ไอที
AI สำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
วันจันทร์ ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2566, 12.34 น.
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

AI สำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่ องดื่ม
บทความโดย เทอร์รี สมา, รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่ วไป ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ ปุ่น, บริษัทอินฟอร์ปัญญาประดิษฐ์ (AI) กลายเป็นหัวข้อที่ได้รับการพู ดถึงบ่อยครั้งในปัจจุบัน เพราะ ChatGPT และเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกันกำลังส่งผลต่อชี วิตประจำวันของผู้คน แต่ AI ก็ไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ ต้นกำเนิดของ AI สามารถย้อนกลับไปได้ถึงในช่ วงทศวรรษ 1950 ทั้งนี้ผลจากการวิจัยและพั ฒนาทางเทคโนโลยีที่สั่งสม
มานานหลายทศวรรษจนถึงปัจจุบัน กำลังกลายเป็นกระแสหลักและสร้ างความแตกต่างอย่างแท้จริงสำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่ องดื่มก็เช่นกัน ธุรกิจจำนวนมากขึ้นกำลังเก็บเกี่ ยวประโยชน์ต่าง ๆ จากเทคโนโลยี AI พร้อมกันนี้มีการคาดการณ์ว่า ตลาด AI ในภาคอาหารและเครื่องดื่มจะมีมู ลค่าสูงถึง 29.94 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2571 ดังนั้นจึงคาดว่าธุรกิ จอาหารและเครื่องดื่มที่ลงทุนใน AI จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ ชัด แต่ก็ยังคงมีความสับสนอย่ างมากว่าแท้จริงแล้ว AI คืออะไร ทำงานอย่างไร และเป็นประโยชน์ต่ อภาคอาหารและเครื่องดื่มอย่างไร
AI คืออะไร แมชชีนเลิร์นนิงคืออะไร
AI คือความสามารถของคอมพิวเตอร์หรื อเครื่องจักร ที่สามารถลอกเลียนหรือเลี ยนแบบพฤติกรรมอันชาญฉลาดและปฏิบัติงานได้เหมื อนมนุษย์ โดยสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ที่ต้องใช้ความสามารถในการเรียนรู้ของมนุษย์ เช่น การคิด การใช้เหตุผล การเรียนรู้จากประสบการณ์ และที่สำคัญที่สุดคือการตัดสินใจได้เองส่วนแมชชีนเลิร์นนิง (Machine Learning - ML) นั้นเป็นส่วนหนึ่งของ AI ที่สามารถเรียนรู้และปรับเปลี่ ยนได้โดยไม่ต้องตั้งโปรแกรมหรื อช่วยทำ แมชชีนเลิร์นนิงใช้อัลกอริธึ มและแบบจำลองทางสถิติในการวิ เคราะห์ข้อมูลอย่างชาญฉลาด โดยวินิจฉัยจากรูปแบบข้อมูลเพื่ อเป็นแนวทางในการดำเนินการขั้ นต่อไปAI เหมาะสำหรับอุ ตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ มในด้านใดพูดง่าย ๆ ก็คือ AI (เฉพาะส่วนแมชชีนเลิร์นนิง) มีความสามารถในการเพิ่มประสิทธิ ภาพการผลิตอาหารทุกด้าน ทำให้แอปพลิเคชันอัจฉริยะที่ ออกแบบเฉพาะสำหรับแต่ละอุ ตสาหกรรม สามารถปรับปรุงระบบ
ห่วงโซ่อุปทานได้ทุกจุดตั้งแต่ แหล่งกำเนิดไปจนถึงมือผู้บริโภค ช่วยสร้างระบบห่วงโซ่อุปทานที่ มีความคล่องตัวและขับเคลื่อนให้มี รายได้เพิ่มขึ้นส่วนแมชชีนเลิร์นนิงสามารถให้ คำแนะนำที่แม่นยำและทั นเวลาสำหรับระบบห่วงโซ่อุ ปทานได้เกือบทุกด้าน ด้วยความสามารถในการคำนวณค่าข้ อมูล พารามิเตอร์ สถานการณ์จำลอง และปัจจัยที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ จำนวนมาก ซึ่งท้ายที่สุดแล้วจะทำให้เกิ ดความได้เปรียบในการแข่งขันที่ ยากจะเลียนแบบหากปราศจากการใช้เทคโนโลยี AIมีการใช้แมชชีนเลิร์นนิงในด้ านใดบ้าง

ดูเหมือนว่าอุ ตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ มจะมีการใช้แมชชีนเลิร์นนิงอย่ างไร้ขีดจำกัด เช่น เรื่องเกษตรแม่นยำ (precision farming) ที่แมชชีนเลิร์นนิงสามารถให้ข้ อมูลเชิงลึกใหม่ ๆ ซึ่งอาจเป็นการวิเคราะห์
การเก็บเกี่ยวที่ผ่านมาทั้งในด้ านปริมาณและคุณภาพ ควบคู่ไปกับการพยากรณ์ สภาพอากาศเพื่อกำหนดพื้นที่ และเวลาที่ต้องรดน้ำ หรือเวลาที่ต้องใส่ปุ๋ย เป็นต้น
บริษัทอาหารและเครื่องดื่ มจำนวนมากขึ้นหันมาใช้ AI เพื่อช่วยลดการสูญเสีย และค้นหาความไร้ประสิทธิภาพที่ เกิดขึ้นในระบบห่วงโซ่อุปทานเตรียมพร้อมรับกับทุกสถานการณ์เมื่อไม่นานมานี้ เราอาจพอเข้าใจได้ถึงการที่ธุ รกิจอาหารคิดว่าสิ่งที่แน่นอนที่ สุดคือความไม่นอน แต่ด้วยสภาพอากาศแปรปรวนเพิ่ มขึ้นที่ไม่สามารถคาดเดาได้ แมชชีนเลิร์นนิงจะเข้ามีบทบาทด้ านใดในเรื่องนี้หากไม่มีรูปแบบข้อมูลให้ค้นหา
สิ่งที่แมชชีนเลิร์นนิงทำได้คือ ช่วยให้เข้าใจความเสี่ ยงของสภาพอากาศที่เปลี่ ยนแปลงได้ดีขึ้น รวมถึงผลกระทบที่อาจเกิดต่ อการเก็บเกี่ยวทั่วโลก ซึ่งความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นนี้ จะช่วยให้กำหนดแผนงานที่จำเป็น
ในการลดความเสี่ยงเหล่านี้ได้ แต่ถึงแม้จะมีเทคโนโลยีแมชชี นเลิร์นนิงทันสมัยที่สุดพร้ อมสรรพแล้วก็ตาม เพื่อให้แน่ใจว่ากลยุทธ์เหล่านี้ มีประสิทธิภาพก็ต้องมีความเห็ นพ้องต้องกันด้วย ทั้งนี้ องค์การอาหารและเกษตรแห่ งสหประชาชาติ (FAO) ระบุว่า ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในระบบห่ วงโซ่อุปทานอาหารจะต้องยืดหยุ่ นมากขึ้น ลดการใช้น้ำ พลังงาน และทรัพยากรอื่น ๆ ให้น้อยลง โดยแมชชีนเลิร์นนิ งจะสามารถรองรับ
การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดที่กล่ าวมาได้
ในขณะที่เทคโนโลยีพัฒนาและธุรกิ จต่าง ๆ ค้นพบประโยชน์ของการประยุกต์ใช้ AI ความสามารถของ AI ก็จะยิ่งพัฒนามากขึ้นไปอีก โดยได้รับการปรับปรุงให้เหมาะกั บการแก้ปัญหาเฉพาะของอุ ตสาหกรรมหรือธุรกิจ ดังที่เราได้เห็นแล้วว่ าการประยุกต์ใช้ AI อย่างรอบคอบกำลังช่วยเหลือธุรกิ จต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ ม และในระบบห่วงโซ่อุปทาน ทั้งนี้คาดว่าจะมีการใช้ AI เพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เพราะ AI ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเป็นตั วขับเคลื่อนประสิทธิภาพที่แท้ จริง พร้อมทั้งช่วยให้ธุรกิจวางแผนรั บมือกับเหตุการณ์ทั้งหลายที่ อาจเกิดขึ้น โดยให้ข้อมูลเชิงลึกที่นำไปปฏิ บัติได้จริง ซึ่งจำเป็นต่อการก้าวล้ำนำหน้ าคู่แข่งอยู่ตลอดเวลา
สำหรับประเทศไทย รัฐบาลได้ขับเคลื่อนแผนพั ฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) เพื่อสร้างมูลค่าเศรษฐกิ จในอาเซียนกว่า 1.9 พันล้านล้านบาทในปี 2573 โดยมีโครงการ AI Thailand เป็นหน่วยงานกลางเพื่อการพั ฒนาที่มุ่งสนับสนุนทิศทางการพั ฒนาในทุกด้าน รวมถึงการส่งเสริมการพัฒนา การศึกษา การนำไปใช้ และความปลอดภัยให้เกิดประโยชน์ สูงสุดจากการใช้เทคโนโลยี AI อย่างยั่งยืน
โดยได้ทำการสำรวจธุรกิจใน 10 ภาคส่วน ครอบคลุมผู้ตอบแบบสอบถามจาก 3,529 บริษัท โดยผลการศึกษาพบว่า 15.2% ของธุรกิจได้นำ AI ไปใช้แล้ว 56.7 % มีแผนจะใช้ในอนาคต และ 28.2% ไม่มีแผนใด ๆ ในการใช้ AI
ดังนั้นเพื่อให้บรรลุวัตถุ ประสงค์ดังกล่าว รัฐบาลจึงได้มอบหมายให้สำนั กงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่ อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) จัดทำแผนปฏิบัติการด้านปั ญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพั ฒนาประเทศไทย (พ.ศ. 2565 – 2570) ขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่าเทคโนโลยี AI จะถูกนำไปใช้อย่างมีจริ ยธรรมและความรับผิดชอบ ตลอดจนจัดทำแนวทางการใช้ AI ในภาคส่วนต่าง ๆ นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีเป้าหมายที่จะส่ งเสริมการใช้ AI ในการเกษตรและอาหารเพื่อเพิ่ มผลผลิตและลดต้นทุน โดยเทคโนโลยี AI จะช่วยให้เกษตรกรตัดสินใจเกี่ ยวกับการจัดการพืชผล สุขภาพของดิน และการควบคุมศัตรูพืชได้ดีขึ้น นอกจากนี้
ยังมีการพัฒนา AI สำหรับอาหาร เพื่อปรับปรุงความปลอดภัยและคุ ณภาพของอาหารอีกด้วย
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
หน้าแรก » ไอที
ข่าวในหมวดไอที ![]()
NT ส่งระบบอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์ สนับสนุนชายแดน พร้อมอำนวยความสะดวกส่วนงานความมั่นคงในพื้นที่ 09:59 น.
- เอปสันเผยวิสัยทัศน์ผู้นำตลาด B2B ด้วยสูตรนวัตกรรมผสานความยั่งยืน 08:06 น.
- AIS Business ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและ AI เพื่อองค์กรธุรกิจ เปิดตัวบริการ AIS Cloud 18:29 น.
- AIS ผนึกภาครัฐ หนุนภารกิจความมั่นคง ลงพื้นที่สระแก้ว เสริมศักยภาพเครือข่าย คุมเข้มสัญญาณสื่อสารชายแดนไทย-กัมพูชา 15:13 น.
- NT ร่วมกับ BCPG ผนึกกำลังสร้าง Data Center แห่งอนาคต ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลไทยสู่ความยั่งยืน 07:45 น.