วันเสาร์ ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2568 15:30 น.

ประชาสัมพันธ์

สอน. เพิ่มมูลค่าและประเมินศักยภาพผลผลิตอ้อยทนแล้งด้วยเทคโนโลยีภาพถ่ายมัลติสเปกตรัม ผ่านระบบสารสนเทศ

วันอาทิตย์ ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2568, 16.35 น.

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย เพิ่มมูลค่าและประเมินศักยภาพผลผลิตอ้อยทนแล้งด้วยเทคโนโลยีภาพถ่ายมัลติสเปกตรัม ผ่านระบบสารสนเทศ https://kku.world/ocsb-multiplatform

 
​ภาวะโลกร้อนและความแห้งแล้งเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อโลกและมนุษย์อย่างรุนแรง ภาวะโลกร้อนเกิดจากการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และมีเทน ซึ่งมาจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลและการตัดไม้ทำลายป่า ผลกระทบของภาวะโลกร้อนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ เช่น ฤดูร้อนที่ยาวนานขึ้นและฤดูฝนที่มาช้ากว่าปกติ. ความแห้งแล้งเป็นผลกระทบที่สำคัญ โดยทำให้พื้นที่เพาะปลูกแห้งแล้ง น้ำในแม่น้ำลดลง และพืชผลเสียหาย

จากสภาวะดังกล่าว ทำให้ประสบปัญหาภัยแล้งซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโต และพืชเศรฐกิจชนิดต่าง ๆ ผลผลิตทางการเกษตรลดลง ซึ่งอ้อยเป็นพืชเศรฐกิจสำคัญของไทย ที่มีพื้นที่ปลูกอ้อยถึง 9,632,185 ไร่ สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย จึงได้มีการศึกษาข้อมูล ศักยภาพความทนแล้งของอ้อยแต่ละสายพันธุ์ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เกิดจากสภาวะภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป โดยใช้เทคโนโลยีภาพถ่ายมัลติสเปกตรัมจากอากาศยานไร้คนขับ และสร้างเกณฑ์ในการตรวจสอบอ้อยทนแล้งดังกล่าว

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ทำการศึกษาโครงการเพิ่มมูลค่าและประเมินศักยภาพผลผลิตอ้อยทนแล้งด้วยเทคโนโลยีภาพถ่ายมัลติสเปกตรัม ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือพันธุ์อ้อยที่สามารถทนแล้งและให้ผลผลิตได้ดี 4 สายพันธุ์ ได้แก่ ขอนแก่น 3 เม็ดขนุน CSB15-243 และ CSB15-221 ที่มีเกณฑ์ในการทนแล้งสูงมากใกล้เคียงกัน และได้สร้างนวัตกรรมระบบฐานข้อมูลระบบสารสนเทศหรือแพลทฟอร์ม ในลิงก์ https://kku.world/ocsb-multiplatform โดยเชื่อมโยงข้อมูลพื้นที่ปลูกอ้อยพันธุ์อ้อย ข้อมูลด้านดิน ด้านแหล่งน้ำ ธาตุอาหารในดิน (Soil fertility map) 8 พารามิเตอร์ ด้านอุทกวิทยา พื้นที่แห้งแล้ง และดัชนีความแห้งแล้งเชิงพื้นที่ ซึ่งผู้ใช้สามารถประเมินความทนแล้งของอ้อยในพื้นที่เพาะปลูกของตนเองได้

 

​เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 20 มีนาคม 2568 ทางมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้จัดอบรมเผยแพร่องค์ความรู้ ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายภาคที่ 4 จังหวัดอุดรธานี โดยผู้เชี่ยวชาญจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ และศูนย์ปฏิบัติการเมืองอัจฉริยะ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (Smart City Operation Center: SCOPC) โดย ศ.ดร.วนิดา แก่นอากาศ และ รศ.ดร. ศุภสิทธิ์ คนใหญ่ ได้กล่าวว่า “การใช้เทคโนโลยีภาพถ่ายมัลติสเปกตรัมในการประเมินศักยภาพการทนแล้งของพันธุ์อ้อย การใช้เกณฑ์อ้อยทนแล้ง และการเข้าถึงแพลทฟอร์มอ้อยทนแล้งพร้อมทั้งเชื่อมโยงฐานข้อมูล ซึ่งมีผู้เข้าร่วมเป็นเกษตรกรชาวไร่อ้อย โรงงานน้ำตาล และผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งหมด 67 ราย ที่สามารถนำองค์ความรู้ดังกล่าว ไปใช้ในการบริหารจัดการการปลูกอ้อยทนแล้งในสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบันได้”

 

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย มุ่งเน้นให้เกษตรกรและภาคอุตสาหกรรมอ้อยน้ำตาลปรับตัวสู่ยุคเกษตร 4.0 เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพและความยั่งยืนในอนาคต.

หน้าแรก » ประชาสัมพันธ์