วันเสาร์ ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 12:47 น.

สังคม-สตรี

มายาคติเรื่องการข่มขื่น

วันอังคาร ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2564, 09.00 น.

เมื่อมีบางอย่างเกิดขึ้นขัดกับสิ่งที่เราเชื่อ เช่นผู้หญิงที่ถูกข่มขื่นกลายเป็นผู้หญิงที่อยู่นอกกรอบ ผู้หญิงที่ดีตามความเชื่อเก่าของเราจึงเกิดพฤติกรรมการโทษเหยื่อหรือผู้เสียหายแทนที่จะเป็นการให้ความเห็นอกเห็นใจซึ่งเป็นสิ่งที่ควรจะเป็นความเชื่อนี้ถูกหล่อหลอมผ่านกาลเวลาถูกตอกย้ำภายใต้วัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันเป็นการถ่ายทอดส่งต่ออคติระหว่างเพศ โดยที่เรามักจะไม่รู้ตัวและคล้อยตามว่ามันคือความจริงหรือที่เรียกว่ามายาคติ (MYTH)

ข่าวการข่มขืนในเมืองไทยนั้นเกิดขึ้นบ่อยครั้ง พอมีข่าวดังขึ้นมาทีคนก็จะพูดถึงที โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้ถูกกระทำเป็นเด็กหรือเป็นคดีสะเทือนขวัญ กระแสการพูดถึงในสังคมก็จะยิ่งดังขึ้นไปอีก ในอดีตข่าวที่คนไทยให้ความสนใจและเป็นข่าวดังก็อย่างเช่น เหตุการณ์สุดสะเทือนใจกรณีพนักงานรถไฟข่มขืนเด็กหญิงอายุ 13 ปี ก่อนจะโยนร่างออกนอกหน้าต่างขณะรถไฟกำลังวิ่งเต็มความเร็ว หรือแม้แต่ข่าวล่าสุดที่กำลังเกิดขึ้น อย่างกรณีของน้องวัย 14 ปีที่ถูกครู 5 ศิษย์เก่า 2 รุมขืนใจ ถ่ายคลิปนานนับปี โดยขู่ว่าถ้าไม่ยอมจะให้ซ้ำชั้น และแน่นอนว่ายังมีเรื่องการถูกข่มขืนอีกจำนวนมากที่ไม่เป็นข่าว แม้เรื่องราวที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่หดหู่ใจและสังคมก็ไม่อยากยอมรับว่ามันเกิดขึ้น แต่กลับเป็นเรื่องจริงที่เราต้องยอมรับว่าอยู่กับสังคมเรามายาวนาน ข้อมูลทางสถิติและการส่งต่อข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นนำไปสู่คำถามที่ว่า แม้จะมีการเพิ่มโทษกฏหมายที่รุนแรงขึ้น แต่ก็ไม่ได้ทำให้จำนวนคดีของการข่มขืนในไทยลดลงได้และไม่ได้ช่วยทำให้การยับยั้งชั่งใจของผู้กระทำลดลง สิ่งเหล่านี้เกิดจากอะไร? หรือจริงๆมันเกิดจากปัญหาที่ฝังรากลึกอยู่ในสังคม อยู่ในค่านิยม อยู่ในโครงสร้างสังคม ทำให้การข่มขืนนั้นยังไม่หมดไปจากสังคมไทยเสียที

มายาคติจึงเป็นสิ่งที่ครอบงำความคิดของเราอย่างยาวนานเช่นกัน ทำให้คิดว่าสิ่งที่เราคิดคือสิ่งที่ถูกการโทษเหยื่อหรือผู้เสียหายไม่ต่างจากการข่มขืนบุคคลเหล่านั้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า หากเราลองเรียนรู้และเปิดใจโดยปราศจากอคติเราจะพบว่าความเชื่อที่เรายึดถือมาตลอดนั้นไม่ได้ถูกต้องเสมอไป

อย่าลืมกดติดตาม เพื่อไม่ให้พลาดทุกข่าวสารของ  สค. ได้ที่

เว็บไซต์ : https://www.dwf.go.th/ 

เพื่อนครอบครัว : http://www.xn--42ca5dfr6ac6azcd1c9c9f0e.com/

Facebook : https://www.facebook.com/sorkor023068633

Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCXtsy6w-fx3fkESr-C6UaAA

Instagram : https://instagram.com/pr.dwf123?utm_medium=copy_link  

#ส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ 

#เรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

#กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

#กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

หน้าแรก » สังคม-สตรี

ข่าวในหมวดสังคม-สตรี