วันพฤหัสบดี ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2567 18:58 น.

ต่างประเทศ

23ก.พ.!เมียนมาติดเชื้อโควิดรายใหม่แค่ 11 ราย ฝ่ากระแสม็อบเป็นล้านต้านเผด็จการทหาร

วันอังคาร ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564, 09.45 น.

เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 กระทรวงสาธารณสุขและการกีฬาของเมียนมาแถลงว่า ผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 รายใหม่ในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมามีจำนวน 11 ราย   เมื่อวันที่ ส่งผลให้ขณะนี้เมียนมามีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 สะสมอยู่ที่ 141,761 ราย นอกจากนี้ จำนวนผู้เสียชีวิตจากไวรัสโควิด-19 เพิ่มขึ้น 1 ราย สู่ระดับ 3,197 ราย 

ทั้งๆที่เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงเผด็จการทหารเมียนมาได้ถือฤกษ์ 22222 นัดปิดร้านชุมนุมใหญ่ทั้งประเทศ โดยเริ่มชุมนุมแล้วหลายเมือง ส่วนอินเตอร์เน็ตใช้ได้ในเมื่องย้างกุ้งตั้งแต่เช้า โดยชาวกะเหรี่ยงทั้งประชาชนและทหารอาวุธครบมือเครื่อนพลชุมนุมภายในตัวจังหวัดเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง  สหภาพเมียนม่า ตรงข้าม อ.แม่สอด จ.ตาก นั้นส่งผลให้ตลาดตามเมืองต่างๆ ร้างไร้ผู้คน รวมถึงท่าขี้เหล็กก็ปิดร่วมประท้วงครั้งใหญ่วันนี้เช่นกันทั้งเมือง  พร้อมกับแนะนำว่าถ้ามีเสียงปืนดังขึ้น อย่าวิ่งหนี อย่าแตกตื่น ขอให้นอนลงกับพื้นทันที

โดยกลุ่มผู้ชุมนุมนัดหมายกันวันนี้ซึ่งตรงกับวันที่ 22.2.2021 เพื่อล้อกับการเคลื่อนไหวชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่ในวันที่ 8.8.1998 ซึ่งเป็นการประท้วงขับไล่ระบอบเผด็จการของนายพลเนวิน การชุมนุมในครั้งนี้ปรากฏว่า ได้มีประชาชนเข้าร่วมประชุมนุมเป็นจำนวนมาก รวมถึงพระสงฆ์ได้นำขบวนร่วมต่อต้านเผด็จการทหารเมียนมาด้วย เช่นเดียวกับเมื่อวันที่ 8.8.1998 ที่ผ่านมา 

ตำรวจสลายผู้ชุมนุมในเนปิดอว์ธุรกิจหยุดบริการหนุนผู้ประท้วง
  
โดยมีรายงานส่า ตำรวจสลายผู้ชุมนุมในกรุงเนปิดอว์เมื่อวานนี้ โดยมีภาพที่โพสต์ตามโซเชียลมีเดียชี้ให้เห็นว่า รถฉีดน้ำของตำรวจ 1 คัน และรถยนต์อื่น ๆ อีกหลายคันได้เข้าไปปิดล้อมเพื่อสลายขบวนของประชาชนในกรุงเนปิดอว์ และในขณะที่ผู้ประท้วงแยกกระจายกัน ตำรวจวิ่งไล่ตาม และมีการชกต่อยจนทำให้ผู้ประท้วงหลายคนกองกับพื้น

อียู ออกมาตรการคว่ำบาตรเผด็จการเมียนมาแล้ว

นายโจเซฟ บอร์เรลล์ หัวหน้านโยบายการต่างประเทศของสหภาพยุโรป หรือ อียู เปิดเผยว่า กลุ่มรัฐมนตรีต่างประเทศของอียู เห็นพ้องในการออกมาตรการคว่ำบาตรต่อกองทัพเมียนมา จากการที่กองทัพเมียนมายึดอำนาจในการปกครองประเทศ อย่างไรก็ตาม นายบอร์เรลย้ำว่า อียูจะไม่ควบคุมความสัมพันธ์ทางการค้ากับเมียนมา เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อประชากร ด้านนายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น เรียกร้องให้กองทัพเมียนมาหยุดการปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐประหาร ปล่อยตัวนักโทษการเมือง ยุติความรุนแรง และเคารพสิทธิมนุษยชน รวมทั้งเคารพต่อความต้องการของประชาชน ที่แสดงออกต่อผลการเลือกตั้งที่ผ่านมา

สหรัฐฯคว่ำบาตรนายพลเมียนมาเพิ่มอีก 2 นาย ตอบโต้รัฐประหาร
 
เมื่อวันจันทร์(22ก.พ.)ที่ผ่านมา สหรัฐกำหนดมาตรการคว่ำบาตรสมาชิกคณะรัฐประหารของกองทัพเมียนมาอีก 2 ราย และขู่ดำเนินการเพิ่มเติม ตอบโต้การยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ โดยสำนักงานควบคุมทรัพย์สินในต่างประเทศ (Office of Foreign Assets Control) สังกัดกระทรวงการคลังสหรัฐฯ บอกว่าเคลื่อนไหวล่าสุดนี้เล็งเป้าหมายเล่นงานพลอากาศเอก หม่องหม่องจ่อ (Maung Maung Kyaw) ผู้บัญชาการทหารอากาศเมียนมา และนายพลจัตวา โม มยินต์ ตุน ( Moe Myint Tun)อดีตเสนาธิการทหารและผู้บัญชาการของหนึ่งในกองบัญชาการพิเศษของกองทัพ ดูแลรับผิดชอบปฏิบัติการต่างๆจากกรุงเนปิดอว์
          
"กองทัพต้องกลับลำความเคลื่อนไหวต่างๆของพวกเขา และคืนสถานะโดยเร่งด่วนแก่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยในเมียนมา ไม่อย่างนั้นกระทรวงการคลังจะไม่รีรอดำเนินการอื่นๆเพิ่มเติม" กระทรวงการคลังสหรัฐฯระบุในถ้อยแถลง
          
นายแอนโทนี บลินเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ตอกย้ำคำขู่ว่า "เราะไม่รีรอดำเนินการเพิ่มเติมกับพวกที่ใช้ความรุนแรงและปราบปรามปณิธานของประชาชน"

หน้าแรก » ต่างประเทศ