กทม-สาธารณสุข
โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (acute diarrhea)
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (acute diarrhea)
โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน หมายถึง การถ่ายอุจจาระเหลว หรือเป็นน้ำ 3 ครั้งขึ้นไปภายใน 24 ชม. และมีอาการมานานไม่เกิน 7 วัน อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดท้อง ไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว ปวดเมื่อยตัว ส่วนใหญ่โรคอุจจาระร่วงมักจะหายเองภายใน 2-3 วัน ซึ่งบทความให้ความรู้โดย พญ.จิตราภา แสนโภชน์ อายุรแพทย์เฉพาะทางโรคระบบทางเดินอาหาร ศูนย์ระบบทางเดินอาหาร (Gastroenterology and Hepatology Center) โรงพยาบาลนวเวช ได้ตอบคำถามพร้อมอธิบายอาการของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันเอาไว้อย่างละเอียด สำหรับนำไปสังเกตตนเองและคนรอบข้าง หากมีอาการดังกล่าวจะได้เข้าสู่กระบวนการรักษาได้อย่างทันท่วงที โดยสาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่ การติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย โปรโตซัว หรือได้รับพิษของแบคทีเรียที่ปนเปื้อนในอาหาร เป็นต้น
อาการของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน
- ถ่ายเหลวเป็นน้ำ เป็นมูก หรือมีเลือดปน
- ปวดท้อง ปวดบีบเกร็ง หรือ ปวดบิดๆในท้อง
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ไข้ ปวดเมื่อยตัว ปวดหัว
- อาการของการขาดน้ำ ได้แก่ ปากแห้ง เวียนหัว หน้ามืด เป็นลม ชีพจรเต้นเร็ว
สาเหตุของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน
- สาเหตุที่พบได้บ่อย ในโรคอุจจาระร่วง ได้แก่ การติดเชื้อ และได้รับพิษจากแบคทีเรียในอาหาร
- การติดเชื้อที่พบบ่อย ได้แก่ โรต้าไวรัส (Rotairus) โนโรไวรัส (Noroirus) แบคทีเรีย โปรโตซัว พยาธิ
นอกจากนั้นยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ไม่ใช่การติดเชื้อ ได้แก่ การกินอาหารรสจัด หรืออาหารที่ทำให้เกิดการระคายเคืองของระบบทางเดินอาหาร ภาวะย่อยน้ำตาลแลคโตสบกพร่อง การได้รับยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะ ยารักษาเบาหวานบางชนิด ยารักษาโรคเก๊าท์ ยาระบาย
อาหารที่อาจเป็นสาเหตุของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน
- อาหารที่รับประทานโดยไม่ผ่านการปรุงสุก โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ ไข่ไก่ดิบ อาหารทะเล
- ผักสด และผลไม้ ที่ไม่ได้ล้างให้สะอาด
- นม หรือผลิตภัณฑ์จากนม ที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ
- อาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ หรือ พิษของเชื้อ
การปฏิบัติตนเมื่อมีอาการอุจจาระร่วงเฉียบพลัน
- รับประทานน้ำเกลือแร่ โดยจิบบ่อย ๆ เป็นระยะ หากมีอาการท้องเสียบ่อยครั้ง เพื่อชดเชยภาวะการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ของร่างกาย
- รักษาด้วยยาตามอาการ ได้แก่ ยาแก้ปวดบิดเกร็งในช่องท้อง ยาแก้คลื่นไส้ หรืออาเจียน ยาลดอาการท้องร่วง ยาแก้ไข้
- รักษาด้วยยาปฏิชีวนะ อาจมีความจำเป็นในบางราย ควรได้รับการปรึกษาจากแพทย์ก่อน
- รับประทานอาหารอ่อน ๆ ย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ด รสจัด อาหารมัน
- ควรไปพบแพทย์ หากอาการไม่ดีขึ้น หรือมีไข้ หรืออุจจาระมีเลือดปน หรือมีอาการของการขาดน้ำ ได้แก่ เวียนหัว หน้ามืด เป็นลม ร่วมด้วย
- ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงที่จะมีภาวะแทรกซ้อนของอุจจาระร่วงเฉียบพลัน ได้แก่ ผู้ป่วยอายุ>65 ปี ผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง หรือโรคที่ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ ผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์ ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการ
วิธีป้องกันโรคอุจจาระร่วง
- รับประทานอาหารปรุงสุก และ สะอาด
- รับประทานผักสด และ ผลไม้ ที่ผ่านการล้างอย่างสะอาดเท่านั้น
- ล้างมือด้วยสบู่ ก่อนรับประทานอาหาร และหลังจากเข้าห้องน้ำเสมอ
เพราะทุกวินาทีคือชีวิต “โรงพยาบาลนวเวช” ให้บริการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ด้วยรถพยาบาลฉุกเฉิน (Advance ambulance) พร้อมทีมแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ฉุกเฉินและทีมสหสาขาวิชาชีพ(Multidisciplinary Team) ประจำการตลอด 24 ชั่วโมง ควบคู่กับเครื่องมือเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยในการช่วยชีวิตคนไข้วิกฤตและผู้ประสบเหตุฉุกเฉิน กรณีต้องการเรียกรถพยาบาลฉุกเฉินทันทีโทร. 02-483-9944 ซึ่งหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน สามารถสอบถามรายละเอียดและขอรับคำปรึกษาได้ที่ ศูนย์ระบบทางเดินอาหาร โทร. 1507 I Line: @navavej
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
หน้าแรก » กทม-สาธารณสุข
ข่าวในหมวดกทม-สาธารณสุข ![]()
“อภัยภูเบศร” ผนึกกำลังเรือนจำปราจีนบุรี ต่อยอดสมุนไพรครบวงจร พร้อมบินลัดฟ้าสู่ World Expo 2025 โอซากา โปรโมท Thai Wellness สู่เวทีโลก 11:18 น.
- “สมศักดิ์”ถวายความรู้พระสงฆ์ปลอดโรค NCDs หลังพบ พระสงฆ์เสี่ยงป่วย NCDs ถึง 78% ตั้งเป้าปี 68 16:58 น.
- ฉลองครบรอบ 87 ปี มอบสุขภาพดีด้วย.. ชุดตรวจสุขภาพและวัคซีนป้องกันโรค 16:21 น.
- “สมศักดิ์” ลุยต่อ จ.ลำพูน ยกทัพ 10 คลินิก ส่งเสริม-คัดกรอง-ป้องกัน-รักษาโรค NCDs มาให้บริการเต็มที่ 12:04 น.
- “สมศักดิ์” ลุยต่อจังหวัดเชียงใหม่ เปิด”โครงการบริการทุกช่วงวัย” หลัง นายกฯ Kick off ใหญ่เมื่อเช้า 19:01 น.