กทม-สาธารณสุข
รวมวิธีตรวจมะเร็งเต้านม ตรวจแบบไหนดี?
วันศุกร์ ที่ 09 มิถุนายน พ.ศ. 2566, 08.24 น.
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

รวมวิธีตรวจมะเร็งเต้านม ตรวจแบบไหนดี?

สถานการณ์ความเจ็บป่วยด้ วยโรคมะเร็งของผู้หญิงไทยในปั จจุบันมีความน่ากังวลเพิ่มมากขึ้ น จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข ในปี 2565 พบว่า มะเร็งเต้านมของผู้หญิงไทยมีตั วเลขที่เพิ่มมากขึ้น จำนวน 38,559 ราย โดยพบในวัย 60 ปีขึ้นไปมากที่สุด รองลงมาคือช่วงอายุ 50-59 ปี โดยมะเร็งเต้านมส่ วนมากจะพบในระยะที่ก้อนมะเร็งมี การอักเสบ และลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียง เนื่องจากในระยะแรกของมะเร็งเต้ านมจะไม่มีอาการ จึงเป็นเหตุผลที่ว่า การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเป็ นประจำ เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกั นการสูญเสียจากมะเร็งเต้านม เพราะยิ่งตรวจพบไว ยิ่งเพิ่มโอกาสรักษาหาย
ตรวจเต้านมมีแบบใดบ้าง?
การตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็ นการสร้างความคุ้นเคยต่อสรี ระเต้านมตนเอง ทำให้ตระหนักถึงสุขภาพของเต้านม ประโยชน์จากการตรวจเต้านมด้ วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ เป็นการเพิ่ มโอกาสในการตรวจพบโรคมะเร็งเต้ านมในระยะเริ่มแรกได้มากกว่า และมีแนวโน้มในการลดอั ตราการตายจากโรคมะเร็งเต้านมได้ มากกว่า มีการแนะนำให้ผู้หญิงทุกคนที่ อายุตั้งแต่ 25 ปี ตรวจเต้านมด้วยเองอย่างสม่ำ เสมออย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง หลังเป็นประจำเดือนประมาณ 1 สัปดาห์ ถ้าพบความผิดปกติแนะนำแนะนำให้ มาพบแพทย์
การตรวจเต้านมที่แพทย์ศูนย์ โรคเต้านมแนะนำในปัจจุบัน จะมี 4 วิธี ดังนี้
คลำด้วยตัวเอง
การตรวจเต้านมด้ วยตนเองสามารถทำได้ แต่ต้องมีการทำเป็นประจำ เพื่อเป็นการฝึกทักษะ โดยมีวิธีการตรวจเต้านมด้วยตั วเองดังนี้
1. ยืนหน้ากระจก ท่ามือข้างลำตัวและยกแขน 2 ข้าง เพื่อสังเกตการเปลี่ ยนแปลงของขนาด รูปร่างสีผิว ตำแหน่งของหัวนมและเต้านม
2. นอนราบในท่าสบาย ใช้มือคลำเต้านมทั่วทั้งเต้านม ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้
3. ขณะยืนอาบน้ำ ใช้มือคลำให้ทั่วทั้งเต้านม รักแร้ ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ และคอ อีกทั้งบีบหัวนมว่ามีของเหลวหรื อไม่
หากพบความผิดปกติ รู้สึกคลำแล้วต่างจากเดิม ควรพบแพทย์ เพื่อตรวจเพิ่มเติมยืนยันอีกครั้ ง

คลำด้วยมือ โดยแพทย์เฉพาะทางศูนย์โรคเต้านม

เมื่อสังเกตอาการ ตรวจคลำด้วยตัวเองแล้วรู้สึกผิ ดปกติ หรือมีความเสี่ยงด้วยประวัติ ครอบครัว แต่คลำด้วยตัวเองเท่าไรก็ไม่เจอ แนะนำพบแพทย์เพื่อตรวจเต้ านมโดยจะมีการตรวจทั้งในท่านั่ง และท่านอน รวมถึงต่อมน้ำเหลือง ด้วยความชำนาญของแพทย์ เฉพาะทางโรคเต้านมจะแม่นยำกว่ าการคลำด้วยตัวเอง
การตรวจด้วยแมมโมแกรม (Mammogram)
การทำแมมโมแกรม เป็นการถ่ายภาพรังสีโดยปริมาณรั งสีที่ใช้นั้นใกล้เคียงกั บการเอกซเรย์ปอดทั่วไป มีความปลอดภัย สามารถให้รายละเอี ยดภาพรวมของเต้านมทั้งหมด สามารถวินิจฉัย รอยโรคที่เป็นหินปูนขนาดเล็กที่ อยู่ใกล้หรือซ้อนทับกัน สามารถตรวจพบรอยโรคของมะเร็งเต้ านมตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม
ในขณะที่ในผู้หญิงอายุน้อยที่มี ความหนาแน่นของเต้านมสูง (Extremely Dense Breast) การตรวจด้วยเครื่องดิจิ ตอลแมมโมแกรมอาจไม่สามารถให้ รายละเอียดได้ดีนัก ในทางปฏิบัติจึงอาจใช้เพียงอั ลตราซาวนด์เต้านมก็เพียงพอ ซึ่งการตรวจแมมโมแกรมมีทั้งแบบ 2 มิติ(2D Mammogram) และ 3 มิติ (3D Mammogram) ที่มีความละเอียดสูง และจะมีผลบวกลวง(False Positive) น้อยกว่าแบบ 2 มิติ โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีความหนาแน่ นของเต้านมมาก อายุน้อยกกว่า 50 ปี และวัยก่อนหมดประจำเดือน และการตรวจด้วยดิจิ ตอลแมมโมแกรมแบบ 3 มิติ พบว่าลดโอกาสการพบมะเร็งเต้ านมระยะแพร่กระจายได้ดีกว่าแบบ 2 มิติในผู้หญิงที่มีความหนาแน่ นของเต้านมมากร่วมกับมีความเสี่ ยงสูงในการเกิดมะเร็งเต้านม
อัลตราซาวนด์เต้านม
นอกจากการทำแมมโมแกรมแล้ว การอัลตราซาวนด์เต้านม เป็นอีกการตรวจที่ช่วยเพิ่ มความแม่นยำให้กับการตรวจเต้านม โดยเป็นการใช้คลื่นความถี่สูง และเกิดภาพที่สามารถช่วยในการวิ เคราะห์ลักษณะของเต้านมว่า ก้อนที่มีเป็นถุงน้ำหรือก้อนเนื้ อ ทำให้ผลตรวจชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะกับผู้หญิงอายุน้อยที่ มีความหนาแน่นของเต้านมมาก แต่ก็ไม่ใช่การตรวจที่ สามารถบอกความผิดปกติได้ทั้งหมด แพทย์เฉพาะทางโรคเต้านมจึ งมากให้ตรวจร่วมกันกั บการทำแมมโมแกรม
นอกจากนี้ยังมีการตรวจด้วยคลื่ นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ในกรณีที่มีอาการ มีความเสี่ยง หรือเต้านมมีความหนาแน่นมาก แต่ทั้งนี้จะเป็นการพิจารณาร่ วมกันระหว่างแพทย์ เฉพาะทางโรคเต้านมและผู้รับบริ การ
อายุไม่มาก ไม่ต้องตรวจเต้านม?
แม้สถิติจะระบุว่า มะเร็งเต้านมพบมากในกลุ่มหญิงวั ย 60 ปีขึ้นไป แต่ใช่ว่าอายุน้อยจะไม่ต้องตรวจ เพราะการที่ตรวจพบมะเร็งเต้ านมในช่วง 40-60 ปี คือ มีอาการแล้วจึงไปตรวจ ทำให้พบมะเร็งเต้านมในระยะที่ร้ ายแรง แต่ถ้าตรวจเป็นประจำสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจด้วยตัวเอง ตรวจโดยแพทย์ หรือการตรวจแมมโมแกรม ร่วมกับอัลตราซาวนด์ จะช่วยลดความเสี่ยงในการพบมะเร็ งเต้านมในระยะที่เป็นอันตราย เพราะตรวจพบเร็ว การรักษามะเร็งเต้านมก็ยิ่งมี ผลลัพธ์การรักษาที่ดี
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
หน้าแรก » กทม-สาธารณสุข
Top 5 ข่าวกทม-สาธารณสุข ![]()
- สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอัสตานา เดินหน้าผลักดัน “การทูตเพื่อการพัฒนา” 5 ก.ค. 2568
- “รางจืด” พืชมหัศจรรย์! ล้างพิษโลหะหนัก แก้พิษยาบ้า–สุรา–แมงดาทะเล “อภัยภูเบศร” ยกผลวิจัยหนุนชัด 5 ก.ค. 2568
- ผ่าวิกฤตกระดูกสันหลังคนไทย ส่องงานสัมมนาใหญ่เจาะลึกภัยเงียบจากยุค 'ใช้หลังหนัก' สู่ 'สังคมก้มหน้า' 5 ก.ค. 2568
- สสส.ผนึกภาคีขับเคลื่อนพลังชุมชนท้องถิ่นอภิวัฒน์ระบบสุขภาวะประเทศ 5 ก.ค. 2568
ข่าวในหมวดกทม-สาธารณสุข ![]()
สสส.ผนึกภาคีขับเคลื่อนพลังชุมชนท้องถิ่นอภิวัฒน์ระบบสุขภาวะประเทศ 18:20 น.
- “รางจืด” พืชมหัศจรรย์! ล้างพิษโลหะหนัก แก้พิษยาบ้า–สุรา–แมงดาทะเล “อภัยภูเบศร” ยกผลวิจัยหนุนชัด 14:43 น.
- สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอัสตานา เดินหน้าผลักดัน “การทูตเพื่อการพัฒนา” 14:32 น.
- ผ่าวิกฤตกระดูกสันหลังคนไทย ส่องงานสัมมนาใหญ่เจาะลึกภัยเงียบจากยุค 'ใช้หลังหนัก' สู่ 'สังคมก้มหน้า' 10:48 น.
- รพ.เจริญกรุงประชารักษ์ จัดกิจกรรมวันอนามัยสิ่งแวดล้อมไทย 18:19 น.