วันศุกร์ ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2567 16:46 น.

การเมือง

อธิบดีผู้สูงอายุฯ โชว์แผนพร้อมรับมือสังคมผู้สูงอายุพุ่ง 1.1 ล้านคน

วันจันทร์ ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2561, 15.23 น.

อธิบดีผู้สูงอายุฯ โชว์แผนพร้อมรับมือสังคมผู้สูงอายุพุ่ง 1.1 ล้านคน

 

อธิบดีกรมผู้สูงอายุฯยัน มีแผนรับมือไทยเตรียมเข้าสู่สังคมผู้ผู้สูงอายุ 1.1 ล้านคน ดึงอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน สร้างโอกาสท้างานในวัยสูงอายุ จัดกิจกรรมทางสังคมเพิ่ม พร้อมจัดสวัสดิการ-บริการตามเหมาะสม

 

นางธนาภรณ์ พรมสุวรรณ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ชี้แจงกรณีสื่อเสนอข่าวกรณีปัญหาสังคมผู้สูงอายุ ที่ระบุอีก 30 ปี (พ.ศ. 2590) ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุที่ติดบ้านหรือติดเตียงเพิ่มเป็น 1.1 ล้านคนจากปัจจุบันมีประมาณ 3.7 แสนคน และจะมีค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านประมาณ 3.4 แสนล้านบาทว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) มีภารกิจหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนทุกช่วงวัย โดยกรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) มีภารกิจหลักในการดูแล การส่งเสริมศักยภาพ การคุ้มครองรวมทั้งการสร้างหลักประกันและพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุ ซึ่งมี พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุทุกมิติ โดยมีกลไกในการบูรณาการและขับเคลื่อน คือ คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ (กผส.) ซึ่งมีองค์ประกอบจากส่วนราชการหน่วยที่เกี่ยวข้อง และในระดับพื้นที่มีการจัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.)ในระดับตำบล 878 แห่ง เพื่อเป็นสถานที่ในการจัดกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุที่ครอบคลุมทุกมิติ และขยายเพิ่มอีก 400 แห่งในปี 2561 รวมเป็น 1,278 แห่งทั่วประเทศ และมีศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ (ศพส.) 12 แห่ง ที่ให้การดูแลผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาทางสังคม, จัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุในทุกอำเภอ

 

​ทั้งนี้การดำเนินงานได้มุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ดังนี้ ​1.ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุให้มีพลังและมีสุขภาพดี Active aging โดยการสร้างโอกาสในการท้างานในวัยสูงอายุ ซึ่งจะน้าไปสู่การมีรายได้เพื่อสร้างความมั่นคงในชีวิต ซึ่งในปี 2561 มีเป้าหมายในการส่งเสริมการมีรายได้และมีงานท้าของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นด้วยประชารัฐ จ้านวน 19,500 คน

 

​2.ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน มุ่งเน้นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมเพิ่มขึ้น และเน้นให้ผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลของตนเอง เพื่อลดภาวะพึ่งพิงให้มากที่สุด

 

​3.ผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง เป็นหน้าที่หลักของ สธ. ซึ่งมุ่งเน้นการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงให้ได้รับการดูแลที่มีมาตรฐาน และเพื่อให้การดูแลเป็นไปอย่างมีมาตรฐาน พม. ได้มีการจัดมาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุ ประกอบด้วย หลักสูตรการดูแล (18 ชั่วโมง, 70 ชั่วโมง, และ 240 ชั่วโมง) มาตรฐานผู้ดูแล และมาตรฐานสถานที่ดูแลผู้สูงอาย

 

​สำหรับรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่เหมาะสมในบริบทของประเทศไทย จะต้องมีความร่วมมือในทุกภาคส่วน ตั้งแต่ในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคม ด้วยการใช้ทรัพยากรในรูปของงบประมาณ ทุนทางวัฒนธรรม ศาสนา ความเอื้ออาทรในสังคมไทย เพื่อให้ผู้สูงอายุมีหลักประกันที่มั่นคง รวมทั้งได้รับสวัสดิการ และบริการที่เหมาะสม โดยใช้กลไกอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน (อผส.) เป็นกลไกสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน

 

​ส่วนประเด็นข้อห่วงใยการไม่มีระบบการประกันระยะยาว ค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะตกกับครอบครัวที่มีผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงแต่ละครอบครัวต้องจ่ายประมาณ 20,000 บาทต่อเดือนสำหรับผู้สูงอายุติดเตียง และ 10,000 บาทต่อเดือนสำหรับผู้สูงอายุติดบ้าน ซึ่งกรณีนี้ ทาง พม.โดย ผส. ได้มีนโยบายสนับสนุนการออมในทุกรูปแบบ โดยการสร้างวินัยในการออมเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุที่มั่นคงให้กับคนทุกช่วงวัย ซึ่งการออมเปรียบเสมือนตาข่ายที่จะรองรับบุคคลให้สามารถใช้ชีวิตหลังเกษียณได้อย่างไม่ล้าบาก โดยการดูแลผู้สูงอายุในปัจจุบันทั้งในระยะสั้น และระยะยาว ได้บูรณาการร่วมกัน 4 กระทรวงหลัก ได้แก่ สธ. ศธ. พม. และ มท. เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับสังคมผู้สูงอายุอย่างครอบคลุมด้วยยุทธศาสตร์ 3S ได้แก่

 

(1) Strong เป็นการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้แข็งแรง มีการพัฒนาระบบบริการที่เข้าถึงง่าย “ไร้รอยต่อ” จากสถานบริการสู่ชุมชน โรงพยาบาลมีการจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ และจัดให้มีคลินิกผู้สูงอายุในโรงพยาบาลตั้งแต่ 120 เตียงขึ้นไป (2) Security สนับสนุนเรื่องความมั่นคงในชีวิตของผู้สูงอายุ ผ่านการออมและการมีงานท้า การพัฒนาเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ 1 จังหวัด 1 เมือง และการคุ้มครองทางสังคม ไม่ให้มีกรณีผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งและโดนท้าร้าย และ (3) Social Participation การมีส่วนร่วมในสังคม ส่งเสริมพื้นที่ต้นแบบการบูรณาการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และส่งเสริมพัฒนาชมรมผู้สูงอายุคุณภาพ มีการสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุในรูปแบบประชารัฐ เพื่อให้อยู่ในสังคมอย่างมีศักดิ์ศรี และมีคุณภาพชีวิตที่ดี นอกจากนี้ พม. และ สธ. ได้ร่วมกับ JICA ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุซึ่งมุ่งพัฒนารูปแบบบริการสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการฟื้นฟูสุขภาพอย่างต่อเนื่องภายหลังออกจากโรงพยาบาลเพื่อป้องกันผู้สูงอายุกลุ่มนี้ไม่ให้อยู่ในภาวะติดเตียง โดยผลักดันให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย ผ่านโครงการพัฒนารูปแบบบริการสุขภาพและสวัสดิการสังคมเชิงบูรณาการโดยชุมชน ให้เกิดบริการด้านสุขภาพและสังคมที่มีความเชื่อมโยงกัน ทั้งทางการแพทย์ การฟื้นฟูสมรรถภาพ การบริการทางสังคม และการช่วยชีวิต

 

​สำหรับปัญหาค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลของผู้ป่วยทุกวัยสูงมากที่สุดในไตรมาสสุดท้ายของชีวิตนั้น ทางกรมกิจการผู้สูงอายุได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการป้องกัน ก่อนที่จะเกิดโรค จึงได้ดำเนินการ ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเบื้องต้นและการป้องกันโรคให้แก่ อผส. เพื่อให้ อผส. เป็นกลไกใน ระดับพื้นที่ในเรื่องดังกล่าวกับผู้สูงอายุ และจัดให้มีหลักสูตรเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน โดยขับเคลื่อนผ่าน โรงเรียนผู้สูงอายุ และ ศพอส. ทั่วประเทศ

หน้าแรก » การเมือง