วันอาทิตย์ ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 10:03 น.

การตลาด

สถาปนิก’67 จัดเต็มนิทรรศการงานออกแบบไร้ขอบเขตเชื่อมผู้คนทั่วโลก

วันศุกร์ ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567, 17.27 น.

สถาปนิก’67 ชูไฮไลต์นิทรรศการภายใต้แนวคิด “Collective Language” เชื่อมโยงผู้คนทั่วโลก“สัมผัสสถาปัตย์” งานออกแบบที่ไร้ขอบเขต

สมาคมสถาปนิกสยามฯเผยนิทรรศการไฮไลต์ภายในงานสถาปนิก’67 ชูคอนเซ็ปต์ Collective Language : สัมผัสสถาปัตย์หวังสร้างการรับรู้ให้ผู้คนทั่วโลกได้สัมผัสและเข้าใจงานสถาปัตยกรรม-การออกแบบที่ไร้ขอบเขตเฉกเช่นการสื่อสารภาษาศิลปะวัฒนธรรมส่งเสริมให้เกิดความเคลื่อนไหวที่ดีในอนาคตผ่านนิทรรศการหลักธีมงานวิชาการและกิจกรรมพิเศษอาทิจัดแสดงผลงานสถาปัตยกรรมจาก 12 สถาปนิกชั้นนำในเอเชีย, จัดแสดงผลงานสถาปนิกในกลุ่มพันธมิตรจากARCASIA, นิทรรศการประกวดแบบเชิงแนวความคิด, สถาปนิกอาสาเวทีการสัมมนา ASA International Forum 2024 และอื่นๆอีกมากมายตลอด6 วันจัดงานสถาปนิก’67 ระหว่างวันที่ 30 เมษายน – 5 พฤษภาคม 2567 ณอาคารชาเลนเจอร์อิมแพ็คเมืองทองธานี

นายชนะสัมพลังนายกสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดงานสถาปนิก’67 มหกรรมแสดงเทคโนโลยีสถาปัตยกรรมและผลิตภัณฑ์ก่อสร้างยิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียนซึ่งมีกำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 30 เมษายน – 5 พฤษภาคม 2567 ณอาคารชาเลนเจอร์อิมแพ็คเมืองทองธานีเกี่ยวกับนิทรรศการไฮไลต์ที่จะเกิดขึ้นภายใต้คอนเซ็ปต์ Collective Language : สัมผัสสถาปัตย์หวังสร้างการรับรู้ให้ผู้คนจากทั่วโลกได้สัมผัสและเข้าใจงานสถาปัตยกรรมและการออกแบบที่ไร้ขอบเขตเฉกเช่นการสื่อสารภาษาศิลปะวัฒนธรรมซึ่งเป็นความตั้งใจตลอดระยะเวลา 90 ปีของการก่อตั้งสมาคมสถาปนิกสยามฯที่อยากให้เกิดความเคลื่อนไหว (movement) ที่ดีในอนาคตร่วมกันผ่านงานแสดงนิทรรศการและกิจกรรมสำคัญๆซึ่งประกอบไปด้วย

นิทรรศการหลักได้แก่นิทรรศการธีมงาน Collective Language : สัมผัสสถาปัตย์โดยจะจัดแสดงผลงานสถาปัตยกรรมจาก 12 สถาปนิกชั้นนำของเอเชียนำเสนอกลุ่มภาษาที่ภัณฑารักษ์ถอดองค์ประกอบสถาปัตยกรรมเพื่อบอกเล่าถึงลักษณะสำคัญของสถาปัตยกรรมในภูมิภาคเอเชียและตั้งคำถามถึงภาษาอื่นๆในสถาปัตยกรรมที่จะกลายเป็นภาษากลางใช้ร่วมกันในอนาคตพร้อมทั้งการจัดแสดงผลงานที่ได้รับการคัดเลือกจากสมาคมพันธมิตร21 ชาติ จากสภาสถาปนิกแห่งเอเชีย The Architects Regional Council Asia (ARCASIA) ที่ภัณฑารักษ์ได้จัดกลุ่มภาษาที่ถอดจากองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมเพื่อสื่อสารถึงทิศทางของภูมิภาคในอนาคต

นิทรรศการ ASA All Member สัมผัส‘วิชาชีพ’ ผ่านนิทรรศการ ASA All Member :Collective Practices ที่ไม่เพียงแต่จัดแสดงเฉพาะผลงานของสมาชิกสมาคมสถาปนิกสยามฯสมาคมมัณฑนากรฯสมาคมภูมิสถาปนิกฯและสมาคมสถาปนิกผังเมืองไทยเพียงอย่างเดียวแต่ยังเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าไปร่วมสัมผัสวัฒนธรรมองค์กรและเบื้องหลังการทำงานซึ่งเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบสร้างสรรค์ผลงานทางสถาปัตยกรรมและในปีนี้สมาคมสถาปนิกสยามฯครบรอบ 90 ปีจึงมีความพิเศษในนิทรรศการให้ผู้เข้าชมได้สัมผัสร่วมคิดต่อยอดและตั้งคำถามถึงบทความของสถาปนิกร่วมกันในอนาคต

นิทรรศการ Collective Experience เป็นกิจกรรมที่ต่อยอดจาก Human Library ที่จัดไปเมื่องานสถาปนิก’66 ที่ผ่านมาซึ่งเป็นกิจกรรมถ่ายทอดประสบการณ์และเรื่องราวตามความถนัดของแต่ท่านผ่านการบอกเล่าและพูดคุยอย่างใกล้ชิดเป็นกันเอง (Sensory Intimacy) ที่ถูกรวบรวมและตกผลึกผ่านประสบการณ์และความสนใจของผู้บรรยายทั้งชาวไทยและต่างชาติที่จะมาแบ่งปันเรื่องราวของพวกเขาสู่สาธารณะเพื่อสร้างความเข้าใจกับผู้คนร่วมสังคมโดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติและภาษาซึ่งจะถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆของแต่ละคนรวมทั้งแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดและประสบการณ์ร่วมกันและยังมีนิทรรศการสมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย : TIDA, นิทรรศการสมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย : TALA และนิทรรศการสมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย : TUDA อีกด้วย

ในส่วนของนิทรรศการวิชาการประกอบด้วยนิทรรศการประกวดแบบเชิงแนวความคิด (ASA Experimental Design Competition) แสดงผลงานการประกวดแบบในระดับนานาชาติที่เปิดให้สมาชิกสมาคมฯนิสิต-นักศึกษาและผู้สนใจเข้าร่วมส่งผลงานหาแนวทางความคิดสร้างสรรค์และผลงานออกแบบที่ไม่จำกัดพื้นที่ตั้งและขนาดโดยปีนี้ใช้กรุงเทพมหานครเป็นกรณีศึกษาเพื่อหาความเหมือนที่แตกต่างตอบโจทย์ความรู้สึกของผู้คนกับตัวเมืองผ่านคำจำกัดความว่า‘สัมผัส’ และนอกจากนี้ยังมีนิทรรศการสมาคมวิชาชีพวิชาการได้แก่นิทรรศการรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมประจำปี 2567 นิทรรศการสถาปัตยกรรมดีเด่นประจำปี 2567นิทรรศการ VERNADOC นิทรรศการผลงานนักศึกษา/สถาบันการศึกษา

นายชุตยาเวศสินธุพันธุ์ประธานจัดงานสถาปนิก’67 กล่าวเสริมว่างานสถาปนิก’67 ไม่เพียงนำเสนอนิทรรศการไฮไลต์แต่ยังมีโซนกิจกรรมที่น่าสนใจโดยแบ่งพื้นที่กิจกรรมและบริการหลักๆได้แก่ ASA Club - พื้นที่พบปะและจุดพักผ่อนประจำของชาวอาษา, ASA Night 2024 – กิจกรรมสังสรรค์พบปะตามประเพณีของเหล่าสมาชิกอาษา, สถาปนิกอาสา – พื้นที่สถาปนิกอาสาบริการให้คำปรึกษาเรื่องต่างๆในงานสถาปัตยกรรม, ACT + ASA Shop - พื้นที่จำหน่ายหนังสือและของที่ระลึกของสมาคมฯและสภาสถาปนิก ASA Book Shop – พื้นที่จัดจำหน่ายหนังสือจากสถาบันการศึกษาและองค์กรทางด้านสถาปัตยกรรม รวมถึงโซนกิจกรรมสัมมนาวิชาการที่โดดเด่นเช่นเวทีASA International Forum 2024งานสัมมนาวิชาการแลกเปลี่ยนความรู้ในงานออกแบบและข้อมูลทางเทคนิคในการประกอบวิชาชีพโดยนักออกแบบและผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมจากต่างประเทศซึ่งมีประเด็นหัวข้อในการเสวนาที่น่าสนใจภายใต้ธีม‘COLLECTIVE LANGUAGE: Critical Regionalism in Architecture’ นอกจากนั้นยังมีเวทีProfessional Seminar 2024งานสัมมนาจากผู้เชี่ยวชาญในไทยของแต่ละสาขาวิชาที่จะให้ประโยชน์แก่การประกอบวิชาชีพของสถาปนิกในปัจจุบันผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อร่วมฟังการสัมมนาได้ที่งานสถาปนิก’67 เช่นกัน

สุดท้ายนี้ขอเชิญชวนผู้สนใจร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสื่อสารรับรู้ส่งต่อผ่านการสัมผัสสถาปัตย์ไปพร้อมกันในงานสถาปนิก’67 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 เมษายน - วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม 2567 ณอาคารชาเลนเจอร์อิมแพ็คเมืองทองธานีติดตามข้อมูลความเคลื่อนไหวของงานได้ผ่านทางwww.facebook.com/ASAArchitectExpo