วันศุกร์ ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2567 05:19 น.

อาชญากรรม

ชาวบ้านสุดทนแจ้งลักลอบตัดไม้เหนือเขื่อนบางลาง แฉมอดไม้ใช้สัญญาณ WiFi ส่งสัญญาณจนท.เข้า

วันพฤหัสบดี ที่ 05 กันยายน พ.ศ. 2567, 16.39 น.

เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2567 เนื่องจากมีชาวบ้านกลุ่มคนรักป่า (สงวนชื่อ)ได้มาให้ข่าวกับเจ้าหน้าที่ว่า มีกลุ่มคนจากนอกพื้นที่และในพื้นที่ เข้าไปตัดไม้ทำลายป่าใหม่เป็นจำนวนมากหลายแปลง ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำเหนือทะเลสาบฮาลาบาลา ต้นน้ำเหนือทะเลสาบเขื่อนบางลาง เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ซึ่งชาวบ้านกลุ่มคนรักป่า ให้ข่าวว่า มีการตัดไม้ทำลายป่าใหม่ แผ้วถางป่าใหม่ และใช้รถไถ ไถเข้าไปในป่าบนภูเขา ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำเหนือทะเลสาบฮาลาบาลา เหนือเขื่อนบางลาง บริเวณท้องที่ โครงการจุฬาภรณ์พัฒนา 7 จ.ยะลา และเป็นพื้นที่ โครงการอนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่าสวนป่าพระนามาภิไธยภาคใต้ส่วนที่ 2 (ป่าสิริกิติ์) ในพื้นที่ บ้านจุฬาภรณ์ 7 ม.6 ต.แม่หวาด อ.ธารโต จ.ยะลา และในพื้นที่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 9 หมู่ที่ 9 ต.แม่หวาด อ.ธารโต จ.ยะลา ยังเป็นพื้นที่ โครงการอนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่าสวนป่าพระนามาภิไธยภาคใต้ส่วนที่ 2 (ป่าสิริกิติ์) เป็นพื้นที่เขตป่าสงวนป่าต้นน้ำ เพื่อกิจการนิคม ต้นน้ำแม่น้ำปัตตานี พื้นที่เขตป่าสงวนต้นน้ำ โดยชาวบ้านกลุ่มคนรักป่า แจ้งในเบื้องต้นว่าพบเห็นพื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายแล้วจำนวน 2 หมู่บ้าน รวมจำนวน 5 แปลง โดยจุดที่ 1 อยู่ในพื้นที่ป่าไม้ บ้านจุฬาภรณ์ 7 หมุ่ที่ 6 ต.แม่หวาด อ.ธารโต จ.ยะลา ที่ความสูงประมาณ 252 เมตร จุดพื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายใหม่ตลอดเวลา จะพบเห็นร่องรอยใช้รถไถ ไถป่าบริเวณพื้นที่เป็นป่าเป็นขั้นเป็นชั้นประมาณ 4 ชั้น แล้วและมีการปลูกต้นทุเรียนขนาดเล็กจำนวนมาก และยังตรวจพบ การใช้เครื่องเลื่อยโซ่ยนต์ตัดไม้หวงห้ามขนาดใหญ่จำนวนหลายต้น แล้วลักลอบแปรรูป แผ้วถางป่า ยังเผาป่า ใกล้และติดถนนสาย โครงการจุฬาภรณ์พัฒนา 7 ซึ่งเป็นป่าอนุรักษ์ ป่าต้นน้ำ  นอกจากนี้ชาวบ้านกลุ่มคนรักป่าบอกกับเจ้าหน้าที่ว่ากลุ่มขบวนการลักลอบตัดไม้ ใช้สัญญาณWiFi คอยส่งสัญญาณเมื่อเจ้าหน้าที่เข้าทำให้ไหวตัวทันทุกครั้งไป

ขณะที่เจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจสอบจากแผนที่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และเอกสาร โครงการจุฬาภรณ์พัฒนา 7 จังหวัดยะลา ซึ่งอยู่ในเส้นเขตบริเวณพื้นที่ โครงการจุฬาภรณ์พัฒนา 7 จ.ยะลา และในเขตพื้นที่ โครงการอนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่าสวนป่าพระนามาภิไธยภาคใต้ส่วนที่ 2 (ป่าสิริกิติ์) โครงการจุฬาภรณ์พัฒนา 7 จ.ยะลา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่ออนุรักษ์สภาพป่าธรรมชาติ และฟื้นฟูสภาพป่าเสื่อมโทรมให้สามารถเอื้อประโยชน์ได้สูงสุด เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพให้คงความอุดมสมบูรณ์ และยั่งยืน เพื่อเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาและเผยแพร่ความรู้ในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ และระบบนิเวศป่าดิบชื้น และเพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ซึ่งชาวบ้านแจ้งว่าไมเคยให้ผู้ใดถือครองเขตขอใช้และจุดที่ 2 เป็นพื้นที่ป่าไม้ท้องที่ บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 9 ม.9 ต.แม่หวาด อ.ธารโต จ.ยะลา มีพื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายรุนแรง 4 แปลง ซึ่งอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนต้นน้ำเพื่อกิจการนิคม โครงการอนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่าสวน  ป่าพระนามาภิไธยภาคใต้ส่วนที่ 2 (ป่าสิริกิติ์) และเป็นพื้นที่ป่าไม้ถาวร ที่สมบูรณ์มาก มีต้นไม้มีค่าขนาดใหญ่จำนวนมาก ถูกตัดไม้ทำลายป่าจำนวน 4 แปลง คือ แปลงที่ 1 เป็นการตัดไม้ขนาดเล็ก ไม้ไผ่ ไม้พื้นล่าง กำลังแผ้วถางป่าขยายพื้นที่ไปเรื่อย ๆ เพื่อทำการเกษตร ทางทิศเหนือของถนนสาย บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 7 ไป บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 9 ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำเหนือทะเลสาบฮาลาบาลา เหนือเขื่อนบางลาง  แปลงที่ 2 ท้องที่ บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 9 เป็นการตัดไม้ขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก แผ้วถางป่า ขุดดินขยายพื้นที่การลักลอบทำลายป่าเพิ่มเติมไปเรื่อย ๆ ด้านหลังกลุ่มบ้าน

ชาวบ้านกลุ่มคนรักป่า บอกกับเจ้าหน้าที่ว่า พื้นที่บุกรุกป่าสามารถมองเห็นจากถนนทางทิศใต้ ของถนนสาย บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 7 ไป บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 9 ทางทิศใต้ เยื้องก่อนถึงบ้าน ผู้ใหญ่บ้าน  ต่อมาเจ้าหน้าที่ได้เดินสำรวจมาพบแปลงที่ 3 อยู่ในท้องที่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 9 เป็นการตัดไม้ขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก แผ้วถางป่า ยังมีตัดไม้ขนาดใหญ่ แผ้วถางป่า ขุดดินขยายพื้นที่การลักลอบทำลายป่าเพิ่มเติมไปเรื่อย ๆ ด้านหลังกลุ่มบ้าน ขณะนี้มองเห็นจากถนนทางทิศใต้ ของถนนสาย บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 7 ไป บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 9 ทางทิศใต้ หมู่บ้านทางทิศใต้ ตรงข้ามกับบ้าน  และแปลงที่ 4 เป็นการกำลังตัดไม้ขนาดเล็ก ไม้พื้นล่าง แผ้วถางป่า เป็นพื้นที่ป่าไม้สมบูรณ์มาก มีไม้มีค่าขนาดใหญ่จำนวนมาก ติดด้านทิศใต้ของถนนสาย บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 7 ไป บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 9 ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำเหนือทะเลสาบฮาลา บาลา เหนือเขื่อนบางลาง พื้นที่ป่าจุดดังกล่าว มีการครอบครองที่ดินถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่อย่างไร

โดยชาวบ้านกลุ่มคนรักป่า บอกกับเจ้าหน้าที่ว่า การตัดไม้ทำลายป่าใหม่ ทุกแปลง มองเห็นจากถนนเส้นทางจาก บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 7 ไป หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 9 ซึ่ง มีเจ้าหน้าที่ป่าไม้ เจ้าหน้าที่อนุรักษ์ เจ้าหน้าที่นิคม และ นักท่องเที่ยว เข้าไปเที่ยว หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 9 โดยลงเรื่อเที่ยวในทะเลสาบฮาลาบาล เที่ยวน้ำตกฮาลาซะห์ และทะเลหมอกหินโยก จึงมองเห็นพื้นที่ป่าไม้ที่ถูกทำลายทุกแปลง การทำลายพื้นที่ป่าไม้ที่ยังคงสมบูรณ์แปลงใหญ่ ๆ ซึ่งหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 7 และ หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 9 เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ซึ่งมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากพบเห็นป่าไม้ที่ถูกทำลาย ตามยอดเขาป่าไม้ที่สมบูรณ์และพื้นที่การตัดไม้ ทำลายป่าใหม่ อยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ป่าสงวนป่าต้นน้ำ จึงมีคำถามจากนักท่องเที่ยวที่พบเห็นที่มีการตัดไม้ทำลายป่าใหม่ ว่าโครงการจุฬาภรณ์พัฒนา 7 จ.ยะลา ยึดถือครอบครองได้หรือไม่ โครงการอนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่าสวนป่าพระนามาภิไธยภาคใต้ส่วนที่ 2 (ป่าสิริกิติ์) เป็นพื้นที่ป่าสงวนต้นน้ำเพื่อกิจการนิคม หรือไม่ ของ นิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ จ.ยะลา อนุญาตให้ยึดถือครอบครอง ได้หรือไม่และเป็นอย่างไร เป็นพื้นที่ป่าไม้ถาวร พ.ศ.2484 หรือไม่ ตัดไม้มีค่า แผ้วถางป่า ได้หรือไม่อย่างไร และที่ดินพื้นที่ป่าไม้ ที่กำลังถูกทำลายใหม่ มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินหรือไม่ ให้ผู้ใดถือครองโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่การอนุญาตในการครอบครอง หรือไม  ชาวบ้านกลุ่มคนรักป่า ต่างเป็นห่วงกังวลว่าหากเกิดผลกระทบจากการตัดไม้ ทำลายป่าอย่างรุนแรง เกรงจะมีผลกระทบ คือจะทำให้น้ำในเขื่อนบางลาง ทะเลสาบฮาลา บาลา แห้งแล้ว เรือ แพ นำพานักท่องท่องเที่ยว แล่นไปท่องเที่ยวไม่ได้ ในอนาคตอาจเป็นภาพป่าถูกทำลาย ป่าสมบูรณ์ ไม่สวยงาม แก่นักท่องเที่ยวเชิงนิเวศและยังมีพื้นป่าแนวเขตโครงการสวนป่า ฯ ท้องที่ อ.เบตง จ.ยะลา ต้นน้ำ เขื่อนบางลาง แม่น้ำปัตตานี ถูกบุกรุกอีกมากมาย ชาวบ้านในพื้นที่กล่าวทิ้งท้าย

หน้าแรก » อาชญากรรม