วันศุกร์ ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2567 16:38 น.

การเมือง

"เฉลิมชัย"หนุนจับมือเอกชนสร้างโคเนื้อคุณภาพสูงมุ่งส่งออก "ประภัตร"สั่งปศุสัตว์เร่งจ่ายเงินชดเชยเสียหายจากลัมปี สกิน"

วันพฤหัสบดี ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564, 18.40 น.

กระทรวงเกษตรฯจับมือ ธกส. และภาคเอกชนลงนาม MOU  โครงการสร้างโคเนื้อคุณภาพสูงจากโคนมมุ่งส่งออกไปอาเซียน "เกษตรกรเลี้ยงโค-กระบือ เฮ รมช "ประภัตร"สั่งปศุสัตว์ เร่งจ่ายเงินชดเชยเสียหายจากลัมปี สกิน"

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน 2564 กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร บริษัท พรีเมียม บีฟ จำกัด บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด  จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความเข้าใจ (MOU) โครงการสร้างโคเนื้อคุณภาพสูงจากโคนม โดยมีนายเฉลิมชัย  ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน  ณ ห้องประชุม 115 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โดยภายหลังการลงนามmou ร่วมกันนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าจากข้อมูลสถิติโคเนื้อของประเทศไทยที่ผ่านมา  ปี2564   ซึ่งเป็นข้อมูลที่กรมปศุสัตว์สำรวจนั้น มีจำนวนโคเนื้อกว่า 7.6 ล้านตัว เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ ประมาณ 1.1 ล้านราย คิดเป็นเนื้อโค 200,000 ตัน  ผลผลิตเนื้อโคที่ได้ส่วนใหญ่จะบริโภคภายในประเทศ และมีการนำเข้าเนื้อโคจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยที่ผ่านมากรมปศุสัตว์ ได้มีโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงการโคเนื้อสร้างอาชีพ โครงการโคเนื้อต้นแบบธนาคารโค-กระบือ โครงการไทยนิยมยั่งยืน 

อย่างไรก็ตามการจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความเข้าใจ (MOU) โครงการสร้างโคเนื้อคุณภาพสูงจากฝูงโคนม ระหว่าง กรมปศุสัตว์  บริษัทพรีเมี่ยม บีฟ จํากัด  บริษัท สยามแม็คโคร จํากัด (มหาชน)  และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร  มีวัตถุประสงค์ในการสร้างความร่วมมือดำเนินโครงการสร้างโคเนื้อคุณภาพสูงจากโคนมในการส่งเสริมการผลิตโคเนื้อคุณภาพสูง โดยขยายการผลิตจากฝูงโคนมสาวท้องที่ให้ปริมาณผลผลิตต่ำ ใช้โคนมสาวมาเป็นฐานในการผลิตโคเนื้อคุณภาพสูง  โดยการผสมเทียมโคนมเหล่านี้ด้วยน้ำเชื้อที่เป็น ที่ต้องการของตลาด เช่น  สายพันธุ์ลูกผสมวากิว  ลูกผสมแองกัส  บีฟมาสเตอร์ ชาร์โลเลส์ เป็นต้น  เพื่อเพิ่มจำนวนโคขุนคุณภาพสูงตามที่ตลาดต้องการและลดปัญหาโคนมล้นตลาด สร้างรายได้เพิ่มในการผลิตโคต้นน้ำให้กับสหกรณ์โคนม กลุ่มเกษตรกรหรือวิสาหกิจชุมชนตลอดจนสามารถเลี้ยงควบคู่ระหว่างโคนมและโคเนื้อ โดยตลอดการดำเนินการโครงการฯ  เกษตรกรจะได้รับความรู้  คำแนะนำ  ด้านการลงทุน  และการจัดทำแผนธุรกิจให้เป็นไปตามที่กำหนดรวมทั้งสนับสนุนด้านการตลาดตลอดห่วงโซ่

โดยปัจจุบันการบริโภคเนื้อโคของไทยเฉลี่ย 2.89 กิโลกรัม/คน/ปี ซึ่งมีปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบการการบริโภคเนื้อโปรตีนจากสัตว์ชนิดอื่นและยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทั้งนี้  จึงเป็นโอกาสที่ดีของประเทศไทยที่จะผลิตโคเนื้อคุณภาพดีเพื่อให้เพียงพอต่อการบริโภคและเพื่อการส่งออก ยังเป็นลดการนำเข้าเนื้อโคจากต่างประเทศอีกด้วย


"ประภัตร"สั่งปศุสัตว์เร่งจ่ายเงินชดเชยเสียหายจากลัมปี สกิน"

นายประภัตร โพธสุธน รมช .เกษตรฯ ที่กำกับดูแลกรมปศสัตว์เปิดเผยว่าจากที่มีรายงานสถานการณ์โรคลัมปี สกิน (Lumpy skin) เป็นโรคอุบัติใหม่ในประเทศไทยที่พบการติดเชื้อครั้งแรกในโคเนื้อของเกษตรกรที่อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อต้นเดือนมีนาคม 2564 การแพร่กระจายของโรคโดยมีแมลงเป็นพาหะ ไปยังโค-กระบือของเกษตรกรในจังหวัดต่างๆ สร้างความเสียหายให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโค-กระบืออย่างมาก นั้นตนกำชับสั่งการให้กรมปศุสัตว์เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาควบคุมสถานการณ์การระบาดในทันที ให้สำเร็จ และให้เฝ้าระวังโรคในจังหวัดข้างเคียง และหาแนวทางช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายเป็นการเร่งด่วน

ทั้งนี้ที่ผ่านมาทางกรมปศุสัตว์จึงได้เร่งดำเนินการตามมาตราการในการควบคุมป้องกันโรค ลดความเสียหายและผลกระทบให้เกิดน้อยที่สุด และพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อเยียวยาช่วยเหลือเกษตรกรผู้เสียหาย และแจ้งปศุสัตว์จังหวัดในพื้นที่เกิดการระบาดโรคลัมปี สกิน ในโค –กระบือ ให้เร่งตรวจสอบความเสียหาย เพื่อให้ความช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2562 

นายประภัตร  กล่าวด้วยว่าเพื่อเป็นการช่วนเหบือเกษตรกรที่ได้รับความเสียหายจากการระบาดตน ได้เสนอให้แก้ไขระเบียบ โดยเพิ่มอัตราการให้ความช่วยเหลือกรณีสัตว์ตายด้วยโรคลัมปี สกิน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อน ซึ่ง ปัจจุบัน (25 พฤศจิกายน 2564) ได้จ่ายเงินให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรแล้ว 8 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ น่าน เชียงใหม่ กำแพงเพขร อุทัยธานี ชุมพร นครสวรรค์ และแพร่ รวมเกษตรกร 297 ราย โค-กระบือ 390 ตัว วงเงิน 8,520,000 บาท จากที่กรมปศุสัตว์ได้รับเอกสารจากจังหวัดแล้วทั้งสิ้น 28 จังหวัด รวมเกษตรกร 20,271 ราย โค-กระบือ 23,707 ตัว วงเงิน 503,972,200 บาท โดยจะเร่งตรวจสอบเอกสารตามขั้นตอน พร้อมทั้งทยอยจ่ายเงินให้เกษตรกรในแต่ละจังหวัดภายในช่วยเทศกาลปีใหม่นี้ สำหรับจังหวัดอื่นๆ อีก 35 จังหวัด รวมโค-กระบือ 34,936 ตัว อยู่ระหว่างนำเข้าประชุมคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอ (ก.ช.ภ.อ.) และประชุมคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด (ก.ช.ภ.จ.) และรวมรวมเอกสารส่งกรมปศุสัตว์ต่อไป

ขณะที่นายนายสัตวแพทย์สรวิศ  ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ปศุสัตว์ กล่าวว่า ได้กำชับเจ้าหน้าที่ให้เร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงโค-กระบือ ที่ได้รับความเสียหายจากการแพร่ระบาดของโรคลัมปี สกิน อย่างเร่งด่วน ทั้งในด้านการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพสัตว์ การกำจัดแมลงพาหะ เพื่อเป็นการป้องกันโรค และการให้ความช่วยเหลือเยี่ยวยาให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวการคลังระเบียบกระทรวงคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2562 และหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศใช้หลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2564 แล้ว เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2564 และมีผลบังคับใช้สำหรับโรคระบาดชนิดโรคลัมปี สกิน ในโค-กระบือ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2564 เป็นต้นไป โดยเกณฑ์การช่วยเหลือใหม่แบ่งตามช่วงอายุ มีดังนี้ โคอายุน้อยกว่า 6 เดือน ได้รับ 13,000 บาท กระบืออายุน้อยกว่า 6 เดือน ได้รับ 15,000 บาท โคอายุตั้งแต่ 6 เดือน - 1 ปี ได้รับ 22,000 บาท กระบืออายุตั้งแต่ 6 เดือน - 1 ปี ได้รับ 24,000 บาท โคอายุมากกว่า 1 - 2 ปี ได้รับ 29,000 บาท กระบืออายุมากกว่า 1 - 2 ปี ได้รับ 32,000 บาท โคอายุมากกว่า 2 ปี ได้รับ 35,000 บาท และกระบืออายุมากกว่า 2 ปี ได้รับ 39,000 บาท
 
โดยขอให้เกษตรกรผู้เลี้ยงปศุสัตวทำขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทุกแห่ง เพื่อให้สามารถรับการชดเชย กรณีสัตว์เสียหายจากภัยพิบัติ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์จะได้มีข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน เพื่อให้การส่งเสริม สนับสนุน และดูแลเกี่ยวกับการควบคุม ป้องกันโรคได้อย่างทั่วถึงต่อไป

หน้าแรก » การเมือง

Top 5 ข่าวการเมือง