วันพฤหัสบดี ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2567 08:11 น.

การเมือง

ส.ว.ดาหน้าอ้างนานาเหตุผล! ไม่รับทั้ง 6 ญัตติแก้ไข "รธน." ไม่เอา ส.ส.ร.ไร้ประโยชน์

วันพฤหัสบดี ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2563, 15.21 น.

เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2563 การอภิปรายของสมาชิกรัฐสภา ถึงญัตติการแก้ไขรัฐธรรมนูญจากฝ่ายส.ส.รัฐบาล กับส.ส.ฝ่ายค้านจำนวน 6 ญัตติในวันนี้ ยังคงมีบรรยากาศเคร่งเครียด โดยฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลก็ยังพยายามอภิปรายสนับสนุนและโน้มน้าวให้ฝ่ายส.ว.เห็นตามให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ท่าทีของฝ่ายส.ว.ที่ผ่านการอภิปรายของสมาชิกก็ยังคงไม่เห็นควรให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเช่นเดิม

อาทิ นายอนุศักดิ์ คงมาลัย ส.ว. อภิรายว่าการยื่นเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญแม้บรรยากาศอาจทำให้ดูเหมือนมีหลายขั้ว แต่เป็นความงดงามบนความแตกต่าง   ส.ว. ชุดนี้ อีก 3 ปีกว่า ส.ว. ชุดนี้ก็จะหมดวาระและ ก็จะมี ส.ว. ที่มาจากการเลือกกันเองของคนที่สมัครและตัวแทนองค์กร ดังนั้นจึงอย่าเข้าใจผิดว่า ส.ว. ชุดนี้เป็นการไปสืบทอดอำนาจให้ใคร แต่มาแก้ปัญหาให้ประชาชน  

นายถวิล เปลี่ยนสี ส.ว.ในฐานะสมาชิกรัฐสภา อภิปรายว่าจากที่ตนได้พิจารณาเรื่องนี้โดยเคร่งครัดตามม.114 ของรธน.60 ว่าจะพิจารณาด้วยเหตุผล ยึดประโยชน์ชาติเป็นหลักไม่เอาผลประโยชน์ส่วนตัวเกี่ยวข้องไม่อยู่ใต้อานัติ แต่เมื่อพิจารณาแล้วจึงไม่สามารถเห็นด้วยกับร่างทั้ง 6 ฉบับ โดยเฉพาะแก้ม.246 ให้มีส.ส.ร. มายกร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ  

"ศานิตย์"ถามกลับทำไปทำมาเปิดเวทีเชือดซักฟอก "ส.ว."  

พล.ต.ท.ศานิตย์ มหถาวร สมาชิกวุฒิสภา อภิปรายถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า  ในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ส่วนตัวตนไม่มีธง ตนอยากจะฟังเหตุผลว่าท่านมีเหตุผลอะไร ทำไป ทำมา กลายเป็นว่าเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจสมาชิกวุฒิสภา และไม่ไว้วางใจนายกฯ มันคนละเรื่องหรือไม่ 

ส.ว.ประสานเสียงไม่เอา 6 ญัตติฝ่ายค้าน  

นายตวง อันทะไชย สว. อภิปรายว่า ถ้าจะแก้มาตรา 256 ให้มีการจัดตั้งสสร. เพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ต้องทำประชามติ 2 ครั้ง  พวกตนตระหนักดีว่าบ้านเมืองต้องนำไปสู่การแก้ไขปัญหา บ้านเมืองต้องมีทางออกแต่ทางออกต้องยึดโยงกับประชาชน ต้องทำถามประชาชนว่าให้ทำหรือไม่

พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ส.ว. อภิปรายว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เป็นผลให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 2560 และร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้น ขัดต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่  

"พท."บี้"ประยุทธ์" 6 ญัตติแก้ไขรธน.ต้องผ่านสภา ชี้หากไม่ผ่านถือเป็นแค่วาทกรรม-ตัวอุปสรรค

น.ส.จิราพร สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทย อภิปรายหลักการการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยชี้ว่าการทำประชามติรัฐธรรมนูญปี 2560 ถูกจำกัดการแสดงออก มีการจับกุมคุมขังผู้เห็นต่าง ไม่เป็นไปตามหลักการสากล และไม่ควรนำมาผูกมัดว่ารัฐธรรมนูญจะไม่สามารถแก้ไขได้ แต่ต้องสามารถปรับตามความเปลี่ยนแปลงในอนาคต แม้เนื้อในจะมีช่องทางให้แก้ไข แต่ขั้นตอนสลับซับซ้อน ยากแก่การแก้ไขจริง ขณะที่ฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลเล็งเห็นว่ารัฐธรรมนูญมีปัญหากว่าร้อยมาตรา ที่จำเป็นต้องแก้ไข

น.ส.จิราพร ย้ำว่า รัฐธรรมนูญกลายเป็นต้นเหตุความขัดแย้งในสังคม ล้าหลัง ไม่ทันการเปลี่ยนแปลงของโลก รวมถึงวิกฤติเศรษบกิตจ วิกฤตโรคระบาด เพราะรัฐธรรมนูญเป็นตัวกำหนดผู้ที่เข้าสู่อำนาจรัฐ ว่าจะใช้อำนาจรัฐเพื่อประชาชนหรือเพื่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งการแก้ไขรัฐธรามนูญเพียงแค่ ส.ส. และ ส.ว. เห็นชอบทั้ง 6 ญัตติ ก็จะนำไปสู่การเปิดประตูแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เคยถูกครหาว่าเป็นฉบับตอกฝาโลงประชาธิปไตย ส่วนที่บางคนบอกสิ้นเปลืองงบประมาณถ้าเทียบการได้ผู้นำที่ประชาชนไม่ได้เลือก และบริหารเศรษฐกิจพังพินาศ หากแก้ไขรรัฐธรรมนูญแล้วทำให้คนไทยหลุดพ้นโครงสร้างและผู้นำแบบนี้ ก็ถือว่าคุ้มยิ่งกว่าคุ้ม

"การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นนโยบายที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประเทศไว้ต่อรัฐสภา และยังกล่าวว่า ให้ฟังข้อสรุปคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มีข้อสรุปว่ารัฐธรรมนูญมีปัญหาต้องแก้ไข สอดคล้องกับข้อเรียกร้องของกลุ่มต่างๆ ดังนั้นหากรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการลงมติ สิ่งที่พล.อ.ประยุทธ์พูดจะเป็นเพียงวาทกรรมซื้อเวลา หลอกประชาชน และจะกลายเป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ" ส.ส.ร้อยเอ็ดกล่าว

 

หน้าแรก » การเมือง