วันเสาร์ ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2567 12:33 น.

การเงิน หุ้น

“Innovation Bazaar” ครบเครื่องจับคู่ธุรกิจ พร้อมสินเชื่อพิเศษจาก SME D Bank

วันอังคาร ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2562, 08.16 น.

“Innovation Bazaar” ครบเครื่องจับคู่ธุรกิจ
พร้อมสินเชื่อพิเศษจาก SME D Bank


ครั้งแรกยกทัพผลงานวิจัยเทคโนโลยีนวัตกรรม ม.อ. ในงาน“Innovation Bazaar” จัดยิ่งใหญ่ครบเครื่องจับคู่ธุรกิจ พร้อมสินเชื่อดอกเบี้ยพิเศษจาก SME D Bank


นายพงชาญ  สำเภาเงิน  รองกรรมการผู้จัดการ รักษาการแทนกรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(ธพว.)หรือ SME D Bank เปิดเผยว่า ธนาคาร ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(ม.อ.) จัดกิจกรรม Innovation Bazaar ซึ่งเป็นงานใหญ่ประจำปี รวบรวมผลงานเทคโนโลยีนวัตกรรมของคณาจารย์ ม.อ. ตอบโจทย์ความต้องการโลกยุค 4.0 รวม  5 ด้านกว่า 50 ชิ้นงาน  ทั้งผลงานวิจัยด้านการแพทย์ (Medical Hub) ด้าน IOT&Digital ด้านอาหารเพื่ออนาคต  (Food และ Feed for Future) ด้านพลังงาน (Energy)  ด้านเกษตร และประมง  (Agriculture และ Fishery)  ทั้งนี้เป็นความร่วมมือกับกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมหน่วยงานเครือข่ายในสังกัดที่มีเป้าหมายยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี   ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมติดปีกธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต เหมาะแก่ผู้ประกอบการที่มีแนวคิดหรือผู้บริหารภาคอุตสาหกรรมที่เฟ้นหาผลงานวิจัยสำหรับสร้างมูลค่าเพิ่มให้ธุรกิจ ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐและภาคการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อต่อยอดต่อไป

 

 

ทั้งนี้ กิจกรรมจะจัดวันที่ 20 - 21 มิถุนายน 2562 ณ สำนักงานใหญ่ SME D Bank   ถนนพหลโยธิน ( ติดสถานีBTS อารีย์) ภายในงานจะประกอบด้วยการบรรยายพิเศษจากวิทยากรชั้นแนวหน้าของเมืองไทย ด้านการนำผลงานวิจัยไป   ต่อยอดธุรกิจ  ได้แก่ 1. บรรยายเรื่องบทบาทและนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์     กับการพัฒนาภาคเอกชนโดย ผศ.นพ.สุนทร วงษ์ศิริ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ม.อ.  2.บรรยายเรื่องการพัฒนาภาคเอกชนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผ่านกลไกของอุทยานวิทยาศาสตร์โดยผศ.ดร.อัครวิทย์   กาญจนโอภาษ   ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)   นอกจากนี้ ยังมีตัวอย่างผู้ประสบความสำเร็จจากการนำนวัตกรรมไปก่อเกิดมูลค่าเพิ่ม   โดยนายพฤฒิ เกิดชูชื่น กรรมการผู้จัดการ   บริษัท แดรี่โฮม จำกัด บรรยายเรื่อง “นมโพรไบโอติกส์  Dairy Home  จากผลงานวิจัยสู่ธุรกิจมีราคาสูง”  

นอกจากนี้ภายในงานจะมีการเสวนาผลงานวิจัยและนวัตกรรม  5 คลัสเตอร์ จากวิทยากรเจ้าของผลงานวิจัยโดยตรง เพื่อแนะนำข้อมูลเชิงเทคนิคและแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลงานวิจัยให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้ 

1.คลัสเตอร์ Medical Hub อาทิ ชุดรองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียมสำหรับผู้ป่วยที่มีการผ่าตัดเปิดทวารเทียมบริเวณหน้าท้องโครงสร้างโพลิเมอร์สามมิติชนิดสลายตัวได้ใช้ทางทันตกรรม แผ่นมาร์คหน้าและแผ่นแปะสิวจากบัวบกและว่านหางจระเข้ ไบโอแคลเซียมจากและผงไฮโดรไลซ์คอลลาเจนจากเศษเหลือในอุตสาหกรรมอาหารทะเล สารสกัดอัลฟาแมงโกสตินเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมยาและเครื่องสำอาง เป็นต้น
2. คลัสเตอร์ IOT และ Digital นำเสนอผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการที่ทำให้ชีวิตง่ายขึ้น Smart ขึ้นในยุค Thailand 4.0   ไม่ว่าจะเป็นระบบติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วม  (Smart Environment)   ซึ่งเป็นระบบวัดระดับน้ำ คุณภาพน้ำ  และปริมาณน้ำฝนให้กับเมืองต่างๆ ระบบ Smart Farmหรือ การทำเกษตรอัจฉริยะเป็นการประยุกต์และผสมผสานเทคโนโลยีหลายๆ  ชนิด  เพื่อให้เจ้าของไร่   หรือผู้จัดการฟาร์ม สามารถเฝ้าติดตาม  ความเป็นไปภายในไร่จากอินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ โดยอาศัยเทคโนโลยี Multi-functional and  Multi-dimensional Sensors, Smart Lighting เพื่อใช้เปิด-ปิดไฟ เพื่อประโยชน์ในการประหยัดพลังงาน และด้านความปลอดภัย เป็นต้น
3. คลัสเตอร์ Food  และ  Feed for Future อาทิ ผลงานวิจัย Synplus  อาหารเสริมโภชนาการสำหรับผู้ป่วยไต ผลิตภัณฑ์จากน้ำผลไม้แช่อิ่ม  ชุดตรวจวัดฟอร์มาลีนในอาหารเครื่องดื่มข้าวซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับข้าวไทย     สายพันธุ์ที่มีราคาต่ำ ผงลาบน้ำตกเสริมกาบา เป็นต้นซึ่งเป็นนวัตกรรมอาหารเพื่ออนาคตเหมาะแก่ยุค Thailand 4.0 ทั้งสิ้น
4. คลัสเตอร์ Energy อาทิ ผลงานวิจัยกังหันลมแนวแกนตั้งแผงรับแสงอาทิตย์แบบรางพาราโบลาวงจรพิโซอิเล็กทริก สำหรับการเก็บพลังงานไฟฟ้า การวิเคราะห์หาปริมาณเอสเตอร์ในไบโอดีเซลโดยการไทเทรต เป็นต้นซึ่งงานวิจัยดังกล่าวถือเป็นงานวิจัยพลังงานทางเลือกใหม่สำหรับยุคที่กำลังประสบปัญหาด้านพลังงานอย่างยิ่ง
และ 5.  คลัสเตอร์ Agriculture  และ  Fishery อาทิ ผลงานวิจัยการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการชีวภาพ ชุดทดสอบสังกะสีในดิน โฟมยางล่อแมลง น้ำตาลคิวบราซิทอลจากซีรั่มน้ำยางพารา และแผ่นกาวจากยางพาราต้านจุลินทรีย์  เป็นต้น

นอกจากการเสวนาจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญเจ้าของผลงานโดยตรงเพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานได้ค้นหาไอเดียสร้างแรงบันดาลใจต่อยอดธุรกิจแล้ว  ยังมีการนำผลงานโดดเด่นทั้งหมดกว่า 50 ผลงาน มาจัดแสดงนิทรรศการเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้และเข้าใจในผลิตภัณฑ์ผลงานวิจัยอย่างแท้จริง รวมถึงได้จัดห้องเจรจาจับคู่ธุรกิจ(Business Matching)สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีหรือภาคอุตสาหกรรมที่สนใจในแต่ละผลงานเจรจาต่อรายด้วย พร้อมรับสิทธิประโยชน์พิเศษที่จะทำผลงานวิจัยไปทดสอบตลาดได้ฟรี อีกทั้ง มีบริการปรึกษาแนะนำสินเชื่อดอกเบี้ยพิเศษจาก SME D Bank สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียนหรือเงินเริ่มต้นปรับปรุงกิจการเพื่อต่อยอดธุรกิจเติบโตต่อไป

 
 
ครั้งแรกยกทัพผลงานวิจัยเทคโนโลยีนวัตกรรม ม.อ. ในงาน“Innovation Bazaar” จัดยิ่งใหญ่ครบเครื่องจับคู่ธุรกิจ พร้อมสินเชื่อดอกเบี้ยพิเศษจาก SME D Bank
 
นายพงชาญ  สำเภาเงิน  รองกรรมการผู้จัดการ รักษาการแทนกรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(ธพว.)หรือ SME D Bank เปิดเผยว่า ธนาคาร ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(ม.อ.) จัดกิจกรรม Innovation Bazaar ซึ่งเป็นงานใหญ่ประจำปี รวบรวมผลงานเทคโนโลยีนวัตกรรมของคณาจารย์ ม.อ. ตอบโจทย์ความต้องการโลกยุค 4.0 รวม  5 ด้านกว่า 50 ชิ้นงาน  ทั้งผลงานวิจัยด้านการแพทย์ (Medical Hub) ด้าน IOT&Digital ด้านอาหารเพื่ออนาคต  (Food และ Feed for Future) ด้านพลังงาน (Energy)  ด้านเกษตร และประมง  (Agriculture และ Fishery)  ทั้งนี้เป็นความร่วมมือกับกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมหน่วยงานเครือข่ายในสังกัดที่มีเป้าหมายยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี   ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมติดปีกธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต เหมาะแก่ผู้ประกอบการที่มีแนวคิดหรือผู้บริหารภาคอุตสาหกรรมที่เฟ้นหาผลงานวิจัยสำหรับสร้างมูลค่าเพิ่มให้ธุรกิจ ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐและภาคการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อต่อยอดต่อไป
 
ทั้งนี้ กิจกรรมจะจัดวันที่ 20 - 21 มิถุนายน 2562 ณ สำนักงานใหญ่ SME D Bank   ถนนพหลโยธิน ( ติดสถานีBTS อารีย์) ภายในงานจะประกอบด้วยการบรรยายพิเศษจากวิทยากรชั้นแนวหน้าของเมืองไทย ด้านการนำผลงานวิจัยไป   ต่อยอดธุรกิจ  ได้แก่ 1. บรรยายเรื่องบทบาทและนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์     กับการพัฒนาภาคเอกชนโดย ผศ.นพ.สุนทร วงษ์ศิริ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ม.อ.  2.บรรยายเรื่องการพัฒนาภาคเอกชนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผ่านกลไกของอุทยานวิทยาศาสตร์โดยผศ.ดร.อัครวิทย์   กาญจนโอภาษ   ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)   นอกจากนี้ ยังมีตัวอย่างผู้ประสบความสำเร็จจากการนำนวัตกรรมไปก่อเกิดมูลค่าเพิ่ม   โดยนายพฤฒิ เกิดชูชื่น กรรมการผู้จัดการ   บริษัท แดรี่โฮม จำกัด บรรยายเรื่อง “นมโพรไบโอติกส์  Dairy Home  จากผลงานวิจัยสู่ธุรกิจมีราคาสูง”  
 
นอกจากนี้ภายในงานจะมีการเสวนาผลงานวิจัยและนวัตกรรม  5 คลัสเตอร์ จากวิทยากรเจ้าของผลงานวิจัยโดยตรง เพื่อแนะนำข้อมูลเชิงเทคนิคและแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลงานวิจัยให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้ 
 
1.คลัสเตอร์ Medical Hub อาทิ ชุดรองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียมสำหรับผู้ป่วยที่มีการผ่าตัดเปิดทวารเทียมบริเวณหน้าท้องโครงสร้างโพลิเมอร์สามมิติชนิดสลายตัวได้ใช้ทางทันตกรรม แผ่นมาร์คหน้าและแผ่นแปะสิวจากบัวบกและว่านหางจระเข้ ไบโอแคลเซียมจากและผงไฮโดรไลซ์คอลลาเจนจากเศษเหลือในอุตสาหกรรมอาหารทะเล สารสกัดอัลฟาแมงโกสตินเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมยาและเครื่องสำอาง เป็นต้น
2. คลัสเตอร์ IOT และ Digital นำเสนอผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการที่ทำให้ชีวิตง่ายขึ้น Smart ขึ้นในยุค Thailand 4.0   ไม่ว่าจะเป็นระบบติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วม  (Smart Environment)   ซึ่งเป็นระบบวัดระดับน้ำ คุณภาพน้ำ  และปริมาณน้ำฝนให้กับเมืองต่างๆ ระบบ Smart Farmหรือ การทำเกษตรอัจฉริยะเป็นการประยุกต์และผสมผสานเทคโนโลยีหลายๆ  ชนิด  เพื่อให้เจ้าของไร่   หรือผู้จัดการฟาร์ม สามารถเฝ้าติดตาม  ความเป็นไปภายในไร่จากอินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ โดยอาศัยเทคโนโลยี Multi-functional and  Multi-dimensional Sensors, Smart Lighting เพื่อใช้เปิด-ปิดไฟ เพื่อประโยชน์ในการประหยัดพลังงาน และด้านความปลอดภัย เป็นต้น
 
3. คลัสเตอร์ Food  และ  Feed for Future อาทิ ผลงานวิจัย Synplus  อาหารเสริมโภชนาการสำหรับผู้ป่วยไต ผลิตภัณฑ์จากน้ำผลไม้แช่อิ่ม  ชุดตรวจวัดฟอร์มาลีนในอาหารเครื่องดื่มข้าวซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับข้าวไทย     สายพันธุ์ที่มีราคาต่ำ ผงลาบน้ำตกเสริมกาบา เป็นต้นซึ่งเป็นนวัตกรรมอาหารเพื่ออนาคตเหมาะแก่ยุค Thailand 4.0 ทั้งสิ้น
 
4. คลัสเตอร์ Energy อาทิ ผลงานวิจัยกังหันลมแนวแกนตั้งแผงรับแสงอาทิตย์แบบรางพาราโบลาวงจรพิโซอิเล็กทริก สำหรับการเก็บพลังงานไฟฟ้า การวิเคราะห์หาปริมาณเอสเตอร์ในไบโอดีเซลโดยการไทเทรต เป็นต้นซึ่งงานวิจัยดังกล่าวถือเป็นงานวิจัยพลังงานทางเลือกใหม่สำหรับยุคที่กำลังประสบปัญหาด้านพลังงานอย่างยิ่ง
 
และ 5.  คลัสเตอร์ Agriculture  และ  Fishery อาทิ ผลงานวิจัยการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการชีวภาพ ชุดทดสอบสังกะสีในดิน โฟมยางล่อแมลง น้ำตาลคิวบราซิทอลจากซีรั่มน้ำยางพารา และแผ่นกาวจากยางพาราต้านจุลินทรีย์  เป็นต้น
 
นอกจากการเสวนาจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญเจ้าของผลงานโดยตรงเพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานได้ค้นหาไอเดียสร้างแรงบันดาลใจต่อยอดธุรกิจแล้ว  ยังมีการนำผลงานโดดเด่นทั้งหมดกว่า 50 ผลงาน มาจัดแสดงนิทรรศการเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้และเข้าใจในผลิตภัณฑ์ผลงานวิจัยอย่างแท้จริง รวมถึงได้จัดห้องเจรจาจับคู่ธุรกิจ(Business Matching)สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีหรือภาคอุตสาหกรรมที่สนใจในแต่ละผลงานเจรจาต่อรายด้วย พร้อมรับสิทธิประโยชน์พิเศษที่จะทำผลงานวิจัยไปทดสอบตลาดได้ฟรี อีกทั้ง มีบริการปรึกษาแนะนำสินเชื่อดอกเบี้ยพิเศษจาก SME D Bank สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียนหรือเงินเริ่มต้นปรับปรุงกิจการเพื่อต่อยอดธุรกิจเติบโตต่อไป