การเมือง
"ฐากร-ไทยสร้างไทย" ห่วงข้อมูลคนไทยรั่วไหล จี้กระทรวงดีอีเอสรับผิดชอบ
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

"ฐากร-ไทยสร้างไทย" ห่วงข้อมูลคนไทยรั่วไหล จี้กระทรวงดีอีเอสรับผิดชอบ ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน แนะใช้เทคโนโลยียืนยันตัวตน
เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2566 นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ อดีตเลขาธิการ กสทช. ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพเศรษฐกิจของประเทศ พรรคไทยสร้างไทย โพสต์เฟตบุ๊คส่วนตัวระบุว่าจากกรณีที่มีข่าวในเว็บไซต์ชื่อ Breach Forums ประกาศขายข้อมูลส่วนตัวคนไทย 55 ล้านคน ซึ่งมีตั้งแต่ชื่อ สกุล เบอร์โทรศัพท์ เลขประจำตัวประชาชน ที่อยู่โดยอ้างว่าขโมยจากหน่วยงานของรัฐนั้น ตนเองในนามประธานคณะกรรมการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพเศรษฐกิจของประเทศ พรรคไทยสร้างไทย ขอเสนอแนะรัฐบาลเร่งดำเนินการต่อกรณีดังกล่าวดังนี้
1) ข้อมูลส่วนบุคคล ที่รั่วไหลออกไปนั้น
สคส (สำนักงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล) กระทรวงดีอีเอส มีหน้าที่ดูแลข้อมูลส่วนบุคคลของคนไทยทั้งหมด จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
2) การยืนยันตัวตน (หรือในอุตสาหกรรมการเงินเรียกว่า kyc -know your customer) ในระดับสากล มีสองแบบ คือ จากสิ่งที่คุณมี (what you have) และ จากสิ่งที่คุณเป็น (who you are)
What you have ก็มี เลขบัตรประชาชน เลขรหัสPIN หรือ รหัสผ่าน ต่างๆ นั่นเป็นของที่ใช้ทั่วไป
แต่หลายปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีพัฒนาขึ้นมากมาย จนสามารถใช้ สิ่งที่คุณเป็น (Who you are) ได้ ซึ่งประกอบไปด้วย ลายนิ้วมือ ม่านตา เสียง และ ใบหน้าแทนได้
จะสังเกตว่าการลงทะเบียนซิมในช่วงที่ตนเองเป็นเลขาธิการ กสทช. ในปี 2561-62 ใช้การตรวจสอบใบหน้า เทียบกับรูปในบัตรประชาชนที่เสียบเข้าเครื่อง เพราะเทคโนโลยี พัฒนาไปจนทำได้ในมาตรฐานที่ดี ราคาไม่แพง ก่อนที่ภาคธนาคารจะนำมาใช้แพร่หลายในเวลาต่อมา
ปัจจุบันระบบการตรวจสอบใบหน้านั้นแม่นยำในระดับ99% ไม่ว่าจะใส่หน้ากากซิลิโคนมาก็สามารถแยกแยะได้
ปัญหาการรั่วไหลของข้อมูลเป็นเรื่องที่น่ากังวลมากเพราะประชาชนมีเลขบัตรประชาชน 13 เลขเดียวที่ได้มาตั้งแต่เกิด ไม่สามารถเปลี่ยนได้ ที่น่ากังวลไปกว่านั้นคือ หน่วยงานหลักๆ ไม่ว่าจะเป็น ประกันสังคม สรรพากร ต่างอ้างอิงเลขบัตรประชาชนทั้งสิ้น
ที่ผ่านมาทุกหน่วยงานใช้การยืนยันตัวแต่what you have (จากสิ่งที่คุณมี) เท่านั้น ไม่ได้ใช้ who you are (สิ่งที่คุณเป็น) แต่อย่างใด
สำหรับแนวทางแก้ไขต้องใช้การยืนยันตัวตน จากสิ่งที่คุณเป็น (who you are) ในการทำธุรกรรม โดยผู้เป็นเจ้าของข้อมูลสามารถกำหนดสิทธิในการเข้าใช้ข้อมูลได้ด้วยตนเอง
พรรคไทยสร้างไทย จะเสนอกฎหมายแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน และสามารถทำให้ประชาชน มีความปลอดภัยในเรื่องนี้ ภายใน 6 เดือน
ทั้ง กสทช. กระทรวงดีอีเอส คณะกรรมการประกันภัย ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องบูรณาการทำงานร่วมกัน
"ชัยวุฒิ" สั่งดส. ประสานหาหน่วยงานข้อมูลรั่ว
นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวถึง ว่า 1) ดศ. ได้ประสานผู้ให้บริการ domain name สําหรับเว็บไซต์ 9near.org (Namesilo, LLC) ซึ่งเป็น ผู้ให้บริการในต่างประเทศ เพื่อขอปิดกั้นเว็บไซต์ 9near.org ตั้งแต่วันพุธที่ 29 มี.ค. 66 เวลา 19.00 น. เนื่องจากมี การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น และระบุข้อความในลักษณะข่มขู่ให้ผู้คิดว่าข้อมูลของตนรั่วไหล ติดต่อกลับไป ซึ่งเข้าข่ายกระทบต่อความมั่นคงของประเทศทําให้ประชาชนตื่นตระหนก ซึ่งขณะนี้ ยังไม่ได้รับการตอบรับหรือ ดําเนินการจากผู้ให้บริการ
2) ดศ. อยู่ระหว่างดําเนินการขอคําสั่งศาลตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งอาจเข้าข่าย
• มาตรา 14 (2) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทาง เศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่น ตระหนกแก่ประชาชน หรือ
• มาตรา 20 (2) ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามท่ี กําหนดไว้ในภาค 2 ลักษณะ 1 หรือลักษณะ 1/1 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
ในขณะเดียวกัน ดศ. อยู่ระหว่างประสานผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศ (เช่น AIS True NT) เพื่อดําเนินการปิดกั้นเว็บไซต์ดังกล่าวด้วย นอกจากนี้ ดศ. อยู่ระหว่างประสานสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) เพื่อสอบถามข้อมูลว่ามีหน่วยงานภาครัฐแจ้งว่ามีข้อมูลรั่วไหลหรือไม่
ทั้งนี้ โทษที่เกี่ยวข้องสูง โดยความผิดตาม พรบ. คอมพิวเตอร์ ฯ โทษสูงสุด จําคุก 5 ปี และการนําข้อมูล ส่วนบุคคลไปใช้อย่างผิดกฎหมาย เข้าข่ายผิด พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล อาจถูก จําคุก 1 ปี หรือปรับ 1 ล้าน บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ต่อ 1 กรรม หรือต่อผู้เสียหาย 1 คน ได้ ซึ่งทําให้คนร้ายอาจถูกลงโทษจําคุกเป็น ร้อยปีได้ขึ้นกับข้อเท็จจริง และข้อมูลที่นําไปใช้กระทําผิดกฎหมายหรือเผยแพร่ทําให้ผู้อื่นเสียหาย
3) ดศ. ได้ประสานสํานักงานตํารวจแห่งชาติเพื่อหาข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง และดําเนินการหาตัวผู้กระทํา ความผิด
นายชัยวุฒิ กล่าวว่า “ได้สั่งการให้เร่งจัดการอย่างเรื่องนี้อย่างเด็ดขาด ประสานตํารวจหาหลักฐานและตัว ผู้กระทําความผิดมาลงโทษ และขอฝากเตือนไปยังผู้ที่จะนําข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ผิดกฎหมาย ระวังโทษหนัก ทั้งจําคุกทั้งปรับ”
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
หน้าแรก » การเมือง
Top 5 ข่าวการเมือง ![]()
- มติ 7-2 ศาลรัฐธรรมนูญ ให้ "แพทองธาร" หยุดปฏิบัตหน้าที่นายกฯ 1 ก.ค. 2568
- ครม.เห็นชอบรองนายกฯ รักษาราชการแทนนายกฯ กรณีนายกฯไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ 1 ก.ค. 2568
- โปรดเกล้าฯ ครม.ชุดใหม่แล้ว ถวายสัตย์ปฏิญาณในวันที่ 3 ก.ค. นี้ 1 ก.ค. 2568
- "ปิยบุตร" อ้าง "วิษณุ" บอกรักษาการนายกฯยุบสภาได้ จบนิติสงคราม 1 ก.ค. 2568
- วุฒิสภายกคณะลุยพื้นที่บางขุนเทียนรับฟังเสียงชุมชนสู่แนวทางแก้ปัญหายั่งยืน 1 ก.ค. 2568
ข่าวในหมวดการเมือง ![]()
กมธ.ไอที วุฒิสภา ถกความร่วมมือญี่ปุ่น พัฒนาเทคโนโลยีจัดการภัยพิบัติ 19:36 น.
- ม็อบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิยุติคืนนี้ 3 ทุ่ม! ยอดเงินบริจาคทะลุ 24 ล้าน 17:22 น.
- เลขาฯครม.เข้าพบนายกฯ "หมอพรหมินทร์" เผยโผ ครม. รอโปรดเกล้าฯ 16:34 น.
- นายกฯแพทองธารดีใจ สานต่อผลงานยุคเศรษฐา ชาติพันธุ์ขอสัญชาติไทยได้เร็วขึ้น 14:50 น.
- นายกฯย้ำมท.ร่วมจว.เชียงราย ช่วยเหลือเยียวยาประชาชน กลับมาใช้ชีวิตเป็นปกติสุขโดยเร็วที่สุด 13:32 น.