วันพุธ ที่ 09 กรกฎาคม พ.ศ. 2568, 12.58 น.
พลังอาเซียน ขับเคลื่อนดิจิทัล นวัตกรรม เสริมแกร่งภูมิภาคเพิ่มขีดแข่งขัน
ภาคธุรกิจในอาเซียนเชื่อมั่นพลังอาเซียน สร้างความแข็งแกร่งการค้าระดับภูมิภาค ทุกประเทศเตรียมพร้อมรับมือการค้าโลก ด้วยการประสานพลังภายในร่วมกัน
จากเวทีสัมมนา ASEAN Forum 2025 จัดโดยสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (Thai Management Association หรือ TMA) ในหัวข้อ ASEAN in Unity : The Perfect Timing อาเซียนเป็นหนึ่ง: จังหวะเวลาที่สมบูรณ์แบบ และ The Next ASEAN Driving Force: Innovation & Technology: พลังขับเคลื่อนใหม่แห่งอาเซียน : นวัตกรรมและเทคโนโลยี ผู้นำธุรกิจและบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำระดับภูมิภาค เชื่อมั่นพลังอาเซียนสามารถสร้างแรงกระเพื่อมและขับเคลื่อนภูมิภาคสู่ความแข็งแกร่งและยั่งยืน ทุกประเทศต้องเตรียมพร้อมโดยร่วมกันดึงประโยชน์จากนวัตกรรมและดิจิทัลเทคโนโลยี

นวัตกรรม-เทคโนโลยี พลังขับเคลื่อนเอเชีย
นายจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด กล่าวในหัวข้อ “The Next ASEAN Driving Force: Innovation & Technology ว่า “โลกไม่เหมือนเดิม เราต้องพูดถึงโลกใหม่ สงครามภาษี พหุภาคี ซึ่งอาเซียนจะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 4 ของโลก ต้องสร้างมาตรฐานด้านเทคโนโลยี เช่น โมบายแบงกิ้ง ที่เราทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ไม่ใช่โลกาภิวัตน์ แต่เป็นระดับภูมิภาค
ประเทศไทยกำลังมุ่งหน้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล พร้อมก้าวสู่แพลตฟอร์มดิจิทัลมากขึ้น Bitkub เริ่มธุรกิจเมื่อ 13 ปีก่อน เป็น Startup คลื่นลูกแรกของคริปโทเคอร์เรนซีที่ประสบสำเร็จทั้งด้านรายได้และกำไร โดยความสำเร็จดังกล่าวมาจากการมีกฎหมายและกฎระเบียบรองรับ มีการออกไลเซ่นส์ สินทรัพย์ดิจิทัล มีการแลกเปลี่ยนซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ทำให้ธุรกิจสามารถเติบโตและขยายตัวได้”นายจิรายุส กล่าวและเพิ่มเติมว่า
“ทั้งนี้ กลยุทธ์การสร้างการเติบโตของ Bitkub มาจากการพัฒนานวัตกรรมที่โดดเด่น ที่เอื้อกับระบบที่มีอยู่ เช่นต้องมีกฎหมายรองรับ เช่น ธุรกิจจองห้องพัก Airbnb ไม่ประสบความสำเร็จในไทย เพราะไม่มีกฎหมายรองรับ หรือธุรกิจบริการของ Grab ที่เข้ามาจนคนนิยมก่อนแล้วกฎหมายตามมาทีหลัง ทำให้นักธุรกิจไทยไม่สามารถแข่งขันได้เพราะต้องรอกฎหมาย แล้วยังต้องมีการพัฒนาบุคลากรสายเทคโนโลยี เพื่อรองรับตลาดแรงงานที่กำลังเป็นที่ต้องการ
ขณะที่มุมมองเรื่อง “บล็อกเชน” เป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เมื่อเทียบกับ 20 ปีที่ผ่านมา เปลี่ยนข้อมูลจากที่อยู่บนกระดาษ มาอยู่บนแพลตฟอร์มในยุคดิจิทัล โดยในด้าน “มูลค่า” ต้องอยู่ในรูปแบบที่จับต้องได้ เช่น ทอง หรือ กรรมสิทธิ์ และพันธบัตรที่สามารถทำเป็นดิจิทัลได้ โดย “บล็อกเชน” สามารถทำเป็นสำเนาดิจิทัล ไม่ต้องจ่ายเงินซ้ำซ้อน รวมถึง “โทเคน” ซึ่งมูลค่าจะอยู่ในรูปแบบดิจิทัล”
%20%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%A3%20(Chief%20Empowerment%20Officer)200.jpg)
อาเซียนดันดิจิทัลเสริมแกร่ง เกษตร อาหาร
มิสชาร์ล็อต โควารา (Ms. Charlotte Kowara) ประธานเจ้าหน้าที่พัฒนาศักยภาพองค์กร (Chief Empowerment Officer) บริษัท Accelerice ประเทศอินโดนีเซีย กล่าวว่า “อาเซียนเต็มไปด้วยความหลากหลาย ดังนั้นความสำเร็จในการใช้เทคโนโลยีต้องขึ้นอยู่กับความพร้อมของประเทศนั้นๆ ด้วย อินโดนีเซียเป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ด้านเกษตรกรรม สิงคโปร์เป็นประเทศขนาดเล็กแต่เป็นเมืองอัจฉริยะ ในขณะที่บางประเทศมีข้อจำกัดเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเป็นช่องว่างและโอกาส และเห็นว่ามีสัดส่วนกว่า 60% ของภูมิภาคมีความตื่นตัวในด้านดิจิทัล
การพัฒนาในภาคเกษตรกรรมของอินโดนีเซียให้ความสำคัญและมุ่งเสริมพลังให้กับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อให้สามารถพัฒนาสินค้าไปสู่ผู้บริโภคได้ เช่นเดียวกับการเปลี่ยนวิธีการชำระเงินแบบเดิมสู่การชำระผ่านออนไลน์และแอปพลิเคชั่นในช่วงเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งมีประชาชนเข้าถึงมือถือและแพลตฟอร์มมากขึ้น และพยายามเข้าถึงซัพพลายเชนและอี-คอมเมิร์ซได้มากขึ้น ทำให้ตลาดอี-คอมเมิร์ซในประเทศเติบโตอย่างรวดเร็ว ที่สำคัญคือระบบนี้สามารถตัดพ่อค้าคนกลางออกไป ทำให้ธุรกิจเติบโตได้มากขึ้น” มิสชาร์ล็อต กล่าวและเพิ่มเติมว่า
“ภาคเกษตรกรรมถือเป็นหนึ่งในความท้าทาย ซึ่งพบผลผลิตเสียหายสูงถึง 20% จากปัญหาด้านโลจิสติกส์ อินโดนีเซียเป็นประเทศขนาดใหญ่ จึงเห็นช่องว่างในการนำเทคโนโลยีมาช่วยเพื่อลดการสูญเสีย ขณะเดียวกันก็ยังเห็นโอกาสอีกมากมายในอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร จากที่เห็นความก้าวหน้าในการพัฒนาด้านบรรจุภัณฑ์ของประเทศไทย และหากได้รับความร่วมมือจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ก็น่าจะสามารถพัฒนาอีโคซิสเต็มให้ผู้ประกอบการ SMEs มีสภาพแวดล้อมที่ดียิ่งขึ้นได้อีกด้วย”
ดึงประโยชน์จาก AI ยกระดับธุรกิจ
มร. ฮานโน สเต็กมานน์ (Mr. Hanno Stegmann) กรรมการผู้อำนวยการและพาร์ทเนอร์ BCG X ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “ดิจิทัลเทคโนโลยี ภาคเกษตร สร้างโอกาสในอีโคซิสเต็มของอุตสาหกรรมอาหาร โดยสามารถใช้ AI ช่วยวิเคราะห์ด้านความเสี่ยง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน ขณะเดียวกันต้องยอมรับว่า อาเซียนยังต้องรับมือกับความไม่แน่นอนทั้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ สงครามการค้าและการขึ้นภาษี โดยต้องช่วยจัดการปัญหาต่างๆ และแสวงหาโอกาสให้ลูกค้า ซึ่งจุดนี้เป็นข้อได้เปรียบของบริษัทที่บริษัทอื่นไม่มี โดยภาคธุรกิจต้องเร่งพัฒนาโดยดึง AI หรือ Gen AI เข้ามาในทุกขั้นตอนของห่วงโซ่คุณค่า และทำความเข้าใจว่าปัญหาอยู่ตรงไหน มูลค่าที่ธุรกิจจะสามารถสร้างได้มากที่สุดอยู่ตรงไหน”
Start up ผลักดันนวัตกรรม
นางสาวอรนุช เลิศสุวรรณกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท เทคซอส มีเดีย จำกัด กล่าวว่า “บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับสตาร์ทอัพ เพราะกลุ่มนี้ไม่ได้เป็นแค่ธุรกิจเล็กๆ แต่เป็นตัวเร่งขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรม สตาร์ทอัพไม่ได้แข่งกับธุรกิจดั้งเดิมแต่เป็นการพัฒนาให้มีการเติบโต ในอีโคซิสเต็มที่ต้องร่วมมือกันพัฒนา และเป็นเรื่องสำคัญเชิงกลยุทธ์เพื่อช่วยเพิ่มความมั่นคงให้ประเทศและเป็นเรื่องที่ต้องทำ โดยเห็นว่าปัจจุบันมีธุรกิจหลายเซ็กเตอร์ที่เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ เช่น ธุรกิจสุขภาพ ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่ที่โซลูชันที่ใช้ในโรงพยาบาลเท่านั้น แต่ยังใช้คาดการณ์อาการของผู้ป่วยก่อนล่วงหน้า โดยใช้ AI เข้ามาร่วมในการวิเคราะห์ วางแผน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ซึ่งบริษัทมีจุดแข็งในการเตรียมความพร้อมและช่วยเพิ่มขีดความสามารถ ซึ่งขณะนี้ทั้งในเวียดนาม มาเลเซียและอินโดนีเซีย มีการทำงานร่วมกันของบริษัทสตาร์ทอัพ โดยบริษัทให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มสตาร์ทอัพ และบริษัทท้องถิ่นในไทย เป็นการทำงานร่วมกันของประเทศในอาเซียน เพื่อสร้างสภาพแวดล้อม นวัตกรรมที่เชื่อมโยงกันโดยไม่แบ่งแยก” นางสาวอรนุช กล่าวสรุป