วันอังคาร ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 12:19 น.

การเมือง

"สสปท." เตรียมพร้อมหลักสูตร “อบรมแม่บ้านด้านความปลอดภัยในการทำงาน”  ด้านงานวิจัย ระบุ ร้อยละ 80 พนักงานทำความสะอาดเสี่ยงสัมผัสสารเคมึโดยตรง

วันอาทิตย์ ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2568, 17.10 น.

​เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2568 ดร.นันทชัย ปัญญาสุรฤทธิ์  ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ได้ลงพื้นที่ ศูนย์ฝึกอบรมแม่บ้าน คนเลี้ยงเด็ก คนดูแลผู้สูงอายุ JOMAID CLEANING CENTER ณ บริเวณปากซอยลาดพร้าว 128/2 ถนนลาดพร้าว เขตคลองจั่น กรุงเทพมหานคร เพื่อตรวจดูความเรียบร้อยของศูนย์ฝึกอบรม โดย สสปท.จะอบรม “หลักสูตรเพิ่มทักษะพนักงานทำงานบ้าน” ให้กับพนักงานของศูนย์ฝึกอบรมฯ JOMAID CLEANING CENTER ในวันเสาร์ที่ 24 พฤษภาคม 2568 นี้

​ทั้งนี้ ดร.นันทชัย กล่าวว่า  พนักงานทําความสะอาดเป็นอาชีพที่พบเห็นได้โดยทั่วไปในสถานที่ต่างๆ ทั้งอาคารสํานักงาน สถานศึกษา โรงพยาบาล หรือโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ รวมแม่บ้านที่ทำงานในบ้านเรือนด้วย  อาชีพพนักงานทําความสะอาดหรือแม่บ้านเป็นอาชีพบริการขั้นพื้นฐานที่มีหน้าที่รับผิดชอบทําความสะอาด  เช่น ดูดฝุ่น ขัดถู ล้างและฆ่าเชื้อสถานที่หรืออุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งน้ำยาที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นสารเคมี ทําให้พนักงานฯ เหล่านี้มีโอกาสสัมผัสสารเคมีที่เป็นส่วนประกอบของน้ำยาทําความสะอาดอยู่ตลอดเวลา สสปท. จึงได้ประสานความร่วมมือกับ ศูนย์ฝึกอบรมแม่บ้าน คนเลี้ยงเด็ก คนดูแลผู้สูงอายุ JOMAID CLEANING CENTER ในการอบรมเพิ่มทักษะให้กับแรงงานต่างด้าวที่จะไปเป็นแม่บ้าน พนักงานทำความสะอาดในด้านความปลอดภัยในการทำงาน อาทิ การเรียนรู้เรื่องการใจัดเตรียมอุปกรณ์ทำความสะอาดต่าง ๆ อย่างปลอดภัย ซึ่งน้ำยาเหล่านี้จะมีส่วนผสมของสารเคมี รวมไปถึงการเก็บรักษา การดูแลเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย การสวมใส่ถุงมือยากเพื่อป้องกันตัวเองจากการทำงานอย่างถูกวิธีด้วย

ข้อมูลจากงานวิจัยเรื่อง “ความตระหนัก พฤติกรรมความปลอดภัย และภาวะสุขภาพ ของพนักงานทำความสะอาด มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย” จาก วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 วารสารส่งเสริมสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม ระบุว่า พนักงานทําความสะอาดพบว่าปัจจัยเสี่ยงด้านกายภาพที่พนักงานทําความสะอาดสัมผัสมากที่สุดขณะทํางานคือ แสงสว่างไม่เพียงพอ สูงถึงร้อยละ 96.38 ปัจจัยเสี่ยงด้านเคมี พบว่าพนักงานทําความสะอาดสัมผัสผลิตภัณฑ์สารเคมีโดยตรง ร้อยละ 89.16ปัจจัยเสี่ยงด้านชีวภาพ พบว่าพนักงานทําความสะอาดเสี่ยงต่อการสัมผัสกับเชื้อโรค (จากการปนเปื้อนกับขยะ) ร้อยละ 46.99 และปัจจัยด้านการยศาสตร์พบว่าพนักงานทําความสะอาดมีการใช้มือหรือแขนอยู่ในท่าที่ทํางานหรือมีลักษณะเคลื่อนไหวซ้ําหรือเหมือนกันตลอดเวลา ร้อยละ 78.31

ส่วน ผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงานทําความสะอาดจากการปฏิบัติงาน พบว่าผลกระทบต่อสุขภาพ 5 อันดับแรกที่เกิดขึ้นกับพนักงานทําความสะอาดในระยะเวลา 3 เดือน อันดับแรกคือ อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ (ร้อยละ 40.96) รองลงมา อาการไอ จาม เมื่อสัมผัสสารเคมี (ร้อยละ 38.55) อาการระคายเคืองผิวหนังหลังจากสัมผัสสารเคมีโดยตรง(ร้อยละ 36.14)ได้รับบาดเจ็บจากการทํางาน(ร้อยละ 34.94) และอาการระคายเคืองดวงตา หลังจากสัมผัสฝุ่น ควัน ไอของสารเคมี (ร้อยละ 27.71)

หน้าแรก » การเมือง

ข่าวในหมวดการเมือง