ภูมิภาค
วิถีชาวบ้านชุมชนสู่ลูกหลาน เขียนทำวาดศิลปะหน้ากากผีตาโขน อัตลักษณ์ของชาวด่านซ้าย
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หน้ากากผีตาโขนเป็นผลงานศิลปะอันเกิดจากความเชื่อศรัทธาในศาสนา เป็นศิลปะที่มีรูปแบบ และเป็นรูปแบบศิลปะแบบอุดมคติ ผลงานทางศิลปะที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาโดยใช้สื่อประสม โดยมีขบวนการสร้างสรรค์ที่แสดงออกทั้งทางประติมากรรมและจิตรกรรมเป็นสำคัญ อีกทั้งได้แสดงออกถึงเอกลักษณะที่สำคัญในการใช้วัสดุอันเป็นการแสดงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ได้แสดงถึงความมีอารยะธรรมของผลงานหัตถกรรมที่นำมาใช้เป็นวัสดุอุปกรณ์ด้วยผลงานศิลปะหน้ากากนี้ได้ถูกสร้างสรรค์ขึ้นจนนับได้ว่าเป็นผลงานศิลปะที่สำคัญของชาติพันธุ์มนุษย์ในท้องถิ่นมาเป็นเวลาช้านาน
ผลงานศิลปะนี้ได้ทรงอยู่กับการดำเนินชีวิตตลอดมา ดังนั้นหน้ากากนี้จึงผลงานศิลปะที่มีประวัติความเป็นมา และเป็นผลงานศิลปะที่มีความงาม ผีตาโขน” การละเล่นประเพณีบุญหลวงใหญ่ของ อ.ด่านซ้าย จ.เลย ซึ่งเป็นงานบุญใหญ่ประจำปีของท้องถิ่นที่รวมเอางานบุญพระเวส(ฮีตเดือนสี่) และงานบุญบั้งไฟ(ฮีตเดือนหก) ให้เป็นงานบุญเดียวกัน ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นวันที่ 28 ถึง 30 มิถุนายน 2568 ผีตาโขนหน้ากาก จึงมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร เพราะนอกจากจะสร้างความสนุกสนานทั้งการชมขบวนแห่ผีตาโขนน้อย ผีตาโขนใหญ่ ขบวนนางรำและขบวนแห่จากตำบลต่างๆทั่วอำเภอด่านซ้าย ยังเป็นประเพณีที่มีความเกี่ยวพันกับความเชื่อและความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอีกด้วยจึงเป็น “อัตลักษณ์” ของชาวด่านซ้ายและมีเพียงหนึ่งเดียวในโลก ส่วนที่มาของคำว่าผีตาโขนนั้น ได้มีการเล่าสืบทอดต่อกันมาว่าน่าจะมาจากการสวมหน้ากากคล้ายหัวโขน หรือบางคนเรียกเป็นผีตาขน ผีตามคน และเพี้ยนเป็นผีตาโขนในที่สุด นอกจากประเพณีดังกล่าวแล้ว
ภาพที่เห็น เป็นกลุ่มชาวบ้านที่กำลังทำหน้ากากผีตาโขน สืบทอดสู่ลูกหลานในวัยต่างๆ ในหมู่บ้านซึ่งรวมกลุ่มกันทำหน้ากากชุด ภายใต้ชื่อกลุ่มว่า กลุ่มกระจอกศิลป์ การทำหน้ากากผีตาโขนสำหรับงานผีตาโขน 2568 ที่จะถึง ที่บ้านปากหมัน อำเภอด่านซ้ายนี้ พอใกล้ถึงวันหรือก่อนวันงาน 2-3 หรือ 4 สัปดาห์ จะมีกลุ่มวัยรุ่นในหมู่บ้านได้เดินทางมารวมตัวกันทำประกอบ เขียน หน้ากากผีตาโขนรวมไปถึงชุดผีในรูปแบบต่างๆ ซึ่งแต่ละกลุ่มแต่ละยุคสมัยจะไม่เหมือนกันในแต่ละกลุ่ม ซึ่งภายใต้กลุ่มกระจอกศิลป์ ปีนี้ใช้ในตรีมผีตาโขนย้อนยุคไปในสมัยเริ่มแรก เดิมๆ ที่ใช้ชุดจากเศษผ้าพระเก่าๆมาทำเป็นเสื้อคลุม ย้อมด้วยด้วยสีโบราณ
สำหรับการทำหน้ากากหรือหัวผีตาโขนนั้น กลุ่มเด็กหนุ่มในหมู่บ้านได้มารวมตัวกันในช่วงบ่ายๆเย็นๆ ของวัน มาทำกันโดยสามารถทำได้โดยใช้หวดนึ่งข้าวเหนียวและกาบมะพร้าวเป็นวัสดุหลัก โดยนำหวดนึ่งข้าวเหนียวมาดัดแปลงเป็นรูปทรงคล้ายหมวก และนำกาบมะพร้าวมาทำเป็นส่วนหน้ากาก โดยการขึ้นรูปและเจาะช่องตา ส่วนการตกแต่งสีสันและรายละเอียดอื่นๆ สามารถทำได้ตามความชอบและความคิดสร้างสรรค์ ขั้นตอนการทำหน้ากากผีตาโขน: 1. 1. เตรียมวัสดุ: • หวดนึ่งข้าวเหนียว: เลือกหวดที่มีขนาดพอเหมาะสำหรับสวมศีรษะ • กาบมะพร้าว: เลือกกาบมะพร้าวที่แห้งและแข็งแรงนำไปแช่น้ำ • เชือกหรือลวด: สำหรับยึดส่วนต่างๆ ของหน้ากาก • สี: สีน้ำ สีอะคริลิก หรือสีอื่นๆ ที่ใช้สำหรับงานศิลปะ • อุปกรณ์อื่นๆ: กรรไกร คัตเตอร์ กาว 2. 2. ทำโครงหน้ากาก: • นำหวดนึ่งข้าวเหนียวมาดัดแปลงเป็นรูปทรงหมวก โดยอาจจะต้องตัดแต่งหรือเสริมโครงสร้างบางส่วนเพื่อให้สวมศีรษะได้พอดี • นำกาบมะพร้าวมาขึ้นรูปเป็นส่วนหน้ากาก โดยอาจจะต้องตัดแต่งให้ได้รูปทรงที่ต้องการ แล้วจึงนำมาติดกับโครงหวด • เจาะช่องสำหรับตา จมูก และปาก 3. 3. ตกแต่งหน้ากาก: • ใช้สีต่างๆ ตกแต่งหน้ากากให้มีลวดลายและสีสันตามต้องการ อาจจะวาดลวดลายตามจินตนาการ หรือเลียนแบบลวดลายของหน้ากากผีตาโขนแบบดั้งเดิม การทำหน้ากากผีตาโขนเป็นกิจกรรมที่สามารถทำร่วมกันได้ทั้งครอบครัว หรือกลุ่มเพื่อน ทำให้เกิดความสนุกสนาน และเป็นการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมของท้องถิ่นได้อีกด้วย ชาวบ้านชุมชนในอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย กำลังวาดและสร้างสรรค์หน้ากากผีตาโขนอย่างคึกคักในช่วงนี้
นายธวัทชัย ชมเมือง หัวหน้ากลุ่มกระจอกศิลป์ บ้านปากหมัน ตำบลปากหมัน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เล่าวว่าตอนนี้ตอนเย็นๆจะมีหนุ่มสาว ชาวบ้านมารวมตัวกันเพื่อทำหน้ากาก ชุดผีตาโขนกันในหมู่บ้านซึ่งปีนี้คาดว่ามีหน้ากากเข้าร่วมวันเปิดงานเป็นจำนวนมาก คาดรวมทั้งหมดในอำเภอด่านซ้าย ประมาณ 60 กลุ่ม กลุ่มละ 30-50 ตัว เข้าร่วมงานหรือประมาณ 1800 ตัว และกลุ่มอิสระกลุ่มท้องที่ ท้องถิ่น อีกกว่ามากกมายคงไม่ต่ำกว่า 2500-3000 ตัว ตนนั้นเป็นคนทำหัวหน้ากกากผีตามโขนและทำของชำร่วยเกี่ยวกับผีตาโขนมาหลายปีแล้ว มีลูกศิษย์และกลุ่มเด็กวัยรุ่นเยาวชนมารวมตัวกันเพื่อทำหน้ากากผีตาโขนที่สืบทอดประเพณีวัฒนธรรมของอำเภอด่านซ้าย ไม่อยากให้สูญหายไป
ด้านนายธรรมนูญ ภาคธูป ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเลย กล่าวว่าอย่างที่จุดนี้ กลุ่มกระจอกศิลป์ บ้านปากหมัน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย จุดนี้จะเป็นการท่องเที่ยวในเชิงสร้างสรรค์คือ creative tourism ที่ทาง อพท.เลยนั้น ได้เข้ามาส่งเสริมกิจกรรม คือการใช้หน้ากากผีตาโขนเพื่อมาพัฒนาเป็นของฝากของที่ระลึกที่เป็นสัญลักษณ์ของผีตาโขน แล้วก็ในช่วงนี้ก็จะเป็นช่วงที่เค้าจะมีการละเล่นผีตาโขนกันอยู่ในวันที่ 28 ถึง 30 เดือน มิถุนายนนี้เป็นเป็นการจัดงานใหญ่ของจังหวัดเลย และจะมีอีกครั้งหนึ่ง ประมาณ ช่วงวันที่ 5 กรกฎาคม 2568 ซึ่งเป็นที่เค้าเรียกกันว่า เป็นวันไหลของผีตาโขน ในวันนั้นจะเป็นการละเล่นที่เป็นแบบพื้นบ้านย้อนยุค มุ่งเน้นในความเป็นตํานานเก่าแก่ในเชิงโบราณของประเพณีผีตาโขน
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
หน้าแรก » ภูมิภาค
Top 5 ข่าวภูมิภาค
![]()
- ผู้ว่าฯหนองบัวลำภู เซ็นคำสั่งชะลอสร้างสถานีตรวจสอบน้ำหนัก ทำประชาพิจารณ์ผู้ได้รับผลกระทบก่อน 24 ก.ค. 2568
- พิษพายุวิภา! น้ำท่วมโรงเรียนดังแม่สอด สั่งหยุดเรียน 2 วัน 24 ก.ค. 2568
- ปืนใหญ่ตกใกล้ รพ.บ้านกรวด! เจ็บ 1 วัวตาย 2 เร่งอพยพผู้ป่วย 70 ราย 24 ก.ค. 2568
- คอหวยแห่ซื้อเลขเด็ด "หลวงปู่นาค" เกจิดังครบรอบ 91 ปี ในงานวันบุพการี วัดหัวหิน 24 ก.ค. 2568
- เสียงปืนฝั่งบุรีรัมยาดังแล้ว! นร.ชาวบ้านเริ่มอพยพชาวบ้านหนุน 24 ก.ค. 2568
ข่าวในหมวดภูมิภาค
![]()
20 จังหวัดอีสานร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “5G-Model” ที่ ร.ร.สนามบิน ต้นแบบนวัตกรรมอ่านออกเขียนได้ 20:56 น.
- เปิดยิ่งใหญ่! "พัทยามาราธอน 2025" คึกคักนักวิ่งนานาชาติกว่า 10,000 คน ตบเท้าชิงชัย มีไดโนเสาร์นักวิ่งร่วมแจม 4.5 k. สร้างสีสัน 20:45 น.
- สลด! พบซากเต่าหญ้าเกยตื้นเสียชีวิตหน้าชายหาดเขาหลัก 20:42 น.
- ยโสธร จัดงานลำไยหวาน เปิดตลาดให้เกษตรกร 20:33 น.
- ทนายโนบิ" พา "พี่สมหมาย" มือชกทหารเขมรรับทราบข้อกล่าวหา เอาคืนแจ้งจับ "ป้าโมนิก้า" ชี้หน้าด่าทหารไทย 20:29 น.