การเงิน หุ้น
กนง. ลดดอกเบี้ยมาที่ 1.75% และส่งสัญญาณว่านโยบายการเงินจะผ่อนคลายขึ้น SCB FM มอง กนง. จะลดดอกเบี้ยต่อ และบาทอาจอ่อนค่า
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

กนง. ลดดอกเบี้ยมาที่ 1.75% และส่งสัญญาณว่านโยบายการเงินจะผ่อนคลายขึ้น SCB FM มอง กนง. จะลดดอกเบี้ยต่อ และบาทอาจอ่อนค่า
กลุ่มงานตลาดการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB Financial Markets: SCB FM) เปิดเผยว่า กนง. ลดดอกเบี้ยมาที่ 1.75% โดยหลังผลการประชุม เงินบาทยังเคลื่อนไหวในกรอบแคบเพราะตลาดได้คาดการณ์ไว้แล้ว สำหรับในระยะต่อไป กนง. ส่งสัญญาณว่าอาจลดดอกเบี้ยต่อได้ แต่ยังไม่ commit ว่าจะลดอีกเมื่อไหร่ ซึ่งทาง SCB FM มองว่า กนง. มีโอกาสลดดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งในปีนี้ โดยอย่างเร็วอาจลดในการประชุมครั้งถัดไปในเดือน มิ.ย. สำหรับมุมมองค่าเงินบาท SCB FM มองว่าในระยะสั้น เงินบาทอาจอ่อนค่าจาก Tariffs ที่อาจปรับสูงขึ้นอีก ทำให้เศรษฐกิจไทยอ่อนแอลง และคาดว่าจะมี Dividend payout ในช่วงนี้ สำหรับในระยะยาว เงินบาทมีแนวโน้มกลับมาแข็งค่าขึ้นได้ตามทิศทางการอ่อนค่าของดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐ และการ Diversify portfolio ของนักลงทุนออกจากสินทรัพย์สหรัฐฯ รวมถึง ราคาทองคำที่มีแนวโน้มสูงต่อเนื่อง ขณะที่ราคาน้ำมันอาจลดลง ซึ่งจะช่วยหนุนให้เงินบาทแข็งค่าได้ สำหรับประเด็นที่ Moody's ratings ปรับ Outlook ของไทยจาก “Stable” เป็น “Negative” พบว่า ผลกระทบต่อตลาดการเงินไทยยังจำกัด โดยค่าเงินบาทยังเคลื่อนไหวในกรอบแคบ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยยังทรงตัว และเงินทุนเคลื่อนย้ายโดยรวมในเดือน เม.ย. ยังไหลเข้าตลาดบอนด์ไทย
นายวชิรวัฒน์ บานชื่น นักกลยุทธ์ตลาดการเงินอาวุโส สายงานตลาดการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า กนง. ลดดอกเบี้ยตามความคาดหมายของตลาด โดยมีมติ 5 ต่อ 2 ให้ลดดอกเบี้ยลง 25 bps มาอยู่ที่ 1.75% เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มปรับลดลงและมีความเสี่ยงด้านต่ำ(Downside risk) เพิ่มขึ้นจากมาตรการ Tariffs ในต่างประเทศ อีกทั้ง กนง. มองว่าเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มต่ำกว่ากรอบเป้าหมายจากราคาน้ำมันดิบโลกที่ลดลงและมาตรการภาครัฐที่ช่วยบรรเทาค่าครองชีพ นอกจากนี้ กนง. ได้ประเมินผลกระทบของมาตรการภาษีนำเข้าของต่างประเทศ และจัดทำเป็น 2 Scenarios 1) กรณีที่การเจรจาทางการค้ามีความยืดเยื้อและภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ใกล้เคียงกับอัตราปัจจุบัน เศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัวราว 2.0% และ 2) หากสงครามการค้ารุนแรงมาก และภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ สูงขึ้น อาจทำให้เศรษฐกิจไทยปีนี้โตราว 1.3%
หลังผลการประชุม เงินบาทยังเคลื่อนไหวในกรอบแคบ โดยอยู่ที่ราว 33.35-33.45 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย (Government bond yields) ยังทรงตัวเช่นกัน โดย Yields ระยะ 2 ปี อยู่ที่ราว 1.54% ส่วน Yields ระยะ 10 ปี อยู่ที่ราว 1.88% ซึ่ง Reaction ในตลาดการเงินไทยที่น้อยนี้เป็นเพราะนักลงทุนส่วนใหญ่ได้คาดการณ์การลดดอกเบี้ยของ กนง. ในครั้งนี้ไว้แล้ว และคาดว่าจะยังมีลดดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งภายในปีนี้ โดยการลดครั้งถัดไปอาจเป็นการประชุมเดือน มิ.ย. (การประชุมครั้งหน้า)
นายวชิรวัฒน์ ประเมินว่า กนง. ส่งสัญญาณว่าอาจลดดอกเบี้ยต่อได้ แต่ยังไม่ commit ว่าจะลดอีกเมื่อไหร่ โดยเลขาฯ กนง. กล่าวว่า Stance นโยบายการเงินของกรรมการโดยรวมมีทิศทางที่ผ่อนคลายขึ้น (accommodative) จากเดิมที่มีมุมมองแบบเป็นกลาง (Neutral) ซึ่งอาจตีความได้ว่ามีโอกาสที่ กนง. จะลดดอกเบี้ยต่อได้ อย่างไรก็ดี ด้วยอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยระยะยาวในอดีต และต่ำกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค จึงทำให้ Policy space ของไทยเหลืออยู่ไม่มาก ซึ่งเป็นประเด็นที่คณะกรรมการอีก 2 ท่านที่โหวตคงดอกเบี้ยในครั้งนี้กังวล
นอกจากนี้ Moody's ratings คงอันดับเครดิตของไทย (ประเภท Senior unsecured bond) ไว้ที่ Baa1 แต่ปรับแนวโน้ม (Outlook) ของไทยจาก “Stable” เป็น “Negative” โดยมีสาเหตุจาก 1) เศรษฐกิจไทยที่อ่อนแอลง ซึ่งเป็นผลจากนโยบายภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพาการส่งออกโดยตรง 2) ภาคการคลังที่อ่อนแอลงตั้งแต่วิกฤต Covid และมีแนวโน้มอ่อนแอลงต่อ โดยคาดว่าหนี้สาธารณะอาจสูงขึ้นจากเศรษฐกิจที่อ่อนแอ 3) เหตุการณ์แผ่นดินไหวส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยวที่อาจลดลง และ 4) แนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาว (Potential growth) ปรับลดลง
ผลกระทบจากการปรับของ Moody’s ต่อตลาดการเงินไทยในวันนี้ยังค่อนข้างจำกัด โดยในช่วงก่อน กนง. ลดดอกเบี้ย ค่าเงินบาทยังเคลื่อนไหวในกรอบแคบ ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย (Government bond yields) ยังทรงตัวและไม่เห็นสัญญาณการเทขายในตลาด ส่วน Credit default swap (CDS) ของไทยก็ยังทรงตัว ด้านเงินทุนเคลื่อนย้าย พบว่าไหลออกจากตลาดพันธบัตรรัฐบาลไทยเล็กน้อยในวันนี้ แต่โดยรวมในเดือน เม.ย. พบว่ามีเงินไหลเข้าตลาดบอนด์ไทยถึง 5.6 หมื่นล้านบาท
แม้ Reactions ของการประชุม กนง. ในรอบนี้จะน้อย แต่ความผันผวนของเงินบาท (Historical volatility) ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมายังอยู่ในระดับสูง โดยสูงเป็นลำดับที่ 3 ของภูมิภาค ตามหลังเพียงเงินเยนและเงินวอน ซึ่ง SCB FM มองว่าในระยะต่อไปจะยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เงินบาทผันผวนสูงต่อไปได้ เพราะความคืบหน้าของการเจรจาการค้าระหว่างไทย-สหรัฐฯ ยังน้อย ประกอบกับยังมีความไม่แน่นอนในเรื่องนโยบายการคลังและการกู้ยืมเงินของรัฐบาล
สำหรับมุมมองในระยะต่อไป นายวชิรวัฒน์มองว่า กนง. มีโอกาสลดดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งในปีนี้ โดยอย่างเร็วอาจลดในการประชุมครั้งถัดไปในเดือน มิ.ย. ซึ่งเป็นมุมมองที่สอดคล้องกับการ Price-in ในตลาด interest rate swap ในส่วนมุมมองค่าเงิน ในระยะสั้น (ไตรมาสที่ 2 นี้) เงินบาทอาจอ่อนค่าในกรอบ 33.50-34.50 เนื่องจาก 1) สหรัฐฯ อาจกลับมาขึ้น Tariffs บางส่วนหลังผ่านไป 90 วัน ทำให้เงินเอเชียรวมถึงบาทอาจอ่อนค่า และดัชนีเงินดอลลาร์อาจกลับมาแข็งค่าบ้าง 2) เลขเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มแย่ลง และ กนง. มีแนวโน้มลดดอกเบี้ยต่อในปีนี้ 3) สกุลเงินเอเชียอาจอ่อนค่าเทียบต่อดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากค่าเงินจะช่วยบรรเทาผลจาก Tariffs ได้บางส่วน โดยธนาคารกลางอาจตั้งใจปล่อยให้ค่าเงินอ่อน และ 4) Dividend payout รวมถึงฤดูกาลท่องเที่ยวที่หมดลง
สำหรับในระยะยาว เงินบาทมีแนวโน้มกลับมาแข็งค่าขึ้นได้ตามทิศทางการอ่อนค่าของดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยมองกรอบราว 32.50-33.50 ณ สิ้นปีนี้ เนื่องจาก 1) เงินดอลลาร์อาจอ่อนค่าจากความเชื่อมั่นต่อสินทรัพย์สหรัฐฯ ที่ลดลง โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่อ่อนแอลงทำให้ Fed อาจลดดอกเบี้ย 3 ครั้งในครึ่งปีหลัง 2) สกุลเงินหลักอื่นมีแนวโน้มแข็งค่าเทียบดอลลาร์ เช่น เงินยูโรแข็งค่าจากเงินทุนไหลกลับเข้ายุโรป ตามแนวโน้มมาตรการกระตุ้นและนักลงทุน Diversify portfolio ออกจากสินทรัพย์สหรัฐฯ และ 3) ราคาทองมีแนวโน้มสูงต่อเนื่อง ขณะที่ราคาน้ำมันลดลง ช่วยหนุนให้เงินบาทแข็งค่าได้
ในระยะต่อไปมีโอกาสสูงที่ Credit rating agency อาจปรับลดอันดับเครดิตเรตติ้งของไทยลง ซึ่งอาจทำให้ Yields ระยะยาวของไทยอาจเผชิญแรงกดดันด้านสูงได้ อย่างไรก็ดี คาดว่าจะไม่รุนแรงเนื่องจาก อันดับความน่าเชื่อถือของไทยจะยังอยู่ในระดับ Investment grade แม้ว่าอาจถูกปรับลง 1 notch ก็ตาม ส่วน Yields ระยะสั้น คาดว่าจะยังอยู่ในระดับต่ำต่อไปตามแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของ กนง. และเศรษฐกิจไทยที่มีความเสี่ยงด้านต่ำ (Downside risks) มากขึ้น
โดย : นายวชิรวัฒน์ บานชื่น
นักกลยุทธ์ตลาดการเงินอาวุโส สายงานตลาดการเงิน
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
Line : @scbfx
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
หน้าแรก » การเงิน หุ้น
ข่าวในหมวดการเงิน หุ้น ![]()
“MOSHI” จัดประชุม E-AGM ประจำปี 2568 อนุมัติจ่ายปันผลในอัตรา 0.80 บาทต่อหุ้น 18:10 น.
- SUPER ปลื้ม! BBL สนับสนุนวงเงิน 1,485 ลบ.พร้อมเคลียร์หุ้นกู้ตามนัด 18:01 น.
- ผู้ถือหุ้น ORN อนุมัติจ่ายปันผล 0.02 บาท/หุ้น 17:07 น.
- ทีทีบี พร้อมเป็นพันธมิตรตอบโจทย์เอสเอ็มอีกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร 17:06 น.
- ผถห. SNNP โหวตหนุนจ่ายปันผลเพิ่มอีก 0.35 บ./หุ้น รวมทั้งปีจ่าย 0.60 บ./หุ้น จ่อรับทรัพย์ 21 พ.ค.นี้ 17:05 น.