วันจันทร์ ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 10:01 น.

ประชาสัมพันธ์

กรมอุทยานแห่งชาติฯ แถลงโต้ขึ้นค่าธรรมเนียม 3 เท่า ตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ ฉบับใหม่

วันพฤหัสบดี ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2566, 07.07 น.
กรมอุทยานแห่งชาติฯ แถลงโต้ขึ้นค่าธรรมเนียม 3 เท่า ตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ ฉบับใหม่
 
 
 นายก้องเกียรติ เต็มตำนาน ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 พร้อมด้วยนายสาธิต ปิ่นกุล ผู้อำนวยการส่วนอุทยานแห่งชาติ สบอ.2 นายชาณุ เดชธัญญนนท์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด ร่วมแถลงข่าว กรณีอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเสม็ดฯ มีการเก็บค่าธรรมเนียม และทุจริตในการปฏิบัติหน้าที่  นายก้องเกียรติ เต็มตำนาน กล่าวว่า ตามที่มีการนำเสนอข่าวอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด ถึงการปฏิบัติงานหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ฯ  มีการเก็บค่าธรรมเนียมประเภทต่างๆ ในอุทยานแห่งชาติ และมีการทุจริต ซึ่งมีความคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงและมีแนวโน้มว่าอาจจะขยายกว้างออกไปอาจทำให้เกิดความเสียหายเปลี่ยนทางราชการได้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จึงได้มอบหมายให้สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา) แถลงข้อเท็จจริงต่อสาธารณชน ถึงประเด็นดังกล่าว  ดังนี้ 
1.ประเด็นค่าธรรมเนียมเรือแพง 3 เท่าตัว 
 
 
เนื่องจากเดิมกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ประกาศกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้เข้าไปดำเนินกิจการท่องเที่ยวและพักอาศัยในอุทยานแห่งชาติ สำหรับบริการนำเที่ยวแก่นักท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 โดยกำหนดให้เรือขนาดบรรทุกผู้โดยสารตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ไม่เกิน 25 คน ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตฉบับละ 500 บาท/ลำ/ปี แต่ในปัจจุบันได้มีกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ดำเนินการในอุทยานแห่งชาติวนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ และสวนรุกขชาติ พ.ศ. 2565 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา หน้า  เล่ม 139 ตอนที่ 47 ก ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2565 ข้อ 3) กิจการให้บริการนำเที่ยวแก่นักท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ
ก) การบริการนำเที่ยวโดยใช้เรืออันเดินด้วยเครื่องจักรกล เรือเร็ว ขนาดบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 15 คน ลำละ 2,000 บาท จึงทำให้ค่าธรรมเนียมเรือเพิ่มขึ้นจากเดิม 3-4 เท่าตัว สำหรับประเด็นความเดือดร้อนของผู้ประกอบการจากค่าธรรมเนียมใหม่นั้น อุทยานแห่งชาติฯ ได้ส่งเรื่องดังกล่าว รายงานกรมอุทยานแห่งชาติๆ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนพิจารณา
 
 
2. ประเด็นเรื่องรถโดยสารเกาะเสม็ดการกำหนดค่าโดยสารเกาะเสม็ดเดิม ไม่มีกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตแต่ในปัจจุบันได้มีกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ดำเนินการในอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ และสวนรุกชชาติ พ.ศ. 2565 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา หน้า 8 เล่ม 139 ตอนที่ 47 ก ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2565 ตามข้อ (3) กิจการให้บริการนำเที่ยวแก่นักท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ และข้อ (ง) การบริการนำเที่ยวโดยใช้รถยนต์ สำหรับรถขนาดบรรทุกคนโดยสาร  ก. ขนาดบรรทุกคนโดยสารเกิน 7 คน แต่ไม่เกิน 13 คน คันละ 2,000 บาท 
 
 
3.  ประเด็นรถจักรยานยนต์สำหรับรถจักรยานยนต์ ทางกรมอุทยานแห่งชาติฯ ยังไม่มีกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 
 
 
4.ประเด็นขึ้นค่าธรรมเนียมเกาะทะลุ เกาะกุฎี เกาะขาม-เกาะกรวยตามประกาศ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ลงวันที่ 19 กันยายน 2565 ได้มีการกำหนดแหล่งท่องเที่ยวที่ต้องชำระค่าบริการเป็นพิเศษ จำนวน 5 อุทยานแห่งชาติ ได้แก่ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติ     เขาแหลมหญ้า - หมู่เกาะเสม็ด อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา – หมู่เกาะพีพี  และอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา ซึ่งในส่วนของอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด นั้น กรมอุทยานฯ  ได้กำหนดให้บริเวณเกาะทะลุบริเวณเกาะกุฎีเกาะขามเกาะกรวยกำหนดอัตราค่าบริการสำหรับบุคคลชาวต่างประเทศผู้ใหญ่ 300 บาทเด็ก 150 บาทสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่เดินทางมาจากเกาะเสม็ดจะต้องชำระเพิ่ม โดยผู้ใหญ่เพิ่ม 100 บาท และเด็กเพิ่ม 50 บาทเพราะเนื่องจากบริเวณเกาะเสม็ดยังเก็บค่าบริการในอัตราเดิม
 
 
5. ประเด็นการก่อสร้างรีสอร์ท ในพื้นที่ของกรมธนารักษ์ สำหรับพื้นที่ที่ล้ำเข้ามาในอุทยานแห่งชาติฯ ทางอุทยานแห่งชาติได้ดำเนินการตรวจยึดจับกุมไว้แล้ว สืบเนื่องเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2565 คณะเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติฯ ได้เข้าตรวจสอบพื้นที่ที่มีการรื้อถอนปรับปรุงสิ่งก่อสร้างจำนวน 2 กิจการ คือ 
 
 
1. กิจการบาร์แอนด์เบสท์ รีสอร์ท ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ อยู่นอกเขตอุทยานแห่งชาติฯ สำหรับพื้นที่ที่ชุดพญาเสือได้แจ้งไว้ว่าล้ำเข้ามาในเขตอุทยานแห่งชาติฯ นั้น ทางผู้ประกอบการก็ได้ดำเนินการรื้อถอนออกไปแล้ว 
 
 
2. กิจการนากะบาร์ กิจการดังกล่าวอยู่ในพื้นที่กลุ่ม 49 ราย ที่ได้รับการแก้ไขปัญหาตามมติ กบร.ปี 2543 ขณะเข้าตรวจสอบพบเจ้าของกิจการกำลังดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซม จึงได้แจ้งให้ชะลอการก่อสร้าง จนกว่าจะได้รับความเห็นชอบจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชก่อน จึงจะสามารถดำเนินการต่อไปได้
 
สืบเนื่องปี 2533 คณะกรรมการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ จังหวัด (กบร.) ชุดใหญ่  โดยนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เมื่อ 13 ตุลาคม 2543 ได้มีมติในพื้นที่ 49 ราย ให้ขอเช่าจากกรมธนารักษ์โดยกรมอุทยานแห่งชาติฯ มีหน้าที่แค่รับรองแบบแปลนเกี่ยวกับด้านวิชาการในด้านลักษณะแบบต้องกลืนกับธรรมชาติเท่านั้น ทั้งนี้ ในส่วนที่มีการทำรีสอร์ทเกินแนวเขตที่ กบร. มีมติ ทางอุทยานแห่งชาติฯ ได้ร่วมกับชุดพญาเสือ ดำเนินการตรวจยึดจับกุมแล้ว ซึ่งในปัจจุบันไม่มีการก่อสร้าง แต่อย่างใด
 
 
นายก้องเกียรติ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับกรณีข้อกล่าวหาหรือข้อมูลข้อร้องเรียนอื่นๆ ที่มีรายละเอียดปรากฏตามสื่อสาธารณะ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา) เพื่อความและกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง และขอให้รอฟังผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากคณะกรรมการซึ่งต้องแสวงหาพยานบุคคล พยานเอกสาร รวมถึงข้อเท็จจริงต่างๆ เพื่อทำความจริงให้ปรากฏ การดำเนินการดังกล่าวต้องอาศัยระยะเวลาให้คณะกรรมการได้ทำงาน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย และเมื่อได้ผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว     จะรายงานให้ทราบ ต่อไป
 
 
 
 

หน้าแรก » ประชาสัมพันธ์