การเมือง
"ส.ส.-ส.ว."ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องเพศสภาพ
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

วันที่ 16 มกราคม 2563 วันที่สี่ของการประชุมฯ นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ สมาชิกวุฒิสภาในฐานะผู้แทนสมาชิกรัฐสภาไทย เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับความเข้าใจและตระหนักในเรื่องเพศสภาพ (Gender Sensitivity Training Workshop) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-16 มกราคม 2563 ณ โรงแรมแลงคาสเตอร์ กรุงเทพฯ
ในช่วงเช้า ที่ประชุมฯ ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องเพศสภาพในเชิงการกำหนดนโยบายรวมทั้งปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละประเทศ และที่ประชุมฯ ได้ร่วมกันนำเสนอแนวทางแก้ไขในแต่ละประเทศ โดยนางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ สมาชิกวุฒิสภา ได้นำเสนอต่อที่ประชุมฯ ว่าประเทศไทยดำเนินการส่งเสริมการไม่เลือกปฏิบัติในทุกด้านอย่างต่อเนื่องโดยมีรัฐธรรมนูญ ฉบับ ปี พ.ศ. 2560 เป็นกฎหมายสูงสุดที่รับรองหลักการนี้ ในส่วนเรื่องการจัดทำงบประมาณก็มีบทบัญญัติ ในมาตรา 71 วรรค 4 ที่กำหนดเป็นนโยบายว่าการจัดทำงบประมาณต้องคำนึงถึงความแตกต่างในเรื่องของปัญหา มิติด้านหญิงชาย (gender-responsive budgeting) ที่ระบุความสำคัญของการดำเนินงานด้านงบประมาณไว้อย่างชัดเจน
ที่ประชุมฯ ชื่นชมประเทศไทยในเรื่องความสำเร็จที่สามารถระบุหลักการเรี่อง Gender Responsive Budgeting ไว้ในรัฐธรรมนูญ เนื่องจากหลายประเทศยังเป็นเพียงนโยบายแต่ยังไม่ได้ระบุในรัฐธรรมนูญ
พร้อมกันนี้นางสาวจิตภัสร์ ตั๊น กฤดากร รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ ในฐานะผู้แทนรัฐสภาไทย ได้เข้าร่วมการประชุมด้วยโดยด้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายและนโยบายที่สร้างความเท่าเทียมกันทางเพศและการส่งเสริมศักยภาพของสตรี มีสาระสำคัญโดยสรุปดังนี้
ประเทศไทยมียุทธศาสตร์การพัฒนาสตรีแห่งชาติ (พ.ศ. 2560-2564) ซึ่งวางแนวทางการพัฒนาความเสมอภาคทางเพศและการเสริมอำนาจสตรี โดยบูรณาการการทำงานบนพื้นฐานของอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (CEDAW) ปฏิญญาปักกิ่งและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งนี้ ในระดับนานาชาติ ประเทศไทยได้ลงนามในอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฯ ฉบับที่ 100 เกี่ยวกับนโยบายการจ้างงานและฉบับที่ 111 เรื่องการเลือกปฏิบัติ (การจ้างงานและอาชีพ)
อนุสัญญา ฉบับที่ 100 ว่าด้วยค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกัน มีจุดมุ่งหมายให้รัฐภาคีคำนึงถึงอัตราค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกันสำหรับแรงงานชายและหญิงในงานที่มีลักษณะเหมือนกัน และอนุสัญญา ฉบับที่ 111 ว่าด้วยการเลือกปฏิบัติ (การจ้างงานและการประกอบอาชีพ) คุ้มครองบุคคลจากการเลือกปฏิบัติในการจ้างงานตามมาตรฐานแรงงานสากลทุกรูปแบบ รัฐสมาชิกที่ให้สัตยาบันอนุสัญญานี้ มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย ห้ามการเลือกปฏิบัติและการกีดกันทุกรูปแบบ รวมถึง เชื้อชาติ สีผิว เพศ ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง
ในการจัดการกับการเลือกปฏิบัติแรงงาน พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2538 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2562) ลูกจ้างจะต้องได้รับการปฏิบัติและอัตราค่าจ้างเท่าเทียมกันไม่เลือกปฏิบัติต่อแรงงาน เนื่องจากความพิการ พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 กำหนดโควต้าการจ้างคนพิการในภาครัฐและเอกชนและให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่นายจ้าง
ทั้งนี้ ประเทศไทยได้ดำเนินการส่งเสริมการไม่เลือกปฏิบัติในทุกด้านอย่างต่อเนื่องโดยมีรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2560 เป็นพื้นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมาตรา ๗๑ วรรคสี่ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ระบุความสำคัญของการดำเนินงานด้านงบประมาณในการจัดทำงบประมาณแบบตอบสนองต่อเพศสภาพ
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
หน้าแรก » การเมือง
Top 5 ข่าวการเมือง ![]()
- บั้นปลายชีวิต"สุวิทย์"ปลีกการเมือง บวชเรียนบาลีจำที่วัดเขาใหญ่ 26 ม.ค. 2564
- 26ม.ค.! ศบค.พบผู้ติดเชื้อโควิดรายใหม่พุ่งปรี๊ด 959 ราย ทั่วโลกยอดสะสม 100 ล้านราย 26 ม.ค. 2564
- "ก.คลัง-ธ.กรุงไทย"สาธิตวิธีลงทะเบียน "เราชนะ" สำหรับกลุ่ม 3 26 ม.ค. 2564
- อธิบดีกรมป่าไม้เตรียมเสนออนุมัติ! สำนักสงฆ์ใช้พื้นที่ป่าไม้ฟรี 15 ไร่ 30 ปี ตามมิติ ครม. 26 ม.ค. 2564
- "นายกฯเยอรมัน" นักการเมืองในอุดมคติที่มีอยู่จริง ของ"ดร.สุวิทย์" 26 ม.ค. 2564
ข่าวในหมวดการเมือง ![]()
ผู้แทนทูตสหรัฐนำคณะพบคณะทีมสร้างไทย "หญิงหน่อย"ยินดีได้"ไบเดน"เป็นปธน.วิถีปชต. 21:18 น.
- "นายกฯเยอรมัน" นักการเมืองในอุดมคติที่มีอยู่จริง ของ"ดร.สุวิทย์" 19:58 น.
- ผู้ว่าฯสมุทรสาครอาการดีขึ้นตามลำดับ ไม่พบเชื้อโควิดในปอดแล้ว 19:02 น.
- "ก.คลัง-ธ.กรุงไทย"สาธิตวิธีลงทะเบียน "เราชนะ" สำหรับกลุ่ม 3 16:24 น.
- ครม.ลดภาษีที่ดินฯ-ขยายเวลายื่นแบบ ภงด.90/91 ออกไป 3 เดือน 15:22 น.