เศรษฐกิจ
กกพ.ส่งซิกค่าไฟงวดก.ย.-ธ.ค.ท้ายปีพุ่ง
วันศุกร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2567, 20.32 น.
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

กกพ.ส่งซิกค่าไฟงวดก.ย.-ธ.ค.ท้ ายปีพุ่ง
“กกพ.”ค่าเอฟทีงวด ก.ย.-ธ.ค.67 ขึ้น 4.65-6.01บาทต่อหน่วย ระบุปัจจัยพิจารณาค่าไฟฟ้างวดสุ ดท้ายของปีนี้ที่เพิ่มขึ้น
“กกพ.” ยืนยัน ดูแลค่าครองชีพประชาชนควบคู่ ความมั่นคงระบบไฟฟ้า สุดอั้น เผยบาทอ่อนต่อเนื่องและราคาก๊ าซธรรมชาติเหลวที่เริ่มสูงขึ้ นดันราคาก๊าซพุ่ง ตลอดจนการจ่ายคืนภาระต้นทุนที่ เกิดขึ้นจริง (คงค้าง) กฟผ. และมูลค่าส่วนต่างราคาก๊ าซธรรมชาติที่เกิดขึ้นจริงกั บราคาก๊าซธรรมชาติที่เรียกเก็ บเดือนกันยายน - ธันวาคม 2566 ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 18 กันยายน 2566 (AFGas) จำนวนเงิน 15,083.79 ล้านบาท ส่งผลให้ทางเลือกค่าเอฟทีที่ต่ำ สุดที่ 86.55 สตางค์ต่อหน่วยหรือค่าไฟฟ้า อยู่ที่ 4.65 บาท
ต่อหน่วยตามที่ กฟผ. เสนอ โดย กกพ. เปิดรับฟังความเห็น 3 ทางเลือก ตั้งแต่วันที่ 12 - 26 กรกฎาคม 2567
ดร.พูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์ เลขาธิการสำนั กงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลั งงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมการกำกับกิ จการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า จากแนวโน้มค่าเงินบาทเมื่อเที ยบกับเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนตั วลงจากงวดก่อนหน้า 1.29 บาทต่อเหรียญสหรัฐ (งวด พ.ค. - ส.ค. 2567) เป็น 36.63 บาทต่อเหรียญสหรัฐ การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ ในประเทศและต่างประเทศ และการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินแม่ เมาะซึ่งมีต้นทุนราคาถูกมี ความพร้อมในการผลิตลดลง และสถานการณ์ราคาก๊าซธรรมชาติ เหลวแบบสัญญาจร (LNG Spot) ในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้ นจากงวดก่อนหน้า 3.2 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู ตามสถานการณ์
โดยความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ ในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากกำลังเข้าสู่ฤดู หนาวในปลายปี เป็นสามสาเหตุหลักซึ่งเป็นปัจจั ยที่อยู่นอกเหนือการควบคุมส่ งผลให้ต้นทุนค่าเชื้อเพลิ งในการผลิตไฟฟ้าปรับตัวสูงขึ้น เมื่อรวมกับการทยอยคืนหนี้ค่ าเชื้อเพลิงค้างชำระในงวดก่ อนหน้าส่งผลให้ค่าไฟในช่ วงปลายปีนี้ อาจจะต้องปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผั นแปร (ค่าเอฟที) ขึ้นในระดับ 46.83-182.99 สตางค์ต่อหน่วย เมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.7833 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเรียกเก็บในงวด ก.ย. - ธ.ค. 2567 เพิ่มขึ้นเป็น 4.65 -6.01 บาทต่อหน่วย จากงวดก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ 4.18 บาทต่อหน่วย
“ในการพิจารณาค่าไฟฟ้าผันแปร หรือ “ค่าเอฟที” และค่าไฟฟ้า สำหรับงวดเดือน ก.ย. - ธ.ค. 2567 กกพ. ตระหนักดีและคำนึงถึงผลกระทบทั้ งในส่วนของผลกระทบของค่าไฟฟ้าต่ อค่าครองชีพของพี่น้องประชาชน และความสำคัญในการรักษาไว้ซึ่ งความมีเสถียรภาพและความมั่ นคงของระบบไฟฟ้าของประเทศ เพราะนอกจากไฟฟ้ายังเป็นปัจจั ยหลักที่สำคัญในการดำรงชีพแล้ว ไฟฟ้ายังเป็นปัจจัยหลักที่หนุ นเสริมการขับเคลื่อนเศรษฐกิ จการค้า และการลงทุนของประเทศ ซึ่งในกระบวนการบริหารจัดการจึ งมีเป้าหมายในการรักษาสมดุลทั้ งการดูแลค่าครองชีพ และการดูแลคุณภาพ ความมั่นคง ความมีเสถียรภาพ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ ในช่วงที่ภาคพลังงานของประเทศยั งไม่กลับเข้าสู่ภาวะปกติอย่ างเต็มที่” ดร.พูลพัฒน์ กล่าว
ดร.พูลพัฒน์ กล่าวว่า ปัจจัยในการพิจารณาค่าไฟฟ้ างวดสุดท้ายของปีนี้ที่เพิ่มขึ้ น ยังคงมาจากเรื่องต้นทุนเชื้ อเพลิงก๊าซทั้งก๊าซในอ่าวไทย และ LNG Spot นำเข้า ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิ ตไฟฟ้ามีราคาสูงขึ้น เพราะก๊าซทั้งสองแหล่งต่างได้รั บผลกระทบต่อโครงสร้างต้นทุ นจากค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเงิ นดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงต่อเนื่ องเฉลี่ยอยู่ที่ 36.63 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จากต้นปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ช่วงกลางปีที่ผ่ านมาภาวะราคา LNG Spot ในตลาดโลกมีการปรับตัวเข้าสู่ ภาวะปกติอย่างต่อเนื่องทั้งปริ มาณและราคาซึ่งเฉลี่ยอยู่ในระดั บ 10 - 12 ดอลลาร์สหรัฐต่อล้านบีทียู และคาดการณ์ ราคามีการปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่ วงปลายปี 2567 ขึ้นมาอยู่ที่เฉลี่ย 13 ดอลลาร์สหรัฐต่อล้านบีทียู เนื่องจากมีปริมาณความต้ องการใช้เพิ่มขึ้นในช่วงฤดู หนาว
ส่วนปริมาณก๊าซธรรมชาติในอ่ าวไทยกำลังการผลิตได้กลับมาสู่ ภาวะปกติแล้วเช่นกัน โดยมีปริมาณการผลิตทุกแหล่ งรวมกันเฉลี่ย 2,184 ล้านบีทียูต่อวัน แต่แหล่งก๊าซในเมียนมาร์ยังคงมี ปริมาณลดลงอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ เฉลี่ย 468 ล้านบีทียูต่อวัน จากงวดก่อนหน้านี้อยู่ที่เฉลี่ ยประมาณ 483 ล้านบีทียูต่อวัน ส่งผลต้องมีการนำเข้า LNG Spot เข้ามาทดแทน
ทั้งนี้ กกพ. ในการประชุมครั้งที่ 28/2567 (ครั้งที่ 913) เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2567 มีมติรับทราบภาระต้นทุนการผลิ ตไฟฟ้าจริงประจำรอบเดือน ม.ค. - เม.ย. 2567 และเห็นชอบผลการคำนวณประมาณค่ าเอฟทีสำหรับงวดเดือน ก.ย - ธ.ค. 2567 พร้อมให้สำนักงาน กกพ. นำค่าเอฟที ประมาณการและแนวทางการจ่ ายภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงของ กฟผ. ไปรับฟังความคิดเห็นในกรณีต่างๆ ผ่านทางเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. ตั้งแต่วันที่ 12 – 26 กรกฎาคม 2567 ก่อนที่จะมีการสรุปและประกาศอย่ างเป็นทางการต่อไป ดังนี้
กรณีที่ 1: ผลการคำนวณตามสูตรการปรับค่า Ft (จ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้างทั้ งหมด) ค่า Ft ขายปลีกเท่ากับ 222.71 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งจะเป็นการเรียกเก็ บตามผลการคำนวณตามสูตรการปรับค่ า Ft ที่สะท้อนแนวโน้มต้นทุนเดือนกั นยายน – ธันวาคม 2567 จำนวน 34.30 สตางค์ต่อหน่วย และเงินเรียกเก็บเพื่อชดเชยต้ นทุนคงค้าง (AF) ที่เกิดขึ้นจริงของ กฟผ. จำนวน 98,495 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 163.39 สตางค์ต่อหน่วย) และมูลค่า AFGAS จำนวน 15,083.79 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 25.02 สตางค์ต่อหน่วย) รวมทั้งสิ้นจำนวน 188.41 สตางค์ต่อหน่วย โดย กฟผ. จะได้รับเงินที่รับภาระต้นทุนค่ าเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้ าแทนประชาชนตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 - เมษายน 2567 ในช่วงสภาวะวิกฤตของราคาพลั งงานที่ผ่านมา คืนทั้งหมดภายในเดือนธันวาคม 2567 เพื่อนำไปชำระหนี้เงินกู้เพื่ อเสริมสภาพคล่องให้มี สถานะทางการเงินคืนสู่สภาวะปกติ โดยเร็ว และรัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิ จการก๊าซธรรมชาติ จะได้รับเงินคืนส่วนต่างราคาก๊ าซธรรมชาติสำหรับ
ภาคไฟฟ้าคืนทั้งหมด ซึ่งเมื่อรวมค่า Ft ขายปลีกที่คำนวณได้กับค่าไฟฟ้ าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 6.01 บาทต่อหน่วย โดยค่าไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าทั่ วประเทศจะเพิ่มขึ้น 44 %จากระดับ 4.18 บาทต่อหน่วย ในงวดปัจจุบัน
กรณีที่ 2: กรณีจ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้างใน 3 งวด ค่า Ft ขายปลีก เท่ากับ 113.78 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งจะสะท้อนแนวโน้มต้นทุนเดื อนกันยายน – ธันวาคม 2567 จำนวน 34.30 สตางค์ต่อหน่วย และทยอยชำระคืนภาระต้นทุนคงค้ างที่ กฟผ. กู้เงินมาเพื่อตรึงค่าไฟฟ้าตั้ งแต่เดือนกันยายน 2564 – เมษายน 2567 ออกเป็น 3 งวดๆ ละจำนวน 32,832 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 54.46 สตางค์ต่อหน่วย) และมูลค่า AFGAS จำนวน 15,083.79 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 25.02 สตางค์ต่อหน่วย) รวมทั้งสิ้นเท่ากับ 79.48 สตางค์ต่อหน่วย เพื่อให้ กฟผ. มีสภาพคล่องทางการเงินที่ดีขึ้น สามารถดำเนินการตามแผนชำระคื นหนี้เงินกู้ที่วางไว้เพื่อรั กษาระดับความน่าเชื่อถือ และลดภาระดอกเบี้ยที่มีแนวโน้ มปรับสูงขึ้น โดยคาดว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2567 จะมีภาระต้นทุนคงค้างที่ กฟผ. รับภาระแทนประชาชนคงเหลืออยู่ที่ 65,663 ล้านบาท ในขณะที่รัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิ จการก๊าซธรรมชาติ จะได้รับเงินคืนส่วนต่างราคาก๊ าซธรรมชาติสำหรับภาคไฟฟ้าคืนทั้ งหมด ซึ่งเมื่อรวมค่า Ft ขายปลีกกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 4.92 บาทต่อหน่วย หรือเพิ่มขึ้น 18% จากงวดปัจจุบัน
กรณีที่ 3: กรณีจ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้างใน 6 งวด ค่า Ft ขายปลีก เท่ากับ 86.55 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งจะสะท้อนแนวโน้มต้นทุนเดื อนกันยายน – ธันวาคม 2567 จำนวน 34.30 สตางค์ต่อหน่วย และทยอยชำระคืนภาระต้นทุนคงค้ างที่ กฟผ. กู้เงินมาเพื่อตรึงค่าไฟฟ้าตั้ งแต่เดือนกันยายน 2564 – เมษายน 2567 ออกเป็น 6 งวดๆ ละจำนวน 16,416 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 27.23 สตางค์ต่อหน่วย) และมูลค่า AFGAS จำนวน 15,083.79 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 25.02 สตางค์ต่อหน่วย) รวมทั้งสิ้นเท่ากับ 52.25 สตางค์ต่อหน่วย เพื่อให้ กฟผ. มีสภาพคล่องทางการเงินที่ดีขึ้น สามารถดำเนินการตามแผนชำระคื นหนี้เงินกู้ที่วางไว้เพื่อรั กษาระดับความน่าเชื่อถือ และลดภาระดอกเบี้ยที่มีแนวโน้ มปรับสูงขึ้น โดยคาดว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2567 จะมีภาระต้นทุนคงค้างที่ กฟผ. รับภาระแทนประชาชนคงเหลืออยู่ที่ 82,079 ล้านบาท ในขณะที่รัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิ จการก๊าซธรรมชาติ จะได้รับเงินคืนส่วนต่างราคาก๊ าซธรรมชาติสำหรับภาคไฟฟ้าคืนทั้ งหมด ซึ่งเมื่อรวมค่า Ft ขายปลีกกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 4.65 บาทต่อหน่วย หรือเพิ่มขึ้น 11 %จากงวดปัจจุบัน
ดร.พูลพัฒน์ กล่าวเพิ่มว่า "สำนักงาน กกพ. ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนร่วมกั นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ ไฟฟ้าได้ง่ายๆ 5 ป. ได้แก่ ปลด หรือถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้ าลดการใช้ไฟฟ้าเมื่อใช้งานเสร็จ ปิด หรือดับไฟเมื่อเลิกใช้งาน ปรับ อุณหภูมิเครื่องปรับอากาศให้อยู่ ที่ 26 องศา เปลี่ยน มาใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟเบอร์ 5 ปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้นเพื่อลดอุ ณหภูมิภายในบ้าน ซึ่งทั้ง 5 ป. จะช่วยลดภาระค่าไฟฟ้าของผู้ใช้ ไฟฟ้าเองด้วย” ทั้งนี้ กกพ. เปิดรับฟังความคิดเห็นผ่ านทางเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. ตั้งแต่วันที่ 12 – 26 กรกฎาคม 2567 ก่อนที่จะมีการสรุปและประกาศอย่ างเป็นทางการต่อไป
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่