วันพฤหัสบดี ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 10:31 น.

เศรษฐกิจ

เอสซีจี ร่วมเป็นเจ้าภาพจัด INTERCEM Asia 2025 

วันพุธ ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2568, 06.10 น.

เอสซีจี ร่วมเป็นเจ้าภาพจัด INTERCEM Asia 2025 

งานประชุมผู้ผลิตและผู้เกี่ยวข้องในเชนอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ระดับโลก   

ตั้งแต่ 6-8 พฤษภาคมนี้ ยกระดับอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำด้วยนวัตกรรมกรีน

 

 

 

เอสซีจี ผู้นำอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในอาเซียน แสดงความพร้อมร่วมเป็นเจ้าภาพจัดงาน INTERCEM Asia 2025 งานประชุมผู้ผลิตและผู้เกี่ยวข้องในเชนอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ระดับโลก แสดงถึงศักยภาพและความพร้อมการเป็นผู้นำขับเคลื่อนนวัตกรรมปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำและแสดงวิสัยทัศน์การเป็นผู้นำระดับภูมิภาคด้านนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง โซลูชันที่ยั่งยืน จุดพลังอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ด้วยปูนคาร์บอนต่ำ ยกระดับมาตรฐาน        ด้านความยั่งยืนในเวทีสากล พร้อมชูศักยภาพความพร้อมของประเทศไทยในฐานะตลาดสำคัญของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในภูมิภาคเอเชีย ดีเดย์ 6-8 พฤษภาคม 2568 ที่กรุงเทพมหานคร 

 

เอสซีจี ปักหมุดประเทศไทย สู่งานประชุมผู้ผลิตและผู้เกี่ยวข้องในเชนอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ระดับโลก INTERCEM Asia 2025 ชูพลังขับเคลื่อนพันธกิจและนวัตกรรมกรีน “Inclusive Green Growth” หรือการเติบโตอย่างสมดุล 

ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของวงการอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ทั้งไทยและอาเซียนที่จะข้ามผ่านไปสู่อุตสาหกรรมผู้ผลิตปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับเวทีโลก 

 

 

 

 

ในยุคที่ "นวัตกรรมกรีน" ไม่ใช่เพียงทางเลือก แต่เป็น "ทางรอด" ของธุรกิจ งาน INTERCEM Asia 2025 จะเป็นเวทีสำคัญในการหารือประเด็นเร่งด่วนที่ผู้ผลิตปูนซีเมนต์ทั่วโลกต้องปรับตัว โดยเฉพาะในด้านการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์เป็นหนึ่งในสาเหตุในการสร้างภาวะโลกร้อน คิดเป็นสัดส่วน 7-8% ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลก ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังต้องเตรียมพร้อมรับมือกับมาตรการใหม่ๆ โดยเฉพาะ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) ของสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นกลไกปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมคาร์บอนจากผู้นำเข้าสินค้าที่มีการปล่อยคาร์บอนสูง และ Carbon Tax หรือภาษีคาร์บอน ซึ่งเป็นการเก็บภาษีจากปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของผู้ผลิต มาตรการเหล่านี้จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อขีดความสามารถในการแข่งขันและต้นทุนการผลิตของผู้ผลิตปูนซีเมนต์ทั้งในไทยและอาเซียน รวมถึงโอกาส             ในการส่งออกสู่ตลาดโลก ท่ามกลางความท้าทายเหล่านี้ เอสซีจีได้วางรากฐานและลงทุนในนวัตกรรมปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำมาอย่างต่อเนื่อง จนก้าวขึ้นเป็นผู้นำและยกระดับอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของภูมิภาคอาเซียน            ด้วยการเตรียมความพร้อมด้านกลยุทธ์ ด้านวิจัยและพัฒนา ด้านเทคโนโลยีการผลิต และการมองการณ์ไกลถึงแนวโน้ม

ของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์โลกและอนาคตแห่งการอยู่อาศัยที่ยั่งยืน

 

ภายในงานเอสซีจีจะนำเสนอนวัตกรรมระดับ First-to-Market ประกอบด้วย:

SCG LC3 Structural Cement: ปูนซีเมนต์งานโครงสร้างคาร์บอนต่ำสูตรต้นแบบของไทยที่พัฒนา                              จากองค์ความรู้เฉพาะของเอสซีจี สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂) ได้มากถึง 38% เมื่อเทียบกับปูนงานโครงสร้างทั่วไป ขณะที่ยังคงคุณสมบัติด้านความแข็งแรงทนทานและสามารถประยุกต์ใช้งานตกแต่ง

ได้อย่างลงตัว โดยมีเป้าหมายในการลดคาร์บอนให้ได้ถึง 50% ในอนาคตอันใกล้ สร้างมาตรฐานใหม่ให้

กับอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในระดับภูมิภาคอาเซียน

SCG 3D Printing: เทคโนโลยีการพิมพ์ขึ้นรูปสามมิติด้วยปูนคาร์บอนต่ำ ที่ปฏิวัติวงการก่อสร้าง 

ด้วยความสามารถในการสร้างโครงสร้างที่มีความซับซ้อนสูง ตั้งแต่การออกแบบเส้นสาย ความโค้ง ไปจนถึงงานก่อสร้างหลายชั้น ตอบโจทย์งานสถาปัตยกรรมล้ำสมัย อีกทั้งยังสามารถใช้ในงานอนุรักษ์ที่ช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเล เสริมศักยภาพการแข่งขันให้กับภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างของไทยในเวทีโลก

TORA S-ONE: นวัตกรรมเครื่องพ่นฉาบปูนระบบดีเซลที่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้อย่างก้าวกระโดด 

โดยเพิ่มความเร็วในการฉาบผนังปูนซีเมนต์ได้ถึง 40% และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้วัสดุให้คุ้มค่าสูงสุด 

ช่วยยกระดับมาตรฐานงานก่อสร้างไทยสู่ความเป็นเลิศ แก้ปัญหาขาดแคลนทักษะฝีมือแรงงาน

SCG International: ผู้นำด้านโซลูชัน Supply Chain แบบครบวงจร เพื่อช่วยพันธมิตรลดคาร์บอนและยกระดับศักยภาพการแข่งขัน ด้วยบริการครบวงจร (End-to-End Solutions) ที่ครอบคลุมตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ 

การขนส่ง ไปจนถึงการส่งมอบสินค้าถึงมือลูกค้า โดยคำนึงถึงการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่อุปทาน

Saraburi Sandbox: ต้นแบบเมืองคาร์บอนต่ำที่แสดงให้เห็นถึงการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมกรีนของเอสซีจีมาประยุกต์ใช้ในบริบทจริง เป็นแหล่งเรียนรู้และแรงบันดาลใจสำหรับภาคอุตสาหกรรม สังคม ชุมชน                            และสิ่งแวดล้อม

 

 

 

นอกจากการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์แล้ว เอสซีจียังมุ่งมั่นลงทุนในกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

อย่างต่อเนื่อง โดยได้เพิ่มสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงชีวมวล เช่น แกลบและฟางข้าว แทนเชื้อเพลิงฟอสซิลในสัดส่วนกว่า 

45% พร้อมทั้งเพิ่มการใช้พลังงานสะอาดอย่างพลังงานแสงอาทิตย์ให้สูงถึง 40% และนำลมร้อนเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมาย Net Zero ในปี 2593 (ค.ศ. 2050) การเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำไม่ใช่เพียงแค่การปรับตัวเพื่ออยู่รอด แต่เป็นการสร้างการยอมรับและการกำหนดมาตรฐานใหม่ เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการแข่งขันในระยะยาว เอสซีจีมองว่านี่คือโอกาสเชิงกลยุทธ์ที่จะยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของอุตสาหกรรมทั้งในไทย อาเซียน และระดับโลก พร้อมผลักดันให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์และการก่อสร้างอย่างยั่งยื

 

อีกหนึ่งไฮไลท์พิเศษของงานในปีนี้ คือ ของที่ระลึก "ช้างปูนปั้น" ที่ผลิตจากปูนต้นแบบ "ปูนเอสซีจี LC3" แก่ผู้ร่วมบรรยาย เพื่อสื่อถึงความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมและ Soft Power ของไทยผ่านสัญลักษณ์ประจำชาติไทย แสดงให้เห็นถึงการผสานอย่างลงตัวระหว่างเทคโนโลยีล้ำสมัยและเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติไทย

 

ภายในงาน INTERCEM Asia 2025 ผู้เข้าร่วมจะได้รับฟังวิสัยทัศน์เชิงลึกเกี่ยวกับทิศทางและแนวโน้มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในระดับโลก โดยตัวแทนจากเอสซีจี คุณมนสิช สาริกะภูติ Chief Innovation & Technology Officer ธุรกิจเอสซีจี ซีเมนต์แอนด์กรีนโซลูชันส์ นำเสนอในหัวข้อเรื่อง SCG’s Inclusive Green Growth: มุมมองเชิงกลยุทธ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นความยั่งยืนและนวัตกรรมปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำ 

และคุณเจริญชัย เฉลียวเกรียงไกร Bio-Circular Business Director ธุรกิจเอสซีจี ซีเมนต์แอนด์กรีน

โซลูชันส์ และประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรี ในหัวข้อเรื่อง Saraburi Sandbox: ต้นแบบเมืองคาร์บอนต่ำ 

ที่แสดงให้เห็นถึงการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมกรีนของเอสซีจี มาประยุกต์ใช้ในบริบทจริง 

 

ด้านคุณสุรชัย นิ่มละออ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเอสซีจี ซีเมนต์แอนด์กรีนโซลูชันส์ ฉายภาพรวมของ

"INTERCEM Asia 2025 จะเป็นเวทีสำคัญในการเริ่มต้นสร้างการยอมรับและกำหนดมาตรฐานใหม่ของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในภูมิภาคอาเซียน ทั้งในด้านการพัฒนาสูตรมาตรฐานของปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำในระดับภูมิภาคอาเซียน 

การสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียนในโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ และการสร้างความร่วมมือจากนานาประเทศหรือสตาร์ทอัพในการลงทุนด้านเทคโนโลยี CCUS (Carbon Capture, Utilization & Storage) ในฐานะผู้นำอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

ที่มีฐานการผลิตระดับภูมิภาคและเครือข่ายส่งออกทั่วโลก เอสซีจีตระหนักดีว่าการเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำไม่ใช่เพียงความท้าทาย แต่เป็นโอกาสเชิงกลยุทธ์ในการยกระดับขีดความสามารถการแข่งขัน และก้าวสู่ความเป็นผู้นำในเวทีโลก การเป็นเจ้าภาพร่วมงาน INTERCEM Asia 2025 จึงเป็นก้าวสำคัญที่สะท้อนถึงศักยภาพ วิสัยทัศน์ และความมุ่งมั่นของเอสซีจีในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทยและอาเซียนให้เติบโตอย่างยั่งยืน และมี

 

ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม"