การศึกษา
วว. แนะเพาะถั่วงอกเบญจรงค์
วันเสาร์ ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2563, 16.31 น.
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

วว. แนะเพาะถั่วงอกเบญจรงค์
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประสบผลสำเร็จในการเพาะ "ถั่วงอกเบญจรงค์" ซึ่งเพาะได้จากถั่วหลายชนิดและหลากสี เช่น ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วดำ ถั่วเหลือง และถั่วลิสง เป็นการเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการจากถั่วงอกธรรมดาซึ่งมักใช้ถั่วเขียวเพียงอย่างเดียว เนื่องจากพืชผักที่มีสีที่แตกต่างกันจะมีคุณประโยชน์และจุดเด่นที่แตกต่างกันกล่าวคือ ผักสีแดงช่วยให้ความอบอุ่นของร่างกาย ผักสีส้มช่วยกระตุ้นการขับถ่าย ผักสีเหลืองช่วยคลายเครียด ผักสีเขียวอ่อนช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย ผักสีเขียวเข้มทำให้หลอดเลือดแข็งแรง และผักสีม่วงบำรุงสายตา
ถั่วงอก (Bean sprouts) มี ข้อดีคือ 1.มีวิตามิน B-complex ซึ่งปกติอยู่ในเมล็ดถั่วอยู่แล้ว เมื่อเพาะเป็นถั่วงอกจะมีวิตามินชนิดนี้เพิ่มขึ้นประมาณ 200-500 % 2. มีการเพิ่มขึ้นของวิตามินเอ แบบก้าวกระโดด (มีมากกว่าในเมล็ดถั่วมาก) เพิ่มขึ้นประมาณ 300 % 3. วิตามินซีในเมล็ดถั่วงอกเพิ่มขึ้นมาจากเมล็ดถั่วแห้ง กล่าวคือ เพิ่มขึ้นประมาณ 500-600 % 4.โดยปกติจะมีโปรตีนเพิ่มขึ้น เนื่องจากขณะงอกจะมีการย่อยสลายแป้ง (คาร์โบไฮเดรต) ซึ่งเป็นแป้งที่โครงสร้างไม่ซับซ้อน ทำให้มีการดูดซับไนโตรเจนจากอากาศมาเป็นองค์ประกอบของโปรตีนทำให้ปริมาณโปรตีนเพิ่มมากขึ้น 5. คาร์โบไฮเดรตลดลงหรือเปลี่ยนไปอยู่ในรูปที่ย่อยง่าย หรือ simple sugar เช่น กลูโคส และซูโคส (แป้งในถั่วงอกอยู่ในรูปที่ย่อยง่ายกว่าแป้งในถั่วเมล็ดแห้ง) 6.ในถั่วเมล็ดแห้งโดยทั่วไปจะไม่มีวิตามินซีหรือ ascorbic acid ซึ่งเป็นสารทำให้ร่างกายย่อยโปรตีนได้ดียิ่งขึ้น แต่ในถั่วงอกกลับมีปริมาณ ascorbic acid ในปริมาณที 7. ถั่วงอกเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับลดความอ้วน เนื่องจากมีใยอาหารสูงและให้พลังงานต่ำกว่าถั่วเมล็ดแห้ง
วิธีการเพาะถั่วงอก (กรณีใช้เมล็ดถั่วเหลืองแห้งเป็นวัตถุดิบ 1.เลือกเมล็ดถั่วเหลืองที่ลีบออก นำแต่เมล็ดที่ดีมาล้างให้สะอาดด้วยน้ำธรรมดา (ไม่ควรล้างด้วยน้ำอุ่นเพราะจะทำให้การงอกของถั่วเหลืองลดลง) แล้วแช่น้ำค้างคืนไว้ 1 คืน เนื่องจากถั่วเหลืองเป็นพืชน้ำมันจึงควรหมั่นเปลี่ยนน้ำ เมล็ดถั่วที่สมบูรณ์จะเริ่มมีรากเล็กๆ งอกออกมา 2.เทเมล็ดถั่วเหลืองลงในกระบะเพาะพลาสติกที่มีผ้าสำลีชุบน้ำรองกระบะ เกลี่ยเมล็ดถั่วเหลืองให้ทั่ว รดน้ำให้ชุ่ม ใช้ผ้าสำลีชุบน้ำให้ชุ่มน้ำปิดทับถั่ว รดน้ำบนผ้าสำลีให้ชุ่มอีกครั้งหนึ่ง 3.ปิดฝา วางไว้ในถุงดำ หรือถังพลาสติกดำ ปิดให้สนิท 4.รดน้ำ พยายามอย่าให้ขาดน้ำ เพราะถั่วเหลืองมีโอกาสเน่าง่ายกว่าถั่วเขียว จะใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน จึงเป็นถั่วเหลืองงอกที่นำไปรับประทานหรือจำหน่ายได้
การเพาะถั่วงอกเบญจรงค์ตามสูตรดังกล่าว สามารถนำวิธีการเพาะประได้กับถั่วชนิดต่างๆสำหรับรับประทานในครัวเรือน ซึ่งจะมีราคาถูกและถูกสุขอนามัยมากขึ้น นอกจากนั้นยังสามารถนำไปเป็นแนวทางการหารายได้เสริมจากภาวะที่เศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากไวรัส COVID-19 หรือในภาวะปกติภายหลังสถานการณ์คลี่คลาย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ วว. โทร.0 -2577 -9000 โทรสาร 0 -2577 - 9009 ในวันและเวลาราชการ E-mail : tistr@tistr.or.th
Email ข่าวการศึกษา เยาวชน ศิลปวัฒนธรรม saowaporn@hotmail.com และ bat_mamsao@yahoo.com
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
หน้าแรก » การศึกษา
ข่าวในหมวดการศึกษา ![]()
นิพพานสถานธรรมไทย จับมือสหภาพชาวพุทธยุโรป เดินหน้าส่งเสริมวิปัสสนากรรมฐานในยุโรป 18:58 น.
- วัดพระธรรมกาย มูลนิธิธรรมกาย จัดพิธีถวายสังฆทาน 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 178 17:44 น.
- บอร์ดเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติปลื้ม โครงการอบรมด้าน AI สำหรับพระภิกษุสงฆ์สำเร็จเป็นอย่างดี เร่งจัดทำคู่มือ "ดร.มหานิย" เดินหน้าขับเคลื่อนงานสู่เยาวชนทั่วประเทศ 14:17 น.
- ดร.มหานิยมร่วมประชุมขับเคลื่อน “ทุนเล่าเรียนหลวง” สืบสานงานพ่อ เฉลิมพระเกียรติในหลวงรัชกาลที่ 10 21:26 น.
- สพม.พังงา ภูเก็ต ระนอง ใช้ AI ขับเคลื่อนโรงเรียน 1 อำเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ 17:51 น.