงค์สายส่ งไฟฟ้าใต้ดินเดิมซึ่งเชื่อมต่ อระหว่างสถานีต้นทางบางกะปิถึ งสถานีต้นทางชิดลม ยาว 7 กิโลเมตร อยู่ลึกกว่า 30 เมตร ลอดใต้แนวคลองแสนแสบ อุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน และอุโมงค์ระบายน้ำของ กรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งทั้งหมดถือเป็นหนึ่งในอุ โมงค์สายส่งไฟฟ้าแรงสูงที่สร้ างขึ้นเพื่อรองรับความต้ องการการใช้ไฟฟ้าในย่านธุรกิ จสำคัญใจกลางเมืองที่มี การขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่ องช่วยสร้างความมั่ นคงของระบบไฟฟ้า ลดปัญหาไฟฟ้าดับ ลดความเสี่ยงทางกายภาพที่อาจเกิ ดขึ้นกับสายไฟฟ้าแรงสูงบนพื้นดิ น พร้อมทั้งสร้างภูมิทัศน์ที่ สวยงามให้กับเมื องมหานครของประเทศไทย

ด้านแผนงานภาพรวมโครงการเปลี่ ยนสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ ดินของ MEA ในปัจจุบัน มีระยะทางดำเนินโครงการทั้งสิ้น 313.5 กิโลเมตร มีเป้าหมายก่อสร้างให้แล้วเสร็ จภายในปี 2572 โดยขณะนี้ สามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จรวม 73.4 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่สำคัญในถนนต่าง ๆ เช่น ถนนสีลม ถนนสุขุมวิท ถนนพหลโยธิน ถนนพญาไท ถนนพระราม 1 ถนนราชดำริ ถนนราชวิถี ถนนราชปรารภ ถนนศรีอยุธยาถนนสวรรคโลก ถนนสาธุประดิษฐ์ และถนนสว่างอารมณ์ เป็นต้น ขณะเดียวกันมีโครงการที่อยู่ ระหว่างดำเนินการ 240.1 กิโลเมตร เช่น โครงการพระราม 3 โครงการรัชดาภิเษก โครงการถนนพระราม 4 และโครงการก่อสร้างตามแนวรถไฟฟ้ าสายสีต่าง ๆ โดยล่าสุด MEA ดำเนินการรื้อถอนเสาไฟฟ้ าจำนวนกว่า 80 ต้น ตลอดแนวถนนสารสิน ระยะทาง 0.8 กิโลเมตร ตั้งแต่แยกถนนราชดำริ - แยกถนนวิทยุ ภายใต้โครงการ MEA เนรมิตถนนสารสิน ไร้เสาสายในคืนเดียว ซึ่งเป็นความสำเร็จที่เกิดขึ้น ถือเป็นความร่วมมือจากทุกฝ่าย สามารถต่อยอดไปสู่การร่วมกันพั ฒนาระบบสาธารณูปโภคอื่น ๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตพี่น้ องประชาชนให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
#เทคโนโลยีศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้ าชิดลม
#SCADA
#สายไฟฟ้าใต้ดิน
#MEA #การไฟฟ้านครหลวง
#พลังงานเพื่อวิถีชีวิตเมื องมหานคร
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่