การเมือง
กลุ่มต้าน CPTPP เฮ! กมธ.สภาฯเลื่อนสรุปผลศึกษาออกไปอีก 60 วัน
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

กลุ่มต้าน CPTPP เฮ! กมธ.สภาฯเลื่อนสรุปผลศึกษาออกไปอีก 60 วัน คาดไทยตกขบวนเจรจา 5 สิงหาคมแน่
เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2563 นายวีระกร คำประกอบ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ (กมธ.) ในฐานะประธานการประชุมพิจารณาศึกษาสรุปผลการวิจัย ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบขอขยายระยะเวลาในการศึกษาการเข้าร่วมสมาชิก CPTPP ของประเทศไทยออกไปอีก 60 วัน หลัง จากที่ทางสภาผู้แทนราษฎร พิจารณาเห็นชอบให้มีการตั้งกรรมาธิการ เพื่อศึกษาในประเด็นดังกล่าวโดยใช้กรอบระยะเวลา 30 วัน ซึ่งใกล้จะครบกำหนดในวันที่ 10 กรกฎาคม 2563
ผลจากการประชุมกรรมาธิการฯและการตั้งอนุกรรมาธิการ 3 คณะขึ้นมาเพื่อศึกษาในรายละเอียดที่เกี่ยวข้องทั้งหมด พบว่าระยะเวลาดังกล่าวอาจจะไม่เพียงพอต่อการศึกษาข้อมูลต้องหมดอย่างรอบคอบ ดังนั้น กรรมาธิการฯ จะยื่นเรื่องต่อสภาฯ เพื่อขยายเวลาในการศึกษาออกไป
ทั้งนี้ หลังจากการตั้งอนุกรรมาธิการ 3 คณะฯ ขึ้นมาเพื่อศึกษาในประเด็นหลัก คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านเกษตร และด้านสาธารณสุข ซึ่งเป็นประเด็นที่สังคมให้ความสนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่องของพันธุ์พืช ซึ่งมีผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมากและประเทศไทยก็เป็นประเทศเกษตรกรรม และเพื่อศึกษาให้เกิดความรอบคอบมากที่สุด ทางกรรมาธิการฯ เห็นว่าจำเป็นต้องศึกษาและหาข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หากมีเจรจาเข้าร่วมเป็นสมาชิก ประเทศไทยสามารถไม่นำพืชบางชนิดเข้าร่วมเจรจาได้หรือไม่ เช่น ข้าว หรือแม้กระตั้งการเคลื่อนย้ายแรงงานในอาชีพสำคัญ การตั้งสหภาพแรงงาน การเข้าถึงยา เป็นต้น ซึ่งมีหลายประเด็นที่จะต้องลงลึกในรายละเอียด การขยายเวลาศึกษาจึงเป็นสิ่งสำคัญ
"หากสภาฯเห็นชอบขยายเวลาออกไป คณะอนุกรรมาธิการทั้ง 3 คณะ ก็จะต้องดำเนินการศึกษาผลกระทบ ประโยชน์ในรายละเอียดมากขึ้น เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศและภายหลังครบกำหนดขยายเวลา 60 วันทางกรรมาธิการฯก็จะเสนอผลของข้อสังเกตการณ์ทั้งหมดต่อสภาฯพิจารณา หากไม่มีข้อสงสัยใดก็จะนำข้อมูลที่ได้เสนอต่อรัฐบาลต่อไป หลังจากนั้นก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของรัฐบาลเป็นผู้ตัดสินใจ" นายวีระกร กล่าว
ด้าน นางสาวกรรณิการ์ กิจติเวชกุล รองประธานกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน ในฐานะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาผลกระทบ CPTPP กล่าวว่า จากการประชุมกรรมาธิการ CPTPP ยังมีประเด็นที่จำเป็นต้องศึกษาและลงในรายละเอียดอีกมาก โดยเฉพาะในเรื่องของการตีความในข้อบทต่างๆ เพราะมองว่าสามารถตีความได้หลายแบบ เมื่อเปรียบเทียบกับสถานการณ์ปัจจุบัน
"โดยเฉพาะการตีความพันธุ์พืชยังไม่ชัดเจน ซึ่งอาจจะต้องศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมในการเข้าร่วม UPOV 1991 นอกจากนี้ ปัจจุบันยังพบว่ายังไม่มีประเทศใดขอเข้าร่วมสมาชิก CPTPP แม้กระทั่งอังกฤษเอง แม้จะประกาศว่าสนใจแต่ก็ยังไม่ได้เดินหน้าเข้าร่วมในตอนนี้ ซึ่งมองว่าหลายประเทศที่สนใจก็ยังอยู่ในสถานะที่สนใจเข้าร่วมเท่านั้น ยังไม่มีใครขอเข้าร่วมในตอนนี้ ซึ่งประเทศไทยเองก็อยู่ในสถานะเดียวกันกับหลายประเทศ"
ดังนั้น รัฐบาลควรที่จะฟังความคิดเห็นอย่างครบถ้วนรอบด้านก่อนการพิจารณาและตัดสินใจ อาจจะต้องรอก่อนก็ได้หากการดำเนินการไม่ทันการประชุม CPTPP ในวันที่ 5 สิงหาคม 2563 ที่เม็กซิโก เพราะต้องการให้ประเทศไทยได้ข้อสรุปและความคิดเห็นอย่างรอบด้านภายในก่อน เพื่อพิจารณาตัดสินใจจะเข้าร่วมหรือไม่ นอกจากนี้ ยังมองว่าผลการศึกษาผลดีในการเข้าร่วมยังไม่ครบถ้วนรอบด้าน ขาดในเรื่องของการส่งออกภาคบริการ การลงทุน การแข่งขัน ซึ่งเล็งเห็นว่าจำเป็นที่จะต้องศึกษาในรายละเอียดให้มากกว่านี้ก่อนการตัดสินเข้าร่วมสมาชิกของประเทศไทย
จะให้ความคุ้มครองสิทธิ์และประโยชน์ต่อนักปรับปรุงพันธุ์พืชใหม่ แต่ไม่คุ้มครองต้นทางของสายพันธุ์นั้น ๆ เป็นการเปิดทางต่างชาติให้สามารถละเมิดได้หรือไม่ รวมถึงเรื่องแหล่งกำเนิดสินค้าชิ้นส่วนยานยนต์ที่ญี่ปุ่นจะให้ไทยส่งไปเม็กซิโกทั้งที่ไม่ใช่เส้นทางโลจิสติกส์ แต่ญี่ปุ่นจะไปลงทุน รวมถึงอุตสาหกรรมยาของไทยจะไม่ได้รับประโยชน์ด้านราคายาจากการลดภาษีศุลกากรแหล่งวัตถุดิบยาที่อยู่นอกประเทศสมาชิก CPTPP และสิทธิพิเศษของอุตสาหกรรมสัญชาติไทยลดลงอย่างมาก การจัดซื้อจัดจ้างซึ่งภาครัฐต้องเปิดตลาดให้สมาชิก CPTPP เข้ามาแข่งขันอย่างเท่าเทียม
รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อกรรมาธิการวิสามัญขยายระยะเวลาเช่นนี้ เท่ากับว่าไทยจะยื่นสมัครเข้าร่วมเจรจาในกลุ่ม CPTPP ต่อคณะกรรมาธิการความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP Commission) ไม่ทันกำหนดที่จะจัดขึ้นวันที่ 5 สิงหาคม 2563 ซึ่งคงต้องรอไปอีก 1 ปี
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
หน้าแรก » การเมือง
Top 5 ข่าวการเมือง ![]()
- กมธ.เกษตรฯ วุฒิสภา หนุนใช้ "เช็คแล้ง" แอปสู้ภัยแล้งซ้ำซาก หวังเกษตรกรรอด! 15 ก.ค. 2568
- ครม. ไฟเขียว "พ.ร.บ. ศูนย์กลางการเงิน" 9 หมวด 94 มาตรา ตามที่กฤษฎีกาตรวจร่าง ส่งสภาบรรจุพิจารณาวาระ 1 ทันที 15 ก.ค. 2568
- “ส.ว.ชิบ” จี้คมนาคมเร่งแก้ “เนินช้างร้อง” เส้นทางอันตรายสังขละบุรี 15 ก.ค. 2568
- "แพทองธาร" ร่วมประชุม ครม.เมินตอบปมเขมรเคลม 22 วรรณกรรมไทย 15 ก.ค. 2568
- “นิคม” จี้เร่งดำเนินคดีบุกรุกที่ดินเขากระโดง ชี้หากล่าช้าผู้ว่ารถไฟฯอาจโดนมาตรา157 15 ก.ค. 2568
ข่าวในหมวดการเมือง ![]()
กกต. แจงคดีฮั้ว สว. ยังไม่เข้าสู่การพิจารณา กกต.ชุดใหญ่ ชี้ยังอยู่ในขั้นตอนที่ 1 ชั้นคณะกรรมการสืบสวนฯ 20:47 น.
- ประธานรัฐสภาลงพื้นที่ยะลา เดินหน้า “ยะลาโมเดล” สู่การแก้ปัญหายั่งยืน 17:24 น.
- เคลมอีกแล้ว! เขมรเปิดศึกปลาร้า ซัดไทยใช้ตราสินค้า "ปลาฮกเสียมเรียบ" ที่ขึ้นทะเบียนGIในตลาดต่างประเทศ 17:02 น.
- “DSD เดินหน้าพัฒนาคนพิการ เปิดอบรมทั่วไทยกว่า 70 หลักสูตร ตลอด ก.ค.–ส.ค. 68” 16:40 น.
- "ทวี" พบปะกลุ่มมวลชนพรรคประชาชาติ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ จ.อุบลราชธานี 16:35 น.