เศรษฐกิจ
SME ไทยในคลื่นเศรษฐกิจโลกและแรงกดดันทางการค้า Funding Societies ชี้โอกาสของ SME ในยุคแห่งความผันผวน
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

นายวิกาส เจน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Funding Societies ประเทศไทย เปิดเผยว่า ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โลกธุรกิจต้องเผชิญกับความผันผวนที่ทวีความรุนแรงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์โรคระบาดใหญ่ทั่วโลก ความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ รวมถึงแนวโน้มการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าที่เพิ่มขึ้น ล่าสุด มาตรการภาษีนำเข้าสินค้าของสหรัฐอเมริกาได้สร้างแรงสั่นสะเทือนไปยังประเทศคู่ค้าหลายแห่ง โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิด
ความเชื่อมโยงทางการค้าระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกายังคงมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ โดยในปี 2567 มูลค่าการค้ารวมระหว่างสองประเทศอยู่ที่ประมาณ 8.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็นการส่งออกจากไทยไปยังสหรัฐฯ ราว 6.3 หมื่นล้านดอลลาร์ ขณะที่การนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ เข้ามายังประเทศไทยมีมูลค่าประมาณ 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์ และอาจเป็นแรงผลักดันให้รัฐบาลสหรัฐฯ เร่งดำเนินมาตรการเพื่อลดช่องว่างทางการค้า
ในบริบทนี้ นายวิกาส เจน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Funding Societies ประเทศไทย ซึ่งเป็น แพลตฟอร์มการเงินดิจิทัลแบบครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ให้มุมมองเชิงลึกเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SME ที่เน้นการส่งออก
มาตรการภาษีใหม่ที่ประกาศโดยสหรัฐฯ ในอัตราสูงสุดถึง 36% นั้น สูงกว่าที่ภาคธุรกิจเคยคาดการณ์ไว้มาก นายวิกาส กล่าวว่า "ถึงแม้ว่าจะมีการประกาศชะลอการบังคับใช้เป็นเวลา 90 วัน แต่ SME ไทยจำนวนมากมีเวลาเตรียมตัวน้อย หากคำสั่งซื้อถูกชะลอหรือยกเลิกเพื่อรอดูสถานการณ์ ธุรกิจ SME ที่ไม่มีแผนสำรองอาจเผชิญภาวะเงินฝืดเคืองทันที โดยเฉพาะสินค้าที่เน้นการส่งออก เช่น อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร อาหารแปรรูป เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์เกษตร โลหะ ยางพารา และชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลให้ตัวเลขการส่งออกเกิดการหดตัวลงอย่างมีนัยยะ"
นอกจากผลกระทบโดยตรงจากมาตรการภาษีนำเข้าแล้ว สิ่งที่น่าจับตามองไม่แพ้กันคือแนวโน้มที่สถาบันการเงินจะปรับเงื่อนไขการปล่อยสินเชื่อให้เข้มงวดขึ้นในภาวะเศรษฐกิจที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ส่งผลให้แม้แต่ผู้ประกอบการ SME ที่มีศักยภาพก็อาจเผชิญความยากลำบากในการเข้าถึงแหล่งทุนได้อย่างทันท่วงที เพิ่มแรงกดดันต่อการดำเนินธุรกิจในช่วงเวลาที่ความสามารถในการปรับตัวอย่างรวดเร็วกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการอยู่รอด
ภายใต้เงื่อนไขเช่นนี้ สถานการณ์กลับเปิดทางให้ผู้ประกอบการรายใหญ่จากต่างประเทศ โดยเฉพาะจีน เข้าสู่ตลาดไทยด้วยการระบายสินค้าคงคลังจำนวนมากในราคาต่ำลงผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ ซึ่งอาจส่งผลให้การแข่งขันทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น และยังอาจกระทบต่อข้อได้เปรียบด้านราคาและต้นทุนของผู้ประกอบการไทย ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางการตลาดที่ยังค่อนข้างเปิดและเอื้อต่อการเข้าถึง
ขณะเดียวกัน จีนยังเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งเร่งขยายการค้าสู่ตลาดระดับภูมิภาคและระดับโลกอย่างแข็งขัน ยิ่งซ้ำเติมแรงกดดันต่อผู้ประกอบการรายย่อยในประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สถานการณ์นี้สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นที่ผู้กำหนดนโยบายจะต้องเตรียมมาตรการสนับสนุนด้านการค้าและการเงินอย่างรอบด้าน เพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ดี ท่ามกลางความท้าทายก็ยังมีโอกาสปรากฏให้เห็น โดยเฉพาะสำหรับผู้ประกอบการ SME ที่มีความคล่องตัวและสามารถปรับทิศทางสู่ตลาดภายในประเทศ หรือใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซเพื่อขยายช่องทางการขายและเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
"ธุรกิจที่ตอบสนองความต้องการภายในประเทศ เช่น ธุรกิจสุขภาพและwellness อุปกรณ์การแพทย์ สินค้าอุปโภคบริโภคที่มีการหมุนเวียนเร็ว(FMCG) การท่องเที่ยวและการบริการที่พัก การก่อสร้างและบริการซ่อมแซม รวมถึงธุรกิจบรรจุภัณฑ์ ต่างมีศักยภาพในการเติบโตที่ได้รับการสนับสนุนจากกำลังซื้อภายในประเทศ ขณะเดียวกัน SME ที่เคยพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ ควรพิจารณาขยายการตลาดไปยังตลาดใหม่ๆ เช่น ยุโรป อินเดีย ตะวันออกกลาง หรือประเทศในเอเชียอื่นๆ"
"SME ไทยต้องสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ประสบปัญหาสภาพคล่อง ขณะเดียวกัน ต้องเร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์และปรับปรุงสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันในตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว" นายวิกาส กล่าวเสริม
การเปลี่ยนแปลงในการแข่งขันสร้างโอกาสใหม่ให้กับผู้ปล่อยสินเชื่อดิจิทัลและกลุ่มนอนแบงค์ ที่มีความพร้อมในด้านเทคโนโลยี AI และโมเดลวิเคราะห์ความเสี่ยงทางเครดิตที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ทำให้สามารถตัดสินใจปล่อยสินเชื่อได้อย่างรวดเร็วและตรงกับศักยภาพของแต่ละธุรกิจ ในขณะที่ SME ต้องเผชิญกับความท้าทายในการดำเนินธุรกิจในช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน
นายวิกาส แสดงความมั่นใจว่า ผู้ปล่อยสินเชื่อดิจิทัลและกลุ่ม Non-Bank เช่น Funding Societies จะมีบทบาทสำคัญในการปิดช่องว่างการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับ SME ที่มีพื้นฐานแข็งแกร่งแต่ไม่สามารถเข้าถึงเงินทุนในช่วงเวลาที่ความเสี่ยงสูง และสถาบันการเงิน มักลดการปล่อยสินเชื่อเพื่อเฝ้าระวังสถานการณ์ Funding Societies ใช้เทคโนโลยี AI และโมเดลการประเมินเครดิตสมัยใหม่ที่ประเมินธุรกิจตามผลการดำเนินงานจริงและศักยภาพการเติบโต ซึ่งทำให้สามารถปล่อยสินเชื่อได้อย่างรวดเร็วและยืดหยุ่น และเปิดโอกาสให้ SME ที่อาจถูกมองข้ามได้รับการสนับสนุนทางการเงิน นอกจากนี้ บริษัทยังมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินหลากหลายที่ออกแบบเฉพาะสำหรับลูกค้า B2B เพื่อสนับสนุนสภาพคล่องและการดำเนินธุรกิจต่อเนื่อง
"เรามองว่า SME คือรากฐานของเศรษฐกิจ หากพวกเขารอด พวกเขาจะเติบโต และเมื่อพวกเขาเติบโต เศรษฐกิจก็จะมั่นคงในระยะยาว" นายวิกาสกล่าวทิ้งท้าย
Funding Societies มุ่งมั่นที่จะสนับสนุนการเติบโตของ SME ไทยไม่เพียงแต่ผ่านการสนับสนุนสินเชื่อ แต่ยังช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงโอกาสสำคัญในเวลาที่เหมาะสม โดยเฉพาะในช่วงเวลาท้าทาย บริษัทยังคงมุ่งเน้นในการให้บริการผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในระยะยาวในหลากหลายภาคธุรกิจ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชม https://fundingsocieties.co.th
ในประเทศไทย Funding Societies ดำเนินธุรกิจ 2 ส่วนที่ต่างกันคือ FS Siam Co., Ltd. ได้รับความเห็นชอบการระดมทุนจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และ FS Capital Co., Ltd. เชี่ยวชาญในการให้กู้ยืมโดยตรงแก่ธุรกิจขนาดเล็ก โครงสร้างนี้ช่วยให้ Funding Societies สามารถตอบสนองความต้องการทางการเงินที่หลากหลายภายในภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เกี่ยวกับ Funding Societies | Modalku
Funding Societies | Modalku เป็นแพลตฟอร์มการเงินดิจิทัลสำหรับ SME ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการใน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และไทย รวมถึงจดทะเบียนใน มาเลเซีย และให้บริการใน เวียดนาม บริษัทให้สินเชื่อแก่ SME รวมมูลค่ากว่า 35,000 ล้านบาท (1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ต่อปี และหลังจากขยายธุรกิจสู่บริการด้านการชำระเงิน ยังมีมูลค่าธุรกรรมชำระเงินรวมต่อปี (GTV) กว่า 49,000 ล้านบาท (1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) โดยเฉพาะหลังการเข้าซื้อกิจการแพลตฟอร์มชำระเงินดิจิทัล CardUp ในปี 2565 (2022)
บริษัทได้รับการสนับสนุนจากนักลงทุนชั้นนำระดับโลก อาทิ SoftBank Vision Fund 2, Cool Japan Fund, Maybank, Khazanah Nasional Berhad, CGC Digital (หน่วยดิจิทัลของ Credit Guarantee Corporation Malaysia Berhad), SBVA (เดิมคือ SoftBank Ventures Asia), Peak XV Partners (เดิมคือ Sequoia Capital India), Alpha JWC Ventures, SMBC Bank, BRI Ventures, VNG Corporation, Rapyd Ventures, Endeavor, EBDI, SGInnovate, Qualgro และ Golden Gate Ventures ซึ่งช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับ Funding Societies | Modalku ในการขยายบริการและพัฒนาโซลูชันทางการเงินที่ตอบโจทย์ SME ในภูมิภาค
Funding Societies | Modalku ได้รับรางวัลและการยกย่องมากมายในระดับสากล อาทิ Brands for Good (2019, 2023), Global SME Excellence Award, Global SME Finance Awards โดย IFC (2021-2023), Global Startup Awards (2020), MAS FinTech Award (2016, 2021) รวมถึงได้รับการจัดอันดับใน Singapore’s Fastest-Growing Companies 2024 (100 บริษัทที่เติบโตเร็วที่สุด โดย The Straits Times และ Statista) และ High-Growth Companies in Asia-Pacific 2024 (500 บริษัทที่เติบโตสูงสุดในภูมิภาค โดย Financial Times และ Statista)
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.fundingsocieties.co.th
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
หน้าแรก » เศรษฐกิจ
ข่าวในหมวดเศรษฐกิจ ![]()
วิทยุการบิน ครบ77ปี เดินหน้ายกระดับอุตสาหกรรมการบิน 13:55 น.
- "เผ่าภูมิ" หารือทวิภาคี ขุนคลังลักเซมเบิร์ก เชื่อม Fin Hub ทั้ง 2 ประเทศ ส่งพันธบัตรยั่งยืนไทยเข้าตลาดหลักทรัพย์ลักเซมเบิร์ก 10:03 น.
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดหน่วยผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน 17:44 น.