วันพุธ ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2567 18:55 น.

กทม-สาธารณสุข

“อนุทิน” นำ สธ.ประชุมร่วมภาครัฐ-เอกชน เปลี่ยนโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น

วันพฤหัสบดี ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2565, 15.15 น.

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม 2565  ที่กระทรวงสาธารณสุข จังหวัด นนทบุรี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการจัดการสถานการณ์โรคโควิด 19 สู่โรคประจำถิ่น ว่า สำหรับกระทรวงสาธารรสุข เป็นกระทรวงหนึ่ง ที่กำหนดทิศทางประเทศหลังการระบาดของโควิด-19 หลังจากประเทศเปิด การท่องเที่ยวต้องกลับมาแน่นอน ตอนนี้ เพียงค่อยๆ คลายล็อก ปรากฏว่า ต่างชาติเข้ามาจำนวนมาก ประเทศยังมีเสน่ห์ เป็นเป้าหมายการเดินทาง ประเทศไทย มีความพร้อม ทั้งยา แพทย์ สถานพยาบาล กลุ่มนักลงทุน ยังมองมาที่ประเทศไทย เพราะระบบสุขภาพเราเข้มแข็ง ระบบโครงสร้างพื้นฐานของไทยยังนับว่ายอดเยี่ยม เมื่อก่อนนักลงทุนอาจจมองว่า ไทยมีค่าแรงแพง แต่ถ้าเทียบค่าใช้จ่ายเวลามีวิกฤติ นักลงทุน มองว่า การลงทุนที่ไทยมีความมั่นคงมากว่า 

ช่วง 2 ปีที่ไทย เจอโควิด-19 เล่นงาน เรายังเดินหน้าพัฒนาเรื่องคมนาคมขนส่ง โครงสร้างพื้นฐาน มอเตอร์เวย์ รถไฟความเร็วสูง เส้นทางเชื่อมประเทศเพื่อนบ้าน ยังเดินหน้าต่อไป ตอนนี้โครงสร้างเราพร้อมแล้ว แล้วการเมืองไทย มั่นคง ไทยมีทางออกทางทะเลด้วย เป็นศูนย์กลางของภูมิภาค ไทยมีจุดแข็งจำนวนมาก เรื่องสาธารณสุข คือจุดที่เราทำได้เยี่ยม นี่คือจุดเด่น ในวันที่ทั่วโลก ต้องคำนึงถึงเรื่องการระบาดของโรค ไทยก็ยิ่งเด่นชัดในสายตานานาชาติ มันถึงเวลาที่ต้องพลิกฟื้นประเทศไทยแล้ว เรากลังพยายามทำให้เป็นโรคประจำถิ่น หรือการทำให้โควิดเป็นโรคหนึ่ง ที่เราต้องจัดการได้ เมื่อมีประชาชนติดเชื้อ ป่วย ต้องรักษาได้ ตามมาตรการ ยาพอ เตียงพอ หมอพอ วันนี้อัตราการครองเตียงของผู้ป่วย คือ 20%  เรามั่นใจว่าการดูแลประชาชน ของเรา มีทรัพยากรที่เพียงพอ เรื่องยา เรามีทั้งการวางแผนนำเข้า ผลิตเอง ไปจนถึงการสต็อก และการกระจายยา ส่วนวัคซีน ตอนนี้ เรากำลังรณรงค์ให้มารับเข็ม 4  วัคซีน ถือว่าทำงานได้ดี ช่วยลดอาการป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ คนที่ต้องมารับ และต้องใส่ใจให้มากคือ กลุ้มผู้สูงอายุ กลุ่ม 608

วันนี้ มีการเชิญคณะกรรมการที่กระทรวงสาธารรสุข มีคำสั่งแต่งตั้ง เพื่อบูรณาการทิศทางการพาประเทศไทย เปลี่ยนโควิด-19 จากโรคระบาดร้ายแรง สู่การเป็นโรคประจำถิ่น มีทั้งภาคราชการ และกระทรวงที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย มีผู้แทนสมาคมโรงพยาบาลเอกชน ผู้แทนสมาคมท่องเที่ยว ผู้แทนสมาคมหอการค้า ทุกมีความพร้อมในการผลักดันให้ประเทศคืนสู่ความเป็นปกติ การไปเป็นโรคประจำถิ่น เราเดินไปทางนั้นอยู่แล้ว ส่วนจะประกาศ ก็ต้องรอดูท่าทีขององค์การอนามัยโลกด้วย เราแจ้งแนวทางกับผู้ประกอบ และเอกชน ทุกฝ่ายต่างยินดีที่เรายกเลิก TEST AND GO ส่วนการยกเลิก THAILAND PASS ต้องรอทางคณะกรรมการ ศบค. พิจารณา 

เมื่อถามถึงแนวทางการรักษาผู้ป่วย หลังเปลี่ยนโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น นายอนุทินตอบว่า ขอย้ำว่านโยบายบัตรทอง เป็นสิทธิ์ที่สามารถรักษาได้ เรามีการพัฒนาเรื่องนี้ อยู่ตลอด ย้อนกลับไปที่เรื่องบัตรทอง ซึ่งเริ่มมา 20 กว่าปี แล้วพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ มีสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้นมามากมายทั้งฟอกไตฟรี ไปจนถึงสวัสดิการเรื่องผ้าอ้อมผู้ใหญ่ ซึ่งช่วยลดภาระให้บุตรหลานได้มากพอสมควร นี่คือการต่อยอดในโครงการบัตรทอง ไปจนถึงโรคหายาก เราก็เพิ่มสิทธิ์ในการรักษา ฐานรากมาดี ต้องขอบคุณผู้ที่ริเริ่ม การต่อยอด เราก็ยังทำเต็มที่ กลับมาที่โควิด-19 บัตรทองเราปรับสิทธิ์ในการรักษาเพื่อรองรับอยู่แล้ว และต้องขอขอบคุณพี่น้องประชาชน ที่ยังรักษามาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันโรค 

หน้าแรก » กทม-สาธารณสุข