วันพุธ ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 11:59 น.

ประชาสัมพันธ์

ทส.หาแนวทางการสืบสานประเพณีลอยกระทง ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

วันพฤหัสบดี ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566, 14.02 น.

ทส.หาแนวทางการสืบสานประเพณีลอยกระทง ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

 

นายนพดล พลเสน เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยนายเถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ รองปลัดกระทรวงฯ ในฐานะโฆษกกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และนายปวิช เกศววงศ์ รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม แนวทางการสืบสานประเพณีลอยกระทง ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ลอยกระทง ลดภาระต่อสิ่งแวดล้อมภายใต้แนวคิดลอยกระทงรักษ์โลก ลดโลกเดือด 

 

 

.
สืบเนื่องจากประเพณีลอยกระทงในคืนวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ํา เดือน 12 ที่มีมาจนถึงปัจจุบันแม้จะมีข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับที่มาของการลอยกระทงหลายประการ แต่ส่วนใหญ่เชื่อกันว่าเป็นการขอบคุณพระแม่คงคา เทพเจ้าแห่งสายน้ํา ที่ให้น้ําไว้ใช้ในการเกษตรและประโยชน์อื่นๆ และเป็นการขอขมาที่ได้ลงอาบน้ําและปล่อย ของเสียลงไป เดิมทีการทํากระทงนิยมทําด้วยใบตอง ใบพลับพลึง กาบมะพร้าว ประดิษฐ์เป็นรูปต่างๆ แล้วปักธูป เทียนบนวัสดุที่ไม่จมน้ํา นําไปปล่อยลงให้ลอยไปตามลําน้ํา แต่ปัจจุบัน ปริมาณกระทงมีจํานวนเพิ่มมากขึ้น มีการดัดแปลงกระทงโดยใช้วัสดุต่างๆ ที่อาจทําให้เกิดขยะตกค้าง ขัดขวางการระบายน้ํา และสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้

 

 1. สถิติขยะกระทง


     1.1 จากข้อมูลของกรุงเทพมหานคร พบว่า จํานวนกระทงที่เก็บได้ในปี 2565 มีจํานวน 572,602 ใบ เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ที่จัดเก็บได้ 403,203 ใบ เพิ่มขึ้นจํานวน 169,367 ใบ คิดเป็นร้อยละ 42 โดยประเภทที่จัดเก็บได้ทําจากวัสดุธรรมชาติ 548,086 ใบ หรือร้อยละ 95.7 และทําจากโฟม 24,516 ใบ หรือร้อยละ 4.3
      โดยกระทงจากวัสดุธรรมชาติที่ย่อยสลายได้เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน มีสัดส่วนลดลงจากร้อยละ 96.5 เป็น 95.7 ส่วนสัดส่วนของโฟมเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.5 เป็น 4.3
      1.2 สถิติจํานวนการจัดเก็บขยะกระทงของกรุงเทพมหานคร 4 ปีย้อนหลัง มีดังนี้


       ปี 2564 จัดเก็บได้ 403,235 ใบ ทําจากวัสดุธรรมชาติและวัสดุที่ย่อยสลายง่าย 96.46% จากโฟม 3.54% 
      ปี 2563 จัดเก็บได้ 492,537 ใบ ทําจากวัสดุธรรมชาติและวัสดุที่ย่อยสลายง่าย 96.4% จากโฟม 3.6% 
       ปี 2562 จัดเก็บได้ 502,024 ใบ ทําจากวัสดุธรรมชาติและวัสดุที่ย่อยสลายง่าย 96.3% จากโฟม 3.7% 
       ปี 2561 จัดเก็บได้ 841,327 ใบ ทําจากวัสดุธรรมชาติและวัสดุที่ย่อยสลายง่าย 94.7% จากโฟม 5.3% 
     

 ทั้งนี้ หลังจากดําเนินการคัดแยกกระทงแล้ว กรุงเทพมหานครได้นํากระทงที่ทําจากวัสดุธรรมชาติส่งเข้าโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่ศูนย์กําจัดมูลฝอยอ่อนนุชและศูนย์กําจัดมูลฝอยหนองแขม ส่วนกระทงโฟมจะนําไปกําจัด โดยการฝังกลบอย่างถูกวิธีที่ศูนย์กําจัดมูลฝอยอ่อนนุช สายไหม และหนองแขม หรือเผาเพื่อผลิตไฟฟ้าที่ศูนย์กําจัดมูลฝอยหนองแขมต่อไป

   2. การประชาสัมพันธ์และรณรงค์
     

การประชาสัมพันธ์และรณรงค์ของสื่อและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ทําให้ประชาชนและผู้ขายกระทง มีความตระหนักและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ถึงแม้ในช่วง 2-3 ปีนี้ มีการลดลงของจํานวนกระทง เป็นผลจาก ปัจจัยการลดลงของนักท่องเที่ยว ความระมัดระวังตนเองของประชาชนจากโรคโควิด-19 รวมถึงการที่มีทางเลือก เพิ่มขึ้น เช่น การลอยกระทงแบบออนไลน์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม มีประชาชนอีกจํานวนไม่น้อย ทั้งผู้ลอยกระทง และผู้ขายกระทง ทั้งที่ไม่ทราบ บ้างก็ยังไม่ตระหนักถึงแนวทางการลอยกระทงรักษ์โลก ซึ่งกําลังเป็นวิถีในการดําเนินชีวิตรักษาสภาพแวดล้อมอยู่ในเทรนด์ของโลกยุคใหม่ จึงแนะนําการไปร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง ดังนี้
   

2.1 ไปด้วยกัน ใช้กระทงเดียวกัน ได้แก่ ครอบครัวละหนึ่ง คู่รักละหนึ่ง กลุ่มละหนึ่ง เป็นการลดจํานวน
 กระทง ที่จะส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ํา และเป็นภาระจัดเก็บหลังเสร็จงาน และช่วยประหยัดสําหรับผู้ที่จะซื้อกระทงอีกทางหนึ่งด้วย

2.2 เลือกใช้วัสดุธรรมชาติ โดยใช้หยวกกล้วย กาบกล้วย ใบตอง นําไปประดิษฐ์กระทง ประดับด้วยกลีบดอกบัวหรือดอกไม้ กระทงกลัดด้วยไม้แทนเข็มหมุด ในลักษณะนี้จะไม่ย่อยสลายหรือจมลงเร็วเกินไป สามารถจัดเก็บและนําไปกําจัดได้ง่ายหลังจากเสร็จงาน หรือแม้มีบางส่วนที่เล็ดลอดออกสู่สิ่งแวดล้อมก็สามารถย่อยสลายได้

2.3 หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุกระดาษ ซึ่งอาจจมน้ําหรือเปียกน้ํา แล้วจะทําให้ยุ่งยากในการจัดเก็บ
 เท่ากับเป็นการสูญเสียทรัพยากรไป และควรนําไปรีไซเคิล ที่เกิดประโยชน์มากกว่า

 2.4 หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุพวกแป้ง ขนมปัง ที่ตั้งใจจะให้เป็นอาหารของปลาและสัตว์น้ํา แต่วัสดุพวกนี้
 ซับน้ําได้เร็ว ยุ่ยง่าย จมเร็ว และเป็นสารอินทรีย์ย่อยสลายได้เร็ว หากมีจํานวนมาก สัตว์น้ําไม่สามารถกินได้หมด จะทําให้แหล่งน้ําเน่าเสียเพิ่มขึ้น ถือว่าเป็นการเพิ่มความสกปรกให้แหล่งน้ํา โดยเฉพาะในสระน้ํา บึง หรือหนองน้ําที่น้ําไม่ไหลเวียน หรือแหล่งน้ํานิ่ง

2.5 ควรเลือกวัสดุประเภทเดียวกัน เพื่อความสะดวกในการแยกกระทงไปจัดการต่อของหน่วยงานที่รับผิดชอบ เมื่อได้ทําการจัดเก็บหลังเสร็จงานแล้ว เช่น ทําจากใบตองหรือวัสดุธรรมชาติเป็นอินทรีย์ทั้งกระทง

2.6 งดการใช้วัสดุพลาสติกและโฟม ซึ่งเป็นวัสดุที่ย่อยสลายยาก พลาสติกบางชิ้นและโฟมไม่เหมาะใน
 การนําไปรีไซเคิล หากเล็ดลอดสู่แม่น้ําและทะเล จะใช้เวลาหลายร้อยปีในการย่อยสลาย ช่วงที่ผ่านมายังพบการใช้กระทงโฟมอยู่บ้าง จึงควรขอความร่วมมือทุกคนงดการใช้อย่างจริงจงั

2.7 งดใช้ลวด แม็กซ์ หมุด ตะปู ในการยึดวัสดุทํากระทง เนื่องจากสิ่งเหล่านี้อาจหลุดและตกลงสู่
 แหล่งน้ํา เป็นอันตรายได้และหากจัดเก็บกระทงมาได้ก็ยากในการคัดแยกเพื่อนําไปจัดการอย่างถูกวิธี จึงควรใช้ไม้กลัดจากวัสดุธรรมชาติแทน
 
3. แนวทางจัดการกระทงหลังเสร็จงาน

3.1 วางแผนและเตรียมการจัดเก็บกระทง โดยเฉพาะจากการจัดงานประเพณีและแหล่งชุมชน โดย
 กําหนดจุดจัดเก็บ เตรียมกําลังคน อาสาสมัคร เรือหรืออุปกรณ์ที่เหมาะกับสภาพแหล่งน้ํา โดยอาจทําทุ่นลอยดักกระทงบริเวณปลายน้ํา เพ่ือความสะดวกในการรวบรวม

3.2 คัดแยกวัสดุจากกระทง ออกเป็นประเภทต่างๆ ตามที่วางแผนไว้เพื่อนําไปจัดการอย่างเหมาะสม
 ได้แก่ นํากระทงจากวัสดุธรรมชาติไปหมักเป็นสารบํารุงดิน หลีกเลี่ยงการนํากระทงที่จัดเก็บมาได้ทั้งหมดไปฝังกลบรวมกัน เพราะจะทําให้เปลืองพื้นที่ฝังกลบ

3.3 รวบรวมวัสดุที่คัดแยกนําไปจัดการอย่างเหมาะสม โดยพิจารณาเรื่องสถานที่ ค่าใช้จ่าย และระบบ
 ที่มีอยใู่นปัจจุบัน

 3.4 วัสดุธรรมชาติ จําพวกหยวกกล้วย ใบตอง ใบไม้ ดอกไม้ รวมถึงวัสดุจําพวกแป้ง (หากสามารถจัดเก็บได้ทัน) ควรนํา ไปหมักเป็นสารบํารุงดิน ซึ่งต้องเตรียมพื้นที่ไว้ล่วงหน้าให้เหมาะสม

  3.5 เทียนไข รวบรวมเพื่อนําไปหลอมใหม่

3.6 พลาสติก เลือกประเภทพลาสติกที่สามารถรีไซเคิลได้หรือผู้ประกอบการรับซื้อ เพื่อให้เข้าสู่ กระบวนการรีไซเคิล หรือนําไปเผาในเตาเผาที่มีประสิทธิภาพและระบบควบคุมมลพิษ

3.7 โฟม รวบรวมนําไปสู่กระบวนการรีไซเคิล ซึ่งต้องพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายในการทําความสะอาดและ ขนส่ง หรือนําไปฝังกลบ ซึ่งต้องพิจารณาถึงขนาดพื้นที่ของหลุมฝังกลบเพราะจะทําให้พื้นที่หลุมฝังกลบที่ใช้งานได้ เหลือน้อยลง หรือนําไปเผาด้วยเตาเผาความร้อนสูงและมีอุปกรณ์ควบคุมมลพิษ ซึ่งมีอยู่ในบางพื้นที่ อย่างไรก็ตามควรงดกิจกรรมที่ส่งเสริมการใช้กระทงโฟม    

3.8 ขยะอื่น ๆ ที่ต้องกําจัด นําไปฝังกลบหรือการเผาด้วยเตาเผาตามระบบการจัดการขยะขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น
     

 ในวันลอยกระทงปีนี้ คาดว่าจํานวนประชาชนที่มาร่วมกิจกรรมและกระทงจะเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ที่คลี่คลาย ทําให้ผู้คนอยากออกมาท่องเที่ยวข้างนอกมากขึ้น ขณะเดียวกันนักท่องเที่ยว เริ่มเข้ามาในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ดังนั้น การลอยกระทงแบบรักษ์โลกในปีนี้ นอกจากต้องยึดหลักไปด้วยกัน ใช้กระทงเดียวกัน เลือกกระทงที่ไม่ไปขยะหรือสร้างภาระแก่สิ่งแวดล้อมแล้ว ก็ยังควรต้องระมัดระวังตัวกันไว้ก่อนหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีผู้คนหนาแน่น ภายใต้แนวคิด ลอยกระทงรักษ์โลก ลดโลกเดือด
.

 


กลุ่มสร้างจิตสํานึกสาธารณะ
กองขับเคลื่อนการปรับตัวตอ่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมอิากาศ

หน้าแรก » ประชาสัมพันธ์