วันศุกร์ ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2567 06:54 น.

สังคม-สตรี

“ร่วมเตรียมความพร้อม รับมือดินถล่มในฤดูมรสุม ไปกับกรมทรัพยากรธรณี”

วันเสาร์ ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2565, 17.15 น.

13 พฤษภาคม 2565 นี้ เข้าสู่ฤดูฝน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ กรมทรัพยากรธรณี ห่วงใยประชาชน และตระหนักถึงความปลอดภัยของพี่น้องประชาชน พร้อมแจ้งเตือนเตรียมรับมือกับธรณีพิบัติภัยดินถล่มและน้ำป่าไหลหลากที่อาจเกิดขึ้น

จากสถานการณ์การเกิดธรณีพิบัติภัยดินถล่มที่ผ่านมา ส่วนใหญ่จะพบในพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง เช่น ที่ลาดตามแนวเขา หน้าผาสูงชัน ที่ราบเชิงเขา และริมฝั่งทางน้ำตามร่องเขา โดยเฉพาะภาคเหนือ และภาคใต้ของไทย การเกิดดินถล่มส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเมื่อมีฝนตกหนักติดต่อกัน เมื่อน้ำฝนไหลซึมลงไปตามช่องว่างของชั้นดินหรือหินบนลาดเขาจนกระทั่งอิ่มตัวด้วยน้ำ ภายใต้สถานการณ์ที่มีปริมาณน้ำฝนมากเกินกว่าความสามารถในการซึมซับได้ของชั้นดิน จะเกิดการพังทลายหรือการเลื่อนไหลของชั้นดินลงมาตามลาดเขา   

โดยในปีนี้ กรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศให้ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม 2565 กรมทรัพยากรธรณี ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ธรณีพิบัติภัยดินถล่ม เพื่อให้ลดผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด จึงได้เตรียมความพร้อมรับมือกับสถสนการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ดังนี้

การคาดหมายลักษณะอากาศของประเทศไทยในช่วงฤดูฝน ปี 65 (ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา) กับพื้นที่คาดการณ์การติดตามเฝ้าระวังธรณีพิบัติภัยดินถล่มของกรมทรัพยากรธรณี     

ช่วงกลางเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มมากขึ้นและต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่จะมีฝนตกร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยในภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก จะมีฝนตกร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนหนักหลายพื้นที่และหนักมากในบางแห่ง พื้นที่คาดการณ์การติดตามเฝ้าระวังธรณีพิบัติภัยดินถล่ม : ภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้โดยเฉพาะฝั่งตะวันตก

ช่วงกลางเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน ประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่น โดยส่วนใหญ่จะมีฝนตกร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักหลายพื้นที่และหนักมากในบางแห่ง ซึ่งจะก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งน้ำล้นตลิ่งในบางแห่ง พื้นที่คาดการณ์การติดตามเฝ้าระวังธรณีพิบัติภัยดินถล่ม : ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้

เดือนตุลาคม บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ยังคงมีฝนตกชุกหนาแน่นต่อไป และมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และหนักมากบางแห่ง ส่วนบริเวณเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง และเริ่มจะมีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้า โดยเฉพาะตอนบนของภาค พื้นที่คาดการณ์การติดตามเฝ้าระวังธรณีพิบัติภัยดินถล่ม : ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้

พื้นที่อ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่มของประเทศไทย สำหรับการติดตาม เฝ้าระวังเพื่อแจ้งเตือนภัยดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก

โดยทั่วไปพื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวังดินถล่ม คือ พื้นที่ที่มีความลาดชันสูง โดยเฉพาะในภาคเหนือ และภาคใต้ของประเทศ 54 จังหวัด 517 อำเภอ 2,845 ตำบล ทั่วประเทศ ดังนี้

ภาคเหนือ : จังหวัดเพชรบูรณ์ นครสวรรค์ สุโขทัย กำแพงเพชร ตาก พิษณุโลก อุตรดิตถ์ ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา ลำพูน เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ เลย ขอนแก่น อุดรธานี หนองบัวลำภู หนองคาย อุบลราชธานี ศรีสะเกษ
ภาคตะวันออก : จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี สระแก้ว
ภาคกลาง : จังหวัดนครนายก สระบุรี ลพบุรี อุทัยธานี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์
ภาคใต้ : จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ยะลา นราธิวาส ปัตตานี ระนอง พังงา ตรัง สตูล กระบี่ ภูเก็ต

การดำเนินการติดตามและเฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณีพิบัติภัยของกรมทรัพยากรธรณี

ดำเนินการ ตรวจสอบ ติดตามสถานการณ์สภาพอากาศ และสิ่งบอกเหตุก่อนเกิดดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก จากเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณีพิบัติภัย พร้อมจัดทำรายงานสภาพอากาศและธรณีพิบัติภัยประจำวัน ประกอบด้วย ข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยที่เกิดขึ้น สภาพอากาศ การติดต่อประสานงานเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณีพิบัติภัย พื้นที่ติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์พิบัติภัยดินถล่มและน้ำป่าไหลหลากและการดำเนินการของกรมทรัพยากรธรณีและการนำเสนอข่าวด้านพิบัติภัย พร้อมทั้งนำเสนอรายงานดังกล่าวผ่านทางเว็บไซด์ ทธ. และผ่านระบบโทรสาร

ติดต่อประสานงานเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณีพิบัติภัย ทางโทรศัพท์ ข้อความสั้น (SMS) Application Line และ Facebook เพื่อกระตุ้นเตือนให้เฝ้าระวังดินถล่มและน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่เสี่ยง

ประเมินสถานการณ์พื้นที่ที่มีโอกาสเกิดดินถล่ม และออกประกาศเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัยดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก

จัดเก็บและรวบรวมข้อมูลเหตุการณ์พิบัติภัยที่เกิดขึ้น และจากการสำรวจ ตรวจสอบพื้นที่ประสบเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย และเสนอแนวทางการจัดการ/การแก้ไขปัญหาพื้นที่ประสบเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

การดำเนินการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ธรณีพิบัติภัยดินถล่มของกรมทรัพยากรธรณี

การกำหนดเขตพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดดินถล่ม จากการวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะธรณีวิทยา และการใช้ประโยชน์ที่ดิน และประเมินผลทางสถิติเพื่อหาความเป็นไปได้ของการเกิดดินถล่มในแต่ละพื้นที่

กำหนดพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก โดยจัดทำเป็นแผนที่เสี่ยงภัยดินถล่มระดับชุมชน ที่แสดงถึงตำแหน่งหมู่บ้านและบ้านเรือนเสี่ยงภัยที่จะได้รับผลกระทบจากดินถล่ม ข้อมูลเกี่ยวกับเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณีพิบัติภัย และจุดปลอดภัย เป็นต้น ครอบคลุมพื้นที่ 1,050 ตำบล จากพื้นที่มีโอกาสเกิดดินถล่ม 1,084 ตำบล ทั่วประเทศ เพื่อให้หน่วยงานท้องถิ่นและชุมชนนำไปใช้ในการวางแผนการเฝ้าระวังเพื่อแจ้งเตือนภัยในชุมชนต่อไป

การจัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณีพิบัติภัย เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยทำหน้าที่เฝ้าระวังธรณีพิบัติดินถล่มในชุมชนของตน และสนับสนุนการซักซ้อมแผนการเฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณีพิบัติภัยที่ร่วมกันจัดทำไว้ ปัจจุบันมีเครือข่าย 45,275 คน จาก 51 จังหวัด
เฝ้าระวังสถานการณ์การเกิดพิบัติภัย ผ่านศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัย

การดำเนินการในช่วงหลังจากเหตุการณ์พิบัติภัย โดยเข้าไปตรวจสอบพื้นที่ เพื่อศึกษาถึงสาเหตุการเกิด ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ผลกระทบที่เกิดขึ้น สำหรับใช้ในการกำหนดแนวทางการฟื้นฟูพื้นที่

หน้าแรก » สังคม-สตรี

ข่าวในหมวดสังคม-สตรี